สนช.รับหลักการร่างกฏหมายให้อดีตผู้ประกันตน1ล้านคนคืนสภาพ

18 ม.ค. 2561 | 09:08 น.
สนช. รับหลักการร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน  เปิดให้ผู้ประกันตนมราที่สิ้นสภาพกว่า 1 ล้านคน  มีโอกาสยื่นเรื่องกลับเข้าสู่ระบบประกันสังคมภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

วันนี้ (18 ม.ค.2561) เว็ยไซต์ http://www.radioparliament.net เผยแพร่ข่าวว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 173 ไม่เห็นด้วย  ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง   พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อศึกษาร่าง พ.ร.บ. จำนวน 17 คน   แปรญัตติภายใน 7   วัน  กรอบเวลาพิจารณา  30 วัน

org_7272281353

โดยพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลในการตราร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวว่า เนื่องจากมีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ประกันสังคม(ฉบับที่2) พ.ศ.2537  จำนวนประมาณ 1 ล้านราย  ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน  หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน  ซึ่งส่งผลทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง เป็นเหตุไม่ได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม และไม่อาจกลับเป็นผู้ประกันตนได้อีก

ดังนั้น  รัฐบาลจึงได้เสนอให้มีการตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้น  เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่บุคคลดังกล่าวในการขอกลับเป็นผู้ประกันตนได้อีกครั้ง  ทำให้บุคคลที่กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม มีหลักประกันและเกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่ตนเองและครอบครัว

728x90-03 ด้านสมาชิก สนช. เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ พร้อมชี้ว่า เป็นอีกหนึ่งกฎหมายชิ้นโบว์แดงของรัฐบาล แต่ได้เสนอแนะว่า จากเดิมที่ให้โอกาสผู้ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน  ก็ควรขยายกรอบเพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ประกันตนที่ขาดส่งเงินสมทบนานกว่านั้นได้ยื่นขอเข้ากลับสู่ระบบด้วย  เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ขาดการส่งเงินสมทบโดยไม่มีเจตนา

สำหรับร่าง พ.ร.บ. การกลับเป็นผู้ประกันตน  มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ  1.ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ที่สถานะความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 41(4) และ(5)  คือจากเหตุไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน  หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน  และก่อนที่ร่างกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้  ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานประกันสังคมตามแบบที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ  2.เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับคำขอแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบคำขอ และแจ้งให้ผู้ยื่นทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีสิทธิกลับเป็นผู้ประกันตน ให้เสนอรายงานพร้อมเหตุผลต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเพื่อพิจารณาและมีคำสั่ง และแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ โดยคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมถือเป็นที่สุด  และ3.กำหนดให้การกลับเป็นผู้ประกันตน มีผลตั้งแต่เดือนที่ยื่นคำขอ และให้ผู้ประกันตนมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9