ชะตากรรม‘7ป.ป.ช.’ ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญ

21 ม.ค. 2561 | 01:59 น.
แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จะผ่านวาระ 2 และ 3 มาได้ แต่ความยุ่งเหยิงยุ่งยากยังคงมี ท่ามกลางความคิดเห็นและมุมมองที่ยังแตกต่างกันอยู่

ในที่สุดสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 32 คน ก็ได้ร่วมเข้าชื่อกันเสนอเรื่องผ่าน นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยในประเด็นการยกเว้นลักษณะ “ต้องห้าม” ของ ป.ป.ช.ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยเป็นการยื่นขอให้วินิจฉัยในประ เด็นเดียว และไม่มีการพาดพิงหรืออ้างอิงถึงองค์กรอื่น อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ส่งผลให้ประธาน สนช.ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี ให้ชะลอการนำร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวขึ้นทูล เกล้าฯ ไว้ก่อน จนกว่าจะทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่คาดว่าจะใช้เวลาราว 1 เดือน

ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ สนช.เห็นชอบในหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้ พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ รวม 35 คนในจำนวนนี้เป็นนายตำรวจ 5 คน ผู้แทนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีก 3 คน ผู้แทนกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 3 คน และผู้แทนอัยการสูงสุดอีก 1 คน ยิ่งสร้างข้อกังขาให้กับสังคมเมื่อปรากฏชื่อของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และพล.ต.ท.บุญเรือง ผลพาณิชย์ อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งเป็นบุคคลที่มีผู้กล่าวหาเป็นคดีอยู่ในคณะกรรมการ ป.ป.ช.รวมอยู่ด้วย

และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ที่ประชุม สนช.ได้ลงมติวาระ 2 และ 3 เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ด้วย คะแนนเสียง 198 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ขณะที่การลงมติเป็นรายมาตราใน มาตรา 178 บทเฉพาะกาล ซึ่งกมธ.เสียงข้างมากได้แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ ประธาน ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.ป.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะครบวาระตามที่กำหนดในพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 19 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19 (3) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9 และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 (1) และ 18 มิให้นำมาใช้บังคับ อันเป็นการกำหนดให้ประธาน ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย 9 ปี โดยสมาชิกสนช.มีมติเห็นชอบไปด้วยคะแนนเสียง 157 ต่อ 26 และงดออกเสียงมากถึง 29 เสียง

น่าสนใจว่า การประชุมในวันนั้นกมธ.เสียงข้างมากได้หยิบยกเหตุผลเรื่องนี้ว่า เนื่อง จากเพื่อความต่อเนื่องในการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งยังได้อ้างถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 ว่า การกำหนดเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของกรรมการในองค์กรอิสระนั้นให้ขึ้นอยู่กับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งสมาชิกสนช.เป็นผู้พิจารณา ขณะที่กรรมาธิการเสียงข้างน้อยเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นวินิจฉัยครอบคลุมเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ถึงตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญด้วย หากให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอาจเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญได้

ขณะที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 5 มกราคม 2561 ถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. มีใจความสำคัญว่า กรธ.ได้ประชุมปรึกษาหารือกันเมื่อวันที่ 4มกราคม 2561 แล้วเห็นว่า ผู้แทนกรธ.ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ชี้แจงแถลงเหตุผลและข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ มาตรา 185 แห่งร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไว้ชัดเจนแล้วในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รวมทั้งในชั้นการ พิจารณาของ สนช.ในวาระที่ 2 และ 3 แต่สนช.ได้มีมติโดยเสียงข้างมากว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยอ้างอิงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 (กรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน) ดังนั้น กรธ.จึงไม่มีความเห็นเพิ่มเติม

[caption id="attachment_15444" align="aligncenter" width="503"] ศ.ดร.มีชัย ฤชุพันธ์ุ ศ.ดร.มีชัย ฤชุพันธ์ุ[/caption]

อย่างไรก็ดี กรธ.ยังคงมีความห่วงกังวลอย่างมากว่า บทบัญญัติดังกล่าวอาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเนื่อง จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 นั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นลักษณะต้องห้ามในบทหลักตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่การที่จะวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของศาลรัฐธรรมนูญ กรธ.จึงไม่โต้แย้งโดยให้เป็นดุลพินิจของสนช.ที่ จะพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป

ก่อนหน้านั้นนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างกฎ หมายฉบับดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.ป.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ หากนำไปบังคับใช้จะก่อให้เกิดปัญหาในระบบนิติธรรม เนื่องจากกรรมการป.ป.ช.บางรายมีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ทั้งยังระบุด้วยว่า หากนายกฯไม่ดำเนินการตามคำร้องจะถือว่า เพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ตนจะดำเนินการตามช่องทางต่อไป ทั้งยังจะยื่นฟ้องเอาผิด สนช. ที่โหวตเห็นชอบร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวด้วย เนื่องจากถือว่ากระทำการเอื้อประโยชน์ต่อกรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบันที่อาจจะเข้าข่ายความผิดเหมือนกรณีที่ส.ส.โหวตผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

