กางนโยบาย‘ไพรินทร์’ จี้ 3 องค์กรการบินยกเครื่องธุรกิจ

29 ม.ค. 2561 | 04:14 น.
ทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจการบินของไทย ของ 3 หน่วยงานหลักด้านการขนส่งทางอากาศทั้งบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กรมท่าอากาศยาน (ทย.) และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในระดับนโยบายจะเป็นอย่างไร “ฐานเศรษฐกิจ” ได้จับประเด็นหลังการมอบนโยบายของ “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มานำเสนอ

++สั่ง“ทีจี”ทำแผนฟื้นฟูใหม่
ในส่วนของการบินไทย รมช.คมนาคม มองว่าโจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรที่จะทำให้การบินไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์การบินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนตํ่าที่มีเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งรมช.คมนาคม ยังได้มอบนโยบายให้การบินไทยไปจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจฉบับใหม่ เสริมจากสิ่งที่ทำอยู่แล้วเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะแผนฟื้นฟูเดิมบอกว่าจะดำเนินการไม่ให้ขาดทุนแต่การเป็นองค์กรที่ดีมีอะไรมากกว่าไม่ขาดทุน แผนฟื้นฟูใหม่ จะต้องกำหนดเป้าหมายองค์กรที่มองเห็นถึงความเป็นไปได้ในอนาคต มีองค์ประกอบที่นำไปสู่กำไรและยั่งยืน และทำให้การบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติที่ให้บริการและเป็นความภูมิใจของคนไทยต่อไป

MP22-3334-1A ทั้งยังให้การบินไทยไปพิจารณาลดทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทน หรือไม่สามารถสร้างรายได้ออกไป เช่น เครื่องบินที่รอการขาย (23 ลำ) เมื่อขายตามกายภาพไม่ได้ ก็ให้ไปพิจารณาใช้ความเข้มงวดนโยบายบัญชี ทำการด้อยค่าก่อน เพื่อไม่เป็นภาระบนงบดุลในอนาคต การลดรายจ่ายที่ไม่ได้มีประโยชน์ในตอนนี้ออกไป ซึ่งทุกวันนี้การ บินไทยมีอัตราการบรรทุกโดยสารที่ทำได้ดี แต่ก็มีองค์ประกอบเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเงินบาทที่แข็งค่า ก็ส่งผลกระทบ

728x90-03-3-503x62-3-503x62 รวมถึงการไปปรับโมเดลทางธุรกิจ โดยไปดูโมเดลโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ว่าเขาลดต้นทุนกันอย่างไร อาทิ เขามีเครื่องบินและเครื่องยนต์แบบเดียว เพื่อนำมาปรับใช้กับการบินไทย ในเรื่องของการลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ให้น้อยลง โดยยังคงการให้บริการแบบพรีเมียมแอร์ไลน์อยู่ ซึ่งเทคนิคคือการให้การบินไทยกำหนดเกณฑ์อ้างอิงเทียบกับสายการบินในระดับเดียวกันว่า ทุกวันนี้อยู่รอดอย่างไร เราก็น่าจะอยู่รอดได้ รู้เขารู้เรา ทำธุรกิจยังไงก็ไม่แพ้ ขณะเดียวกันการบินไทยก็มีสายการบินไทยสมายล์ ที่เป็นเหมือนโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ซึ่งก็ต้องทำให้ใกล้เคียงกับโลว์คอสต์ คือ การดำเนินงานที่ถูกที่สุด

ส่วนการจัดหาฝูงบินใหม่เพื่อทดแทนฝูงบินเดิมของการบินไทย ทางฝ่ายบริการของการบินไทยก็กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งก็ต้องทำให้รอบคอบ สอด คล้องกับแผนฟื้นฟู และควรจะเร่งหาตัวกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ขององค์กรให้ได้โดยเร็ว ซึ่งได้มอบให้พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง รักษาการประธานกรรมการบริษัทการบินไทยฯ ไปดำเนินการเป็นเรื่องเร่งด่วน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,334 วันที่ 25 - 27 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9