ปภ.เปิดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 65 จังหวัด

18 ม.ค. 2561 | 08:14 น.
ปภ.เปิดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 65 จังหวัด

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าทางกองบัญชาการและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้สั่งการให้ 65 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2561 ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช

kobchai

นราธิวาส สุโขทัย นครสวรรค์ กาฬสินธ์ นครพนม สกลนคร บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี หนองคาย บึงกาฬ ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชุมพร กระบี่ ตรัง สตูล ยโสธร อำนาจเจริญ ตราด ระยอง ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี

"ช่วงรับมือ แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงก่อนวิกฤติ ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ โดยให้รายงานข้อมูลและแจ้งเตือนสถานการณ์ การระดมสรรพกำลัง การเคลื่อนกำลังจากพื้นที่อื่นเข้าในพื้นที่เสี่ยง และการลาดตระเวนเฝ้าระวังและดับไฟ และ ช่วงที่ 2 คือช่วงวิกฤติ ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม โดยใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ การบังคับใช้กฎหมาย การลาดตระเวนเฝ้าระวังดับไฟ การดำเนินมาตรการ ลดฝุ่นละออง และการประสานประเทศเพื่อนบ้าน"

firea

โดยแนวทางการปฎิบัติ แบ่งออกเป็น 4 พื้นที่ 4 การบริหารจัดการ ได้แก่ 1.พื้นที่ป่าสงวน/อนุรักษ์ ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เป็นหน่วยรับผิดชอบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆดำเนินการควบคุมไฟป่า โดยจัดทำแนวป้องกันไฟ การจัดกำลังลาดตระเวนให้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานและอาสาสมัครประชาชน 2.พื้นที่เกษตรกรรม ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร ห้ามเผาเด็ดขาด และรณรงค์ให้มีการใช้สารย่อยสลายหรือไถกลบตอซังข้าว/ข้าวโพด และการแปรวัสดุการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า
info มาตรการไฟป่า

3.พื้นที่ชุมชน/เมือง ให้จังหวัด อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดกติการ่วมกับชุมชน โดยใช้กลไกประชารัฐในการเฝ้าระวังป้องกันการเผาในพื้นที่ชุมชน/เมือง และให้จัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล/หมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมชี้แจงกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ทราบมาตรการและแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัด และ 4.พื้นที่ริมทาง ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมในพื้นที่เป็นหน่วยรับผิดชอบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการจัดกำลังอาสาสมัครภาคประชาชน จิตอาสา ทำการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และกำจัดเศษวัสดุ ขยะใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทางเพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9