เปิดคำสั่งลับ"ธีธัช"เด้ง 6 เจ้าหน้าที่เซ่นสอบทุจริตปุ๋ยยาง

23 ม.ค. 2561 | 09:59 น.
เปิดคำสั่งลับ"ธีธัช"เด้ง 6 เจ้าหน้าที่เซ่นสอบทุจริตปุ๋ยยาง

รายงานข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. มีคำสั่ง ประทับตรา "ลับ" ลงวันที่ 15 มกราคม 2561 เรื่องลงโทษไล่ออกพนักงาน 6 คน ประกอบด้วย 1.นายจำเริญ อุศรัตนิวาส อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง ในขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดพัทลุง (เกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558)

2. นายเทวินทร์ อินทรละมุล หัวหน้ากองส่งเสริมเกษตรและสถาบันเกษตรกรฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง 3. นายอนันต์ เพ็งช่วย อดีตหัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอเมืองพัทลุง ในขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองพัทลุง (เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559)
teetat 4.นายประเสริฐ ศรีวรรณ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขา บางแก้ว การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพัทลุง ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอป่าปอน 5.นายชำนาญ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาควนขนุน กยท.จังหวัดพัทลุง ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอควนขนุน และ 6.นายสุทัศน์ กฤตรัชตนันต์ หัวหน้ากองส่งเสริมและพัฒนายาง กยท. จังหวัดพัทลุง ในขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ บางแก้ว

 

"การจัดหาปุ๋ยในปีงบประมาณ 2558 ได้มีการกำหนด 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 กรณีผู้รับการสงเคราะห์จัดหาปุ๋ยใช้เอง ให้ดำเนินการสั่งจ่ายเงินค่าปุ๋ยเข้าบัญชีรายตัวผู้รับการสงเคราะห์เพื่อนำไปซื้อปุ๋ยบำรุงใส่เอง หรือ วิธีที่ 2 กรณีผู้รับการสงเคราะห์เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจัดหาปุ๋ยบำรุงให้รับการสงเคราะห์ให้ดำเนินการ ให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นผู้จัดหาแม่ปุ๋ยเพื่อทำปุ๋ยผสม หรือจัดหาปุ๋ยสำเร็จโดยใช้วิธีประมูล เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาและคุณภาพ"

แต่ผู้บริหารทั้ง 6 คนจงใจไม่ปฏิบัติตามข้อสั่งการ ตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แต่กลับได้ตัดสินใจแทนผู้รับการสงเคราะห์ แล้วมีมติให้ดำเนินการจัดหาปุ๋ยบำรุงปี 2558 แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดหาปุ๋ยเคมีสูตรสำเร็จ 20-8-20 โดยให้เครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดพัทลุงเป็นผู้ดำเนินการจัดหาปุ๋ยบำรุง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขประมูลปุ๋ยอันเป็นการกีดกันการเสนอราคา ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม จึงทำให้การกำหนดราคาขายซองประมูลสูงเกินควร คือ ซองละ 7,500 บาท

letrub

ถือว่าเป็นการกีดกันผู้เข้าเสนอราคา ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา อันส่งผลให้การประมูลปุ๋ยของเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง สูงกว่าจังหวัดใกล้เคียงอย่างมีนัยสำคัญ และสูงกว่าราคาเหมาะสม (ราคาอ้างอิง) ที่สำนักงานกำหนด ทำให้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยในราคาที่แพง และสำนักงานได้รับความเสียหายต้องจ่ายเงินค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้เมื่อสุ่มตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย ทั้ง 6 คนมิได้แต่งตั้งพนักงานสงเคราะห์สวนยางเข้าร่วมเป็นกรรมการเก็บตัวอย่างปุ๋ยเพื่อส่งวิเคราะห์แต่อย่างใด อีกทั้งยังพบว่าปุ๋ยที่ซื้อขายในครั้งนี้มีการส่งมอบ 7 ครั้ง แต่มีการวิเคราะห์เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นปุ๋ยที่ส่งมอบให้เครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดพัทลุงเพื่อจ่ายให้ผู้รับการสงเคราะห์อีก 5 ครั้ง จึงเป็นปุ๋ยที่ไม่ผ่านการวิเคราะห์และรับรองคุณภาพก่อนจ่ายให้ผู้รับการสงเคราะห์

ผลวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร เดิมกำหนดให้ปุ๋ยตัวอย่างผ่านการวิเคราะห์ 2 ใน 3 จึงถือว่าปุ๋ยผ่านการวิเคราะห์ แต่ฉบับที่สอง กำหนดให้ปุ๋ยตัวอย่างผ่าน 1 ใน 3 จึงถือว่าปุ๋ยผ่านการวิเคราะห์ซึ่งถือเป็นการแก้ไขสัญญาเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ขาย โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านคุณภาพของปุ๋ยที่จ่ายให้เกษตรกรผู้รับการสงเคราะห์ ที่สำคัญ เมื่อเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง ผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบปุ๋ยได้ตามกำหนด ก็ไม่มีการกำหนดค่าปรับ หรือดำเนินการใดๆ กับผู้ขาย อีกทั้งยังมิได้ดำเนินการติดตามเร่งรัด เพื่อให้เกษตรกรผู้รับการสงเคราะห์ได้รับปุ๋ยตรงตามงวดที่จะต้องใส่แต่อย่างใด
728x90-03-3-503x62 การกระทำของผู้บริหารทั้ง 6 คน เป็นการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่การงาน ฐานขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (การยางแห่งประเทศไทย) อย่างร้ายแรง และฐานปฏิบัติหน้าที่การงานโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหาย อย่างร้ายแรง ตาม ข้อ 9 (3) (4) และ (10) ของข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยวินัยและการลงโทษพนักงานและลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2559 สมควรลงโทษไล่ออก

ขณะที่นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) กล่าวว่า การกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ทั้ง 6 ราย เชื่อว่าน่าจะสาวตัวการที่ใหญ่กว่า ที่อาจจะรู้เห็นเป็นใจ เชื่อ หาก สยยท.ไม่เปิดโปง ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ(บก.ปปป.) สอบ วันนี้เชื่อว่าบอร์ด กยท.จะไม่ดำเนินการใดใดทั้งสิ้น แล้วจะไม่มีมติออกมาอย่างนี้ ดังนั้นขอเรียกร้องให้ผู้ว่าการยางและบอร์ดแสดงสปริตรับผิดชอบกับชาวสวนยางทั้งประเทศด้วยการลาออก

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว