กลุ่มธรรมาภิบาลจ่อยื่นหนังสือให้ระงับตั้ง“ภคพงศ์”นั่งผู้ว่ารฟม.

29 ม.ค. 2561 | 10:10 น.
กลุ่มธรรมาภิบาลจ่อยื่นหนังสือถึง “อาคม” ให้ระงับการเสนอชื่อ “ภคพงศ์” ต่อครม.เพื่ออนุมัติให้นั่งตำแหน่งผู้ว่ารฟม. ชี้ไม่มีความเหมาะสม เหตุถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยร้ายแรง ทำให้รฟม.เสียหายกว่า 290 ล้านบาทและอยู่ระหว่างที่สตง.ตรวจสอบพฤติการณ์ว่าได้กระทำทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินแผ่นดินหรือไม่

นายวิวัฒน์ สมบัติหลาย ประธานกลุ่มธรรมาภิบาล เผยว่า วันอังคารที่ 30 มกราคม 2561 เวลา 10.30 น.จะเข้ายื่นหนังสือให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ระงับการเสนอชื่อ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ ฝ่ายวิศวกรรมก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อให้ทำหน้าที่ผู้ว่าการรฟม.คนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม และอยู่ระหว่างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ตรวจสอบว่ามีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อถือว่าได้กระทำทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 หรือไม่
pakapong                 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ

โดยเบื้องต้นนั้นพบว่าได้มีผู้ร้องเรียนไปยังสตง. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่านายภคพงศ์ในฐานะรองผู้อำนวยการโครงการ และผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานก่อสร้าง(ในขณะนั้น) ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานให้กับผู้รับเหมาสัญญาที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงสนามไชย-ท่าพระ(บมจ.ช.การช่าง เป็นผู้รับก่อสร้าง) ทำให้รฟม.ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 290 ล้านบาท
ทั้งนี้รฟม.ได้มีการแต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่มีนายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน และเห็นว่ามีความผิดจริง และได้มีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายภคพงศ์ แต่ต่อมาคณะกรรมการรฟม.ชุดที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดใหม่ที่มีนายไกร ตั้งสง่า เป็นประธาน พบว่ามีคณะกรรมการบางท่านไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการชุดนี้พร้อมกับได้ทำความเห็นแย้งไว้
728x90-03-3-503x62-3-503x62 “กรณีนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดเดิม มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ว่า เนื่องจากรฟม.เปลี่ยนแปลงงานโดยการออก Variation Order No. 12 (V.O.12) ตามสัญญาข้อ 64 โดยนำสัญญาข้อ 17 เป็นเงื่อนไขการออก V.O.12 ดังกล่าว ทำให้มูลค่างานเพิ่มขึ้น 290 ล้านบาท และมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไป 90 วัน ทั้งๆที่สัญญาข้อ 13 กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด และผู้รับจ้างต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงเอง

ดังนั้นการออก V.O.12 ดังกล่าวและต่อมาเมื่อคณะกรรมการรฟม.ได้มีอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงาน และปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายแล้ว จึงถือได้ว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รฟม. ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดใหม่มาฟอกความผิดให้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลนี้โดยสิ้นเชิงที่เน้นความโปร่งใส การฟอกความผิดดังกล่าวนอกจากจะช่วยนายภคพงศ์แล้วยังเข้าข่ายไปช่วยให้บริษัทรับเหมาได้เงินหรือประโยชน์เพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจส่อว่าน่าจะมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนแก่ผู้อยู่เบื้องหลังในเรื่องนี้

e-book