คีย์ซัสเซสนักกฎหมายSCB

27 ม.ค. 2561 | 01:25 น.
การโฟกัสยุทธศาสตร์ของแบงก์ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นธนาคารที่มีคนรักมากที่สุด มีความเป็นองค์กรดิจิตอล และเป็นธนาคารแห่งอนาคต เพื่อตอบสนองพฤติกรรมลูกค้ายุคใหม่และฝ่ายกฏหมายต้องเดินให้ทัน เป็นหน้าที่ผู้นำทัพอย่าง "วัลลยา แก้วรุ่งเรือง"รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เข้ามามีบทบาทในการรับผิดชอบ โดยเฉพาะงานด้านกฎหมาย

[caption id="attachment_252553" align="aligncenter" width="335"] วัลลยา แก้วรุ่งเรือง วัลลยา แก้วรุ่งเรือง[/caption]

"วัลลยา" เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการเงิน ด้วยประสบการณ์ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสถาบันการเงินมากว่า 30 ปี จึงมีความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนา และต่อยอดงานทางด้านกฎหมายของธนาคาร และในตำแหน่งสุดท้าย คือ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกำกับและบริหารงานกฎหมาย

ผู้นำด้านกฎหมายของธนาคารไทยพาณิชย์ พูดถึงการปิดความเสี่ยงด้านกฎหมาย ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจธนาคารว่า ได้มีการตั้งสายงานนิติบริการและกฎหมายดิจิตอล ขึ้นมาดูแลตั้งแต่การออกผลิตภัณฑ์ การทำสัญญาซื้อขายหรืออำนวยสินเชื่อ ไม่ว่าข้อระวังหรือสิทธิประโยชน์ ขณะเดียวกัน พยายามคัดคนมีประสบการณ์จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาทำงานกับหน่วยงานดิจิตอล อีกทั้งได้จัดโครงการอบรมต่อเนื่องในหลักสูตรเทคนิกการดำเนินคดีชั้นสูง โดยมิติใหม่ในปี 2561ให้น้ำหนัก เรื่องนักกฎหมายยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งให้ความเห็นของกฎหมายดิจิตอลได้มากขึ้น ตั้งแต่เตรียมเอกสาร การลงลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ ตลอดถึงกระบวนดำเนินคดีในชั้นศาล
นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ทดลองฟ้องคดีโดยคัดเลือกจากคดีทุนทรัพย์ไม่สูงเพื่อให้ได้ปฏิบัติจริงเรียนรู้ข้อติดขัด/ปรับแก้สัญญา/แบบฟอร์มถ้าหากมีแนวโน้มว่าสู้คดีแล้วจะแพ้

[caption id="attachment_252552" align="aligncenter" width="335"] วัลลยา แก้วรุ่งเรือง วัลลยา แก้วรุ่งเรือง[/caption]

"คีย์การทำงานในลักษณะอัพไซซ์ดาวน์ไซส์ เพื่อให้ทันต่อโลกธุรกิจ ทุกหน่วยงานต้องทำงานคู่ขนาน รักษาความสมดุลระหว่างความถูกต้องของกฎหมายกับธุรกิจ การเป็น In House เราต้องดูแล ทั้งธุรกิจธนาคารและลูกค้าด้วย เช่น ปิดความเสี่ยงด้านกฎหมายให้เหลือน้อยที่สุด และมีทางออกที่ถูกต้อง เหมาะสมซึ่งเป็นคีย์ซัสเซสของฝ่ายกฎหมาย"
"วัลลยา" บอกว่า ฝ่ายกฎหมายภายในของ SCB เป็นทีมใหญ่ที่สุดมีพนักงาน 250 คน แบ่งเป็นสายงานด้านที่ปรึกษาและสายงานคดีต่างๆ โดยจะมีฮับทั่วประเทศจำนวน 19 ฮับ เพื่อดูแลงานคดีของธนาคาร สำหรับสายงานด้านที่ปรึกษานั้น จะแบ่งตามความเชี่ยวชาญดูแลการให้สินเชื่อประเภทต่างๆ

728x90-03-3-503x62 แม่ทัพด้านกฎหมายของ SCB บอกว่า ในอีก 5-6 ปี ข้างหน้าจะมีนักกฎหมายรุ่นเดียวกับเธอเกษียณอายุเป็น 100 คน ซึ่งวันนี้ นอกจากต้องหานักกฎหมายรุ่นใหม่ๆ เข้ามาแล้ว จะต้องเร่งสร้างขึ้นมาให้ทันกลุ่มที่จะเกษียณ ส่วนรุ่น "มือเก๋า" ที่มีอยู่จำนวนมาก เป็นเรื่องสำคัญที่ซีอีโอ (อาทิตย์ นันทวิทยา) จะทำหน้าที่ผลักดันให้รุ่นเก๋าสอนรุ่นน้อง ขณะเดียวกันรุ่นน้องฝ่ายไอที ก็ต้องมาช่วยสอนเรื่องเทคโนโลยีกับรุ่นพี่ เพื่อที่จะฝึกให้ตามทันต่อการเปลี่ยนแปลง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,334 วันที่ 25 - 27 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-7-503x62