ชง‘ประยุทธ์’ ผุดปิโตรเฟส 4 ลงจังหวัดใต้

19 ม.ค. 2561 | 09:59 น.
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ปลุกปิโตรเคมี ระยะที่ 4 ชงนายกฯมี.ค.นี้ ลงทุนอีก 3 แสนล้าน ตั้งโรงงานใช้แนฟทาหรือแอลพีจี แทนก๊าซธรรมชาติที่เริ่มขาด เล็งพื้นที่ภาคใต้ รอง รับคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่

นายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อเสนอและแนวทางการปฏิบัติที่สามารถทำได้จริงใน 17 ประเด็น แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการพลังงาน, ด้านไฟฟ้า, ด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี, ด้านการสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อการส่งเสริม การแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ, ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคณะปฏิรูปฯจะประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)ภายในเดือนมีนาคมนี้

por2 ทั้งนี้ หนึ่งในข้อเสนอที่เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการในช่วง 1-2 ปีนี้ จะเป็นเรื่องของการผลักดันให้เกิดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 คาดใช้เงินลงทุน 2-3 แสนล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์สูงสุดกับฐานการผลิตปิโตรเคมีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก อย่างต่อเนื่องและสามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-curve) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
สำหรับการดำเนินงานนั้น รัฐบาลจะต้องเข้าไปสนับสนุน การลงทุนสร้างโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นที่ใช้แนฟทา หรือ LPG เป็นวัตถุดิบ มีกำลังผลิตเอทิลีน 1-1.5 ล้านตันต่อปี รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายที่จะผลิตปิโตรเคมีชนิดพิเศษ และผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และทดแทนปริมาณ เอทิลีนที่ผลิตจากวัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติที่จะลดลง เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

รวมทั้งสนับสนุนโรงกลั่น นํ้ามันในการปรับปรุงกระบวนการ ผลิต เพื่อให้สามารถผลิตวัตถุดิบ (แนฟทา, LPG) ให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนเปลี่ยนนํ้ามันเตาที่มีกำมะถันสูงเป็นนํ้ามันใสที่สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบปิโตรเคมีได้ การให้สิทธิประโยชน์การลงทุนแก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 อุตสาหกรรมโรงกลั่นที่จะผลิตวัตถุดิบปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เทียบเท่าสิทธิประโยชน์ใน EEC

นายพรชัย กล่าวอีกว่า อย่างไร ก็ตาม การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในปัจจุบัน วัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก และจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปลายนํ้าที่อาจต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบและความสามารถในการแข่งขันลดลง อีกทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกมีข้อจำกัด ในการขยายกำลังการผลิตจากข้อกำหนดด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการมีอุตสาหกรรมอื่นที่ปลดปล่อยมลพิษสูงอยู่ในพื้นที่ และได้รับการจัดสรรสัดส่วนการปล่อยก๊าซในชั้นบรรยากาศ ทำให้เป็นการปิดกั้นโอกาสในการขยายการลงทุนและกำลังการผลิตเพิ่มเติมได้

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดพื้นที่ใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระยะยาว และส่งเสริมการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอื่นเพิ่มเติม นอกเหนือจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งในอดีตรัฐได้เคยมีการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) เพื่อยกระดับภาคใต้ให้เป็นศูนย์การผลิต การค้าและการกระจายสินค้าแหล่งสำคัญของประเทศ และของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

728x90-03-3-503x62 (1) โดยรัฐบาลควรมีมาตรการต่างๆ ออกมา เช่น การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้และยอมรับและเกิดความต้องการให้มีการพัฒนาพื้นที่ โดยต้องมีการจัดหาฐานข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในด้านสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำไปประกอบการจัดทำเป้าหมายการพัฒนา โดยโครงการนี้หากสามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะสามารถลดต้นทุนของการดำเนินงานจากการใช้ประโยชน์ความเย็นเหลือทิ้งของการแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว

[caption id="attachment_244797" align="aligncenter" width="503"] สุกฤตย์ สุรบถโสภณ สุกฤตย์ สุรบถโสภณ[/caption]

นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าโดยส่วนตัวมองว่าหากโครงการปิโตรเคมี ระยะที่ 4 ประสบความสำเร็จ จะสามารถเพิ่มขีดการแข่งขันอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งข้อได้เปรียบของไทยคือมีก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยส่วนหนึ่ง เพื่อผลิตปิโตรเคมีสำหรับการส่งออก ปัจจุบันมีการใช้ปิโตรเคมีในประเทศ และส่งออกปิโตรเคมีประมาณ 50% ดังนั้นหากสามารถขยายปิโตรเคมีได้ในอนาคต จะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการใช้พลาสติกชนิดพิเศษในประเทศเพิ่มขึ้นก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังมีตลาดไม่ใหญ่นัก เพราะยังมีราคาแพงเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป หากมีตลาดจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-7-503x62