ธปท.จ่อฟันแบงก์ช่วยลูกค้าเก็งบาท

17 ม.ค. 2561 | 08:19 น.
ธปท. จ่อลงดาบสถาบันการเงินในประเทศ หลังพบพฤติกรรมเอื้อลูกค้าเก็งกำไรค่าเงินบาท ชี้ ตรวจพบว่าเคยกระทำมาแล้ว เร่งติดตามเชิงลึกรายอื่นหากพบพร้อมลงโทษ ระบุเงินบาทยังมีทิศทางผันผวน เหตุปัจจัยต่างประเทศ ยันไม่ใช่เหตุเดียวกระทบส่งออก แนะผู้ประกอบการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ เพิ่มขีดความสามารถตั้งราคา-การแข่งขัน

- 17 ม.ค. 61 - นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้ ธปท. ได้ตรวจสอบพบว่ามีสถาบันการเงินในประเทศมีพฤติกรรมเก็งกำไรค่าเงินบาทเพื่อเอื้อต่อลูกค้าของตัวเอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบเชิงลึกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากธปท.ไม่ประสงค์หรือมีเจตนารมณ์ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมที่เอื้อต่อการเก็งกำไร หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามหรือมีการหลีกเลี่ยงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของธปท.จะมีบทลงโทษตามความผิดต่อไป 50954090

“ตอนนี้เราพบว่ามีสถาบันการเงินในประเทศมีพฤติกรรมเก็งกำไร เพื่อช่วยลูกค้าหรือเอื้อต่อลูกค้า ซึ่งไม่เป็นไปตามความประสงค์ของธปท.ในมาตรการป้องปราบดูแลค่าเงินบาท ซึ่งตอนนี้เข้าไปตรวจสอบเชิงลึกและติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่าเป็นสถาบันการเงินที่เคยมีพฤติกรรมแบบนี้มาก่อน และมาตรวจพบว่าทำอีก ซึ่งอาจจะต้องมีการลงโทษ รวมถึงธปท.จะเข้าไปดูแลพฤติกรรมที่เอื้อหรือพยายามหลีกเลี่ยงให้เข้มงวดขึ้นในระยะต่อไป”

นายวิรไท กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท ที่แข็งค่าขึ้น มาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ 1.เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินในสกุลอื่น เช่นเทียบกับยูโรจะเห็นดอลลาร์อ่อนค่าประมาณ 2% หรือเงินบาทเทียบดอลลาร์แข็งค่าราว 1.8-1.9% ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมาจากตลาดไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2.ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลค่อนข้างสูง เนื่องจากมีผู้ส่งออกขายเงินตราต่างประเทศมาก ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น และ 3.มีเงินไหลเข้าในภูมิภาค ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ซึ่งยอมรับว่าในเดือนมกราคมมีเงินไหลเข้าค่อนข้างสูง แต่ยังไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด และยังเป็นนักลงทุนขายสุทธิ

A teller counts 20 baht notes imprinted with the face of Thai King Bhumibol Adulyadej at a bank in Bangkok September 21, 2006. The baht was quoted around 37.43/46 per dollar at 0336 GMT after its decline on Tuesday to a seven-week low of 37.95 to the dollar and subsequent volatility on Wednesday.     REUTERS/Darren Whiteside  (THAILAND)

ดังนั้น จากปัจจัยดังกล่าว จะเห็นค่าเงินบาทมีทิศทางผันผวนต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินในภูมิภาคและทั่วโลก ขณะเดียวกัน บาทที่แข็งค่า เนื่องจากไทยให้ความสำคัญกับเงินดอลลาร์ค่อนข้างมาก จึงอยากให้ผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยงโดยการปิดความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งที่ผ่านมาได้คุยกับสมาคมธนาคารไทย (TBA) ในการให้ความรู้เรื่องนี้มากขึ้น ภายหลังจากมีมาตรการช่วยเหลือผ่าน FX Option แต่สัดส่วนการใช้ยังน้อยอยู่

“ค่าเงินเป็นเพียงจิ๊กซอว์ตัวเดียว เพราะการส่งออกที่ดีมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี ไม่ใช่ปัจจัยค่าเงิน เพราะจะเห็นว่าปีก่อนเงินบาทแข็งค่าไป 10% แต่การส่งออกยังขยายตัวได้ หรือในช่วงที่บาทอ่อนจะเห็นว่าการส่งออกไม่ดี ดังนั้น มองว่ามาจากความสามารถในการตั้งราคา หากสินค้ามีคุณภาพ จะทำให้ความสามารถตั้งราคาหรืออำนาจการต่อรองมีสูง หากมองระยะยาวไทยจะยังคงเผชิญกับค่าเงินที่ผันผวนอยู่ และเป็นการผันผวนที่มาจากปัจจัยนอกประเทศ” ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9