เกษตรกรหนุนยางเป็นสินค้าควบคุม

19 ม.ค. 2561 | 10:37 น.
จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 16 มกราคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้สินค้ายางพารา ประกอบด้วย นํ้ายางสด ยางก้อน เศษยางนํ้ายางข้น ยางแผ่น และยางเครพเป็น 1 ใน 6 สินค้าควบคุมเพิ่มเติม (อีก 5 รายการได้แก่สบู่ก้อน สบู่เหลว, แชมพู, นํ้ายาปรับผ้านุ่ม, ผลิตภัณฑ์ล้างจาน และผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่) เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับชาวสวนยางจากราคาตกตํ่าและมีข้อร้องเรียนว่าเกิดจากระบบการซื้อของผู้ประกอบการที่ไม่เป็นธรรมและมีการเอาเปรียบชาวสวนยางนั้น

[caption id="attachment_229751" align="aligncenter" width="503"] บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร[/caption]

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การดึงยางพาราเป็นสินค้าควบคุมเป็นผลจากราคายางมีความผันผวน และบางครั้งผู้ค้ารับซื้อยางในราคาที่ไม่เป็นธรรมซึ่งการดึงสินค้ายางธรรมชาติเป็นสินค้าควบคุมดังกล่าวหมายถึงเป็นสินค้าที่ต้องจับตาดู ยังไม่ได้ออกมาตรการมาควบคุมแต่อย่างใด แต่หากในอนาคตจะออกมาตรการมาควบคุมก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเสนอ ครม.อีก

[caption id="attachment_174063" align="aligncenter" width="503"] วรเทพ วงศาสุทธิกุล วรเทพ วงศาสุทธิกุล[/caption]

นายวรเทพ วงศาสุทธิกุลประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย)ให้ความเห็นว่า การดึงยางพาราเป็นสินค้าควบคุม ยังไม่แน่ใจว่าจะมีมาตรการกำกับดูแลในรูปแบบใด แต่ต้องอย่าลืมว่ายางพาราเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกกว่า 85% หากกำหนดราคารับซื้อสูงกว่าตลาดโลก โรงงานจะไม่รับซื้อเพราะขาดทุน ใครจะส่งไปขาย อย่างมากก็แค่ปิดโรงงานส่วนเกษตรกรก็ไม่สามารถขายได้แล้วจะทำอย่างไร เกรงจะคล้ายกับสินค้า “ข้าว” ของอดีตรัฐบาลก่อนที่เคยกำหนดราคาสูงเอาใจชาวนา สุดท้ายไทยต้องเสียตลาดให้กับเพื่อนบ้าน

rubbr ด้านนายธีระชัย แสนแก้วประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ความจริงแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี พ.ร.บ.ควบคุมยางพ.ศ. 2542 ซึ่งตนนั่งอยู่ในตำแหน่งคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ได้เสนอกับนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม2560 ที่ผ่านมาว่ากฎหมายฉบับนี้ถ้าบังคับใช้จริงสามารถทำได้ตั้งแต่ชาวสวนยาง จนถึงผู้ส่งออกแต่ปัญหาอยู่ที่การบังคับใช้

[caption id="attachment_157577" align="aligncenter" width="503"] อุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.) อุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.)[/caption]

สอดคล้องกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ สภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.) กล่าวว่าดีเห็นด้วย เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ มีอำนาจ มีกฎหมายพ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542ไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทั้งที่มีอำนาจในมือ หากผู้ประกอบการขายตํ่ากว่าต้นทุนการผลิต มีบทลงโทษ ให้ดำเนินคดี ปรับ จำคุกและเพิกถอนใบอนุญาต ยังทำไม่ได้ ก็โอนอำนาจไปให้กระทรวงพาณิชย์ดูแล หวังราคายางพาราจะดีขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9