7 กรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันที่เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะ “ต้องห้าม” จะได้ “ไปต่อ” หรือต้อง “ตกเก้าอี้” ชะตากรรมฝากไว้ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ”

++7 ป.ป.ช.คุณสมบัติส่อขัดรธน.
คณะกรรมการป.ป.ช. ชุดปัจจุบันที่เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ ไม่ผ่านเกณฑ์หรือต้องพ้นจากตำแหน่งไป ประกอบด้วย
1.พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เมื่อปี 2557 ติดเงื่อนไขพ้นจากข้าราชการการเมืองไม่ถึง 10 ปี

2.นายปรีชา เลิศกมลมาศ แม้ว่าจะเคยเป็นเลขาธิการ ป.ป.ช. เมื่อปี 2552 ถือเป็นหัวหน้าส่วนราชการ แต่เมื่อนับเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันเข้ารับการสรรหาไม่ถึง 5 ปี

3.พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง เคยเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธร 3 เมื่อปี 2548 ก่อนย้ายไปเป็นจเรตำรวจ และเกษียณอายุราชการปี 2555 เทียบเท่าตำแหน่งอธิบดี แต่เมื่อนับเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันเข้ารับการสรรหาไม่ครบ 5 ปี เช่นกัน

TP14-3333-1B 4.นายณรงค์ รัฐอมฤต ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการ ป.ป.ช.เมื่อปี 2555 เข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อปี 2556 นับเวลาดำรงตำแหน่งไม่ถึง 5 ปีอีกราย

5.นางสาวสุภา ปิยะจิตติ เคยเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ระดับ 10 เทียบเท่าอธิบดีตั้งแต่ปี 2549-2553 เข้ารับการสรรหาเป็น ป.ป.ช. เมื่อปี 2557 ซึ่งรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดให้ ต้องรับและเคยรับราชการในตำแหน่ง ไม่ตํ่ากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

6.นายวิทยา อาคมพิทักษ์ เคยเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี 2557 เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเคยเป็นกรรมการองค์กรอิสระ

และ 7.พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ เป็นอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหมถึงปี 2555 ลุ้นตีความว่าเทียบเท่าตำแหน่งอธิบดีหรือไม่ และนับเวลาการดำรงตำแหน่งถึงวันรับการสรรหาครบ 5 ปีหรือไม่

++55 สนช.‘ค้าน-งดออกเสียง’ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามป.ป.ช.
สำหรับสมาชิก สนช.ที่ลงมติ “ไม่เห็นด้วย” กับการแก้ไข มาตรา 178 จำนวน 26 คน ประกอบด้วย

1.พล.ร.อ.กฤษฎา เจริญพานิช 2.พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ 3.พล.อ.อ.ชนัทรัตนอุบล 4.พล.ร.อ.ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร 5.พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ 6.พล.ร.อ.ชุมพลวงศ์เวคิน 7.นายดิสทัต โหตระกิตย์ 8.พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ 9.นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน 10.พล.ร.อ.นพดล โชคระดา 11.นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 12.นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ 13.นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์

728x90-03-3-503x62 14.นางพรทิพย์ จาละ 15.พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ 16.นายวันชัย ศารทูลทัต 17.พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ 18.พล.ร.อ.วีรพันธ์ สุขก้อน 19.นางเสาวณี สุวรรณชีพ 20.พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ 21.พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง 22.น.ส.อรจิต สิงคาล วณิช 23.นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ 24.พล.ต.ณรงค์พันธ์จิตต์แก้วแท้ 25.พล.อ.ธนดล สุรารักษ์ และ 26.พล.ร.อ.สนธยา น้อยฉายา

กลุ่ม “งดออกเสียง” จำนวน 29 คน ประกอบด้วย 1.นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน 2.นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 3.พล.ท.กู้เกียรติ ศรีนาคา 4.พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ 5.นายประมุท สูตะบุตร 6.นายพรเพชร วิชิตชลชัย 7.นายพีระศักดิ์ พอจิต 8.นายมณเฑียร บุญตัน 9.นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร 10.พล.ร.อ.วัลลภ  เกิดผล 11.นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ 12.พล.อ.สกนธ์  สัจจานิตย์ 13.นายสมพล  พันธุ์มณี 14.พล.อ.อ.สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ 15.นายเจน นำชัยศิริ

16.นายสุพันธุ์ มงคลสุธี 17.พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ 18.นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ 19.พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ 20.นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ 21.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล 22.พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ 23.นายอิสระ ว่องกุศลกิจ 24.พล.ท.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ 25.พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง 26.นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ 27.นายวิทยา ผิวผ่อง 28.พล.อ.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ และ 29.พล.ท.สุรใจ จิตต์แจ้ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,333 วันที่ 21 - 24 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9