โรงงานซูบารุไทย เพิ่มศักยภาพธุรกิจในอาเซียน

20 ม.ค. 2561 | 02:01 น.
เอ่ยชื่อ ตันจง อินเตอร์เนชันแนล จำกัด เชื่อว่าหลายคนที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งไทย และแถบเอเชียต้องรู้จักกับบริษัทนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในไทยที่มีบริษัทลูกหลายแบรนด์ อาทิ มอเตอร์ อิมเมจ ที่จัดจำหน่ายรถยนต์ซูบารุ, แบรนด์ MAN จำหน่ายรถบรรทุกและรถโดยสาร, แบรนด์ FOTON รถบรรทุก-หัวลาก, แบรนด์ SCHWING Stetter จำหน่ายรถมิกเซอร์ -รถโม่ปูน,แบรนด์ฉางอาน รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็ก,แบรนด์ JAC รถบรรทุกขนาดกลางและเล็ก

โดยแบรนด์ที่ถือเป็นรถธงและเป็นหัวใจของตันจงในประเทศไทยก็คือ ซูบารุ ซึ่งปีที่ผ่านมาได้ประกาศลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาทเพื่อสร้างโรงงานผลิตรถในไทย โดยความคืบหน้าของแผนงานลงทุนดังกล่าวจะเป็นอย่างไร วันนี้ เกลน ตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตันจง อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จะมาฉายภาพให้เห็น

[caption id="attachment_250969" align="aligncenter" width="433"] เกลน ตัน เกลน ตัน[/caption]

++ความพร้อมของโรงงาน
เบื้องต้นโรงงานจะแล้วเสร็จและเริ่มประกอบรถในรุ่น ฟอเรสเตอร์ ในเดือนมีนาคม 2562 และบริษัทวางแผนว่าปีแรกกำลังการผลิตจะทำได้ 6,000 คัน ส่วนกำลังการผลิตแบบเต็มที่ของโรงงานจะอยู่ที่ 3 หมื่นคัน โดยการผลิตนอกจากจะป้อนตลาดในไทยแล้วยังส่งออกไปยังมาเลเซีย เวียดนาม,กัมพูชา ส่วนความสามารถในการประกอบรถของโรงงานแห่งนี้สามารถทำได้ 3 โมเดล ซึ่งในอนาคตจะผลิตรุ่นไหนเพิ่มนั้นจะต้องดูความต้องการของตลาดก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน

++ราคารถจะเป็นอย่างไร
ราคาขายยังไม่มีการสรุป เพราะต้องดูต้นทุนทั้งหมดที่ได้ลงไป ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนด้านบุคลากรที่จะมีเจ้าหน้าที่จากโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาดูแลเรื่องประสิทธิภาพในการผลิต,โลคัลคอนเทนต์ต่างๆ ที่ต้องนำเข้ามา

++ความคาดหวังยอดขาย
ในปีที่ผ่านมายอดขายรวมของซูบารุใน 9 ประเทศ มีกว่า 2.4 หมื่นคัน และในปีนี้ก็ตั้งเป้าหมาย 2.7 หมื่นคัน โดยประเทศที่ขายดี5อันดับแรกคือ ไต้หวัน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย ซึ่งเราคาดหวังว่าไทยจะตอบรับเป็นอย่างดี และมียอดขายขยับขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 เพราะจะมีรถรุ่นใหม่ ซูบารุ เอ็กซ์วี และรุ่นพิเศษในช่วงปลายปี โดยในปีที่ผ่านมายอดขายรถซูบารุในไทยทำได้ 1,900 คัน และในปีนี้ตั้งเป้าหมายเติบโตเท่าตัวคือ 3,860 คัน

728x90-03-3-503x62 (1) ++แผนงานในไทย
ในช่วงที่ผ่านมาเราประสบปัญหาเรื่องอาฟเตอร์เซลส์ ซึ่งตอนนี้เริ่มนิ่งและเราพยายามแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด โดยตามแผนที่วางไว้เราจะขยายเครือข่ายดีลเลอร์เพิ่มขึ้นในปีนี้ และจะมีการวัดผล KPI ส่วนปัญหาเรื่องราคา เมื่อโรงงานในไทยแล้วเสร็จ เราสามารถที่จะควบคุมการผลิตได้ ซึ่งเราจะรู้ว่าความต้องการตลาดมีมากน้อยแค่ไหน ต้องผลิตเท่าไร เชื่อว่าปัญหาเรื่องราคาจะแก้ไขได้

++การลงทุนอื่นๆ
ในตอนนี้เราจะโฟกัสที่ซูบารุก่อน แต่ที่จีนเรามีโรงงานผลิตเบาะ หากพบว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นก็อาจจะโยกมาผลิตที่ไทยด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีธุรกิจด้านโลจิสติกส์ อาทิ การขนส่งรถ (รถเทรลเลอร์),การเดินเรื่องพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออก, การเตรียมความพร้อมในการส่งมอบรถ หรือ PDI ภายใต้ชื่อ TC Zero Thailand ซึ่งตอนนี้มีการซัพพอร์ตเฉพาะบริษัทเครือตันจง แต่อนาคตจะขยายไปสู่คู่ค้าที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในไทย เพราะปัจจุบันคนญี่ปุ่นเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยเป็นจำนวนมาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-7-503x62