ดันโลจิสติกส์เมืองรอง ลดปัญหาสนามบินแออัด

27 ม.ค. 2561 | 13:07 น.
ในด้านการบริหารสนามบินของไทยนั้น รมช.คมนาคม เป็นห่วงว่าจากตลาดการบินของไทยที่เติบโตต่อเนื่อง เห็นชัดเจนว่าเฉพาะสนามบินของหลักซึ่งบริหารโดยทอท. ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 130 ล้านคนแล้ว ขณะที่ศักยภาพรองรับได้ 100 ล้านคน

ดังนั้นสถานะของสนามบินหลักในวันนี้ ถือว่า “ดีมานด์โอเวอร์ซัพพลาย” อยู่ราว 30% และคาดว่าปัญหาความแออัดของสนามบินของทอท.ก็ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะ 5 ปีนี้นับจากนี้ จนกว่าจะถึงช่วงปี 2565-2566 ที่จะมีการก่อสร้างระบบรางทั่วประเทศและรถไฟความเร็วสูงจะแล้วเสร็จ ซึ่งก็จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้โดยสารจากสนามบินได้ส่วนหนึ่ง

เนื่องจากแม้ทอท.จะมีแผนขยายสนามบินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีนี้ยังไงก็สร้างไม่ทัน ดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สนามบิน 28 แห่งของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ที่ลงทุนในช่วง 10 ปีที่ขยายการรองรับจาก 84 ล้านคนเป็น 184 ล้านคน ก็ยังไม่ทันต่อการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นในช่วง 5 ปีนี้จากนี้ ในภาวะที่การเดินทางท่องเที่ยวยังต้องพึ่งสนามบินเป็นหลัก จึงต้องมองเรื่องของโลจิสติกส์ที่จะกระจายความหนาแน่นของผู้โดยสารจากเมืองหลักไปยังเมืองรอง

728x90-03-3-503x62-3-503x62 นี่เองจึงทำให้รมช.คมนาคมได้สั่งการให้ทอท.ไปหารือกับทย. เพื่อโอนสนามบินอุดรธานีและสนามบินตาก มาให้ทอท. นำไปพัฒนาเป็นฮับรองรับนักท่องเที่ยว โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3-6 เดือนจากนี้

ส่วนการบริหารสนามบิน ทย.ต้องมองถึงการเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น โดยพิจารณาเรื่องของการเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์ การหาต้นทุน เพื่อปรับขึ้นค่าบริการ และหารือถึงระเบียบการนำเงินกองทุน มาใช้ในการบริหารจัดการสนามบินให้เกิดความคล่องตัวในการบริการผู้โดยสาร

สำหรับประเด็นราคาอาหารและเครื่องดื่มที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิแพงนั้น รมช.คมนาคมยํ้าว่า ราคาขายในสนามบินมีทั้งถูกและแพง ซึ่งให้ทอท.ไปประชา สัมพันธ์ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มราคาถูกที่มีอยู่ในสนามบินให้ชัดเจน และให้ทอท.ตั้งคณะอนุกรรมการมาควบคุมและกำกับการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาคือไม่สูงกว่า 20-25%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,334 วันที่ 25 - 27 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9