เปิดนิคมฯดักนักลงทุนจีน กรศ.ไฟเขียวเขตส่งเสริมอีก18แห่งรับลงทุน1.25ล้านล้าน

21 ม.ค. 2561 | 02:30 น.
กรศ.ไฟเขียวเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมอีก 18 แห่ง รองรับการลงทุน 2.4 หมื่นไร่ รวมของเดิมที่ประกาศแล้ว 2 แห่ง ก่อให้เกิดการลงทุนได้ 1.25 ล้านล้านบาท พร้อมผุดเขตส่งเสริมฯรองรับนักลงทุนจนกว่า 3 พันไร่ รับอุตฯใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ได้เห็นชอบให้นิคมอุตสาหกรรม Smart Park เนื้อที่ 1,466 ไร่ จ.ระยอง ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 เนื้อที่ 1,900 ไร่ จ.ระยอง ของบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งสามารถเปิดรับนักลงทุนได้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

[caption id="attachment_251186" align="aligncenter" width="384"] อุตตม สาวนายน อุตตม สาวนายน[/caption]

ล่าสุดในการประชุมติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ที่มีตนเองเป็นประธานในวันที่ 17 มกราคม จะมีการพิจารณาเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีเพิ่มอีก 18 แห่งรวมพื้นที่ 8.034 หมื่นไร่ โดยสามารถใช้เป็นพื้นที่รองรับการลงทุนได้ 2.416 หมื่นไร่

ทั้งนี้ เขตส่งเสริมฯที่จะประกาศเพิ่มเติมนี้ ประกอบด้วย พื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 2 พื้นที่ราว 841 ไร่ รองรับการลงทุนได้ 660 ไร่ คาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนได้ 5.19 หมื่นล้านบาท พื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย นิคมฯอมตะนคร 1 และ 2 นิคมฯปิ่นทอง 1-5นิคมฯเหมราชชลบุรี 1-2นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (HESIE) 2-3 นิคมฯยามาโตะ รวมพื้นที่ประมาณ 4.23 หมื่นไร่ เป็นพื้นที่รองรับการลงทุนได้ 1.766 หมื่นไร่ สามารถรองรับการลงทุนได้ 7.62 แสนล้านบาทและพื้นที่จังหวัดระยองได้แก่นิคมฯเหมราชระยอง 36 นิคม นิคมฯ เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมฯเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมฯเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 และนิคมฯอมตะซิตี้ รวมพื้นที่ 3.72 หมื่นไร่ เป็นพื้นที่รองรับการลงทุนได้ 5,838 ไร่ ก่อให้เกิดการลงทุนได้ 2.34 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ จากการประกาศพื้นที่นิคมทั้ง 20 แห่งนี้จะมีพื้นที่ราว 8.37 หมื่นไร่ เป็นพื้นที่รองรับการลงทุนใหม่ได้2.64หมื่นไร่ หรือคิดประมาณการเงินลงทุนอยู่ที่ 1.25 ล้านล้านบาท

TP11-3332-2A นายอุตตม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในการประชุมกรศ.ดังกล่าว จะมีการพิจารณาพื้นที่ประมาณ 3,068 ไร่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยองที่เป็นโครงการระหว่างไทย-จีนความร่วมมือของบริษัท ซีพี คอร์เปอเรชั่น จำกัด ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเพื่อรองรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สื่อสารด้วยภาษาจีน ที่จะรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของธุรกิจจีนที่ใช้เทคโนโลยีสูงเช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรม

728x90-03-3-503x62 (1) โดยความร่วมมือในการจัดตั้งนิคมดังกล่าว คาดว่าจะลงนามความร่วมมือกันได้ ในช่วงที่นายหวาง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ ของจีน จะเดินทางมาเยือนไทย และนำคณะเอกชนจีนและฮ่องกงราว 700-800 รายกว่า 300 บริษัท เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (Joint Committee on Trade, Investment and Economic Cooperation :JC)ระดับรองนายกรัฐมนตรี ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ หลังจากที่เลื่อนการเดินทางในระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม 2561

“การที่ต่างชาติจะเข้ามาลงทุน ก็ต้องการที่จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพราะสามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง เมื่อนักลงทุนต้องการในส่วนนี้ก็จะต้องจัดให้ แต่อุตสาหกรรมที่เข้ามาต้องใช้เทคโนโยลีชั้นสูง โดยมองว่าในระยะต่อไปภาพการลงทุนของจีนจะขึ้นมาเทียบชั้นญี่ปุ่นได้”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9