พาณิชย์เปิดตัวดัชนีการค้าภาคบริการไทยครั้งแรก

18 ม.ค. 2561 | 05:45 น.
พาณิชย์เปิดตัวดัชนีการค้าภาคบริการไทยเป็นครั้งแรก ชี้แนวโน้มธุรกิจบริการปีนี้ยังเติบโตได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สาขาอสังหาริมทรัพย์, สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร , และสาขาการขายส่งและขายปลีก แต่ตั้งข้อสังเกต ดัชนีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงแต่กลับโตส่วนของเงินปล่อยกู้ เสี่ยง ฟองสบู่

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า สนค. ได้จัดทำดัชนีภาวะการค้าภาคบริการ ตามนโยบายสั่งการของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดภาวะการค้าภาคบริการของประเทศเป็นครั้งแรก พบว่าภาคบริการของไทยในปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี 2559โดยดัชนีภาคบริการนี้เป็นการบูรณาการรวบรวม และเชื่อมโยงฐานข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงาน กลต. ซึ่งจะมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

pimch1

-กลุ่มตัวชี้วัดด้านผลการดำเนินงานภาคบริการ ประกอบด้วย ยอดขาย การจ้างงาน นิติบุคคลจดทะเบียน และความเชื่อมั่น SME ปัจจุบัน และกลุ่มตัวชี้วัดด้านศักยภาพและความเชื่อมั่นภาคบริการ ประกอบด้วย นิติบุคคลเพิ่มทุน การลงทุน และความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอนาคต ซึ่งดัชนีจะชี้วัดสถานการณ์ภาพรวมของภาคบริการ และรายสาขาย่อยจำนวน 13 สาขา โดยใช้ข้อมูลปี 2559 เป็นปีฐาน ตามการจัดประเภทตามมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552ประกอบด้วย การก่อสร้าง , การขายส่งและการขายปลีกการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ,การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ,ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร , ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ,กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย ,กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ , กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ , กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน , การศึกษา ,กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ , ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และ กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

ทั้งนี้จากการวัดพบว่า ดัชนีภาวะการค้าภาคบริการของไทยในปี 2560 เพิ่มขึ้น 3.4 % ขยายตัวต่อเนื่องจาก 2.7 % ในปี 2559 สะท้อนถึงสถานการณ์การค้าภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับดี ซึ่งภาคบริการในรายสาขาเกือบทุกสาขาปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสาขาอสังหาริมทรัพย์, สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร , และสาขาการขายส่งและขายปลีก ส่วนในปีนี้แนวโน้มการค้าภาคบริการจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง จากการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่ยังมีแผนในการลงทุนใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้ง health and wellness จากนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม S-curve ของรัฐบาล และกระแส Medical Tourism ซึ่งคาดว่าในระยะต่อไปจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักลงทุนมากขึ้น

ser

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกต จากกระทรวงพาณิชย์ถึงความกังวลในส่วนของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตร้อนแรงและเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ เนื่องจากเป็นการเติบโตมาจากจำนวนเงินสินเชื่อที่ปล่อยกู้ ให้กับโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ต่างๆ และ มาจากมูลค่า ที่ดินค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ ไม่ได้เติบโตจากความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจจะต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในการกำกับดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ในปี 2559 สัดส่วนมูลค่าการค้าภาคบริการคิดเป็น 65 % ของจีดีพี จากมูลค่าจีดีพีรวม 13.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่อยู่ ในสัดส่วน 64.4 % ของจีดีพี จากมูลค่ารวม 12.3 ล้านล้านบาท และ ในปี2558 มีสัดส่วนที่ 62.2 %ของมูลค่าจีดีพีรวม 11.9 ล้านล้านบาท

728x90-03-3-503x62 (1)

สำหรับอุตสาหกรรมบริการที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ 5 อันดับแรกในปี 2016 ประกอบด้วย ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก มูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท, ธุรกิจการเงิน มูลค่า 1.06 ล้านล้านบาท, ธุรกิจ transport มูลค่า 8 แสนล้านบาท, ธุรกิจที่พักโรงแรม มูลค่า 680,000 ล้านบาท และ ธุรกิจ การศึกษามูลค่า 640,000 ล้านบาท ส่วนสาขาก่อสร้างมีการหดตัวเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในธุรกิจก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม ดัชนีบริการนี้ เป็นการวัด ชีพจรบริการ ใน 2 ส่วนสำคัญคือ การขยายตัว และศักยภาพ ของภาคบริการไทย ซึ่งจะเห็นความเคลื่อนไหวว่า สาขาบริการไหนขยายตัว/หดตัว เกิดจากปัจจัยอะไรเป็นหลัก รัฐต้องมีมาตรการลงไปช่วยเหลือให้โตขึ้นมากกว่านี้ได้ไหม หรือมีอะไรที่ต้องระวัง เพราะจะมีข้อมูลจากหลายมิติที่เป็นประโยชน์ของดัชนีจะใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนนักลงทุน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9