‘เอกนิติ’เปิด 6 ภารกิจ เข็นรัฐวิสาหกิจ สู้ภัย‘ดิจิตอล’

20 ม.ค. 2561 | 03:37 น.
โลกกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เรียกว่า เมกะเทรนด์ (MEGA Trend) ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรวมกลุ่มของประเทศ รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถือเป็นความท้าทายของประเทศที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยน แปลง

รัฐวิสาหกิจก็เช่นกันที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่ง“เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ” ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สะท้อน มุมมองผ่าน“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า รัฐวิสาหกิจไทยก็เหมือนกับภาคธุรกิจอื่นๆ ที่กำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทค โนโลยีหรือที่เรียกว่า Disruptive Technology

++ปฏิรูปวิสาหกิจ6ด้านหลัก
ดังนั้นแผนระยะยาวคือ การสร้างให้รัฐวิสาหกิจปรับบทบาทตัวเองให้ชัดเจนมากขึ้น จึงเป็นครั้งแรกที่สคร.ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.... เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างของการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจในระยะยาว เรียกว่า เอาธรรมาภิบาล(Good Governance) มาใช้ในรัฐวิสาหกิจ แต่ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่ผ่าน สคร.ได้ดึงเอาหัวใจสำคัญออกมาทำก่อน เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้ทันที เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจมี 6 เรื่องใหญ่คือ

[caption id="attachment_251325" align="aligncenter" width="333"] เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ[/caption]

เรื่องแรกคือ ยกระดับคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ให้เป็นกรรมการภายใต้กฎหมาย ซึ่งทุกวันนี้ คนร. อยู่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี แปลว่า ถ้ากฎหมายไม่ผ่าน ก็ยังมีได้ แต่รัฐบาลชุดหน้าอาจจะยกเลิกก็ได้ ซึ่งแต่ก่อน สคร.ไม่เคยมีบทบาทมากขนาดนี้ เหมือนเสือกระดาษ และรัฐวิสาหกิจก็กระจัดกระจายตามกระทวงเจ้าสังกัด แต่เมื่อมี คนร.จึงเป็นการรวมศูนย์ ซึ่งขณะนี้สามารถรวมศูนย์ได้ในระดับหนึ่ง ยังไม่ถาวรเท่ากับอยู่ภายใต้กฎหมาย

++ทำแผนยุทธศาสตร์ครั้งแรก
เรื่องที่ 2 ทำภายใต้อำนาจคนร.คือ ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ในอดีตรัฐวิสาหกิจไม่เคยมียุทธศาสตร์ในภาพรวม ต่างคนต่างทำ จึงเป็นแผนที่ไม่เชื่อมโยงภาพใหญ่ แต่ในกฎหมาย จะให้ทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจเป็นครั้งแรก และให้ทำไปเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็น Roadmap ให้กับรัฐวิสาหกิจ

เรื่องที่ 3 ที่จะเสนอในที่ประชุมคนร.ครั้งหน้าคือ ธรรมาภิบาลที่จะนำมาใช้กับรัฐวิสาหกิจว่า จะต้องทำอะไรบ้าง เช่น การนำระบบการเปิดเผยข้อมูลมาใช้กับรัฐวิสาหกิจให้เหมือนกับบริษัทจดทะเบียนคือ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ แบบรายงาน 56-1 มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใสเป็นองค์กรคุณธรรม

++บอร์ดต้องมีความสามารถ
เรื่องที่ 4 คือ การนำ Skill matrix มาใช้กับการตั้งกรรมการ สมัยก่อนตั้งใครก็ได้มาเป็นกรรมการ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องมีคุณสมบัติอะไร แต่ต่อไปการตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องดู Skill matrix คือ เอาสมรรถนะหลักมาใช้ ซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว

เรื่องที่ 5 คือ การประเมินผล ปัจจุบันการประเมินผล อยู่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกฯ โดยดูจากผลการดำเนินงานเป็นหลัก แต่ต่อไปจะเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ด้วยว่า ได้ทำตรงตามแผนยุทธศาสตร์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในการประเมินครั้งนี้ ก็ขอให้กรรมการประเมินผล นำแผนยุทธศาสตร์มาประเมินด้วยแล้ว

728x90-03-3-503x62 (1) ++ยืนยันตั้งบรรษัทไม่ใช่การแปรรูป
ส่วนเรื่องที่ 6 ยังไม่สามารถทำได้ ต้องรอกฎหมาย คือ การตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจมาก เพราะเข้าใจผิดว่า จะเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่เขียนไว้ในกฎหมายชัดเจนว่า รัฐวิสาหกิจที่โอนไปยังบรรษัทนั้น จะต้องคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้

ทั้งนี้ “เอกนิติ” ยืนยันว่า จะพยายามชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้กฎหมายออกมามีผลบังคับใช้ครบทั้ง 6 ประเด็นหลัก เพื่อการบริหารรัฐวิสาหกิจที่สามารถรองรับกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9