เร่งยกระดับบูรณาการท่องเที่ยว รับทัวริสต์ 37 ล้านคน

20 ม.ค. 2561 | 14:21 น.
โจทย์ใหญ่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวปีนี้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ดีมานด์นักท่องเที่ยว เพราะเติบโตต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยในปีนี้มีแนวโน้มว่าจะมีต่างชาติมาเที่ยวไทยไม่ตํ่ากว่า 37 ล้านคน แต่สิ่งที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังมุ่งดำเนินการ คือ การพัฒนาด้านซัพพลาย ทั้งการบริการของภาครัฐ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการคมนาคมขนส่งของไทยที่ติดอันดับที่นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่พอใจมากสุด อีกทั้งยังมีปัญหาความไม่พร้อมของผู้ประกอบการระดับเอสเอ็ม อี เพื่อก้าวให้ทันกับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เกิดการกระจายตัวในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่เมืองรองต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น

“การซ่อม สร้าง พัฒนา และกระจายการท่องเที่ยวสู่เมืองรอง” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ “วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น ทำให้ในช่วงนี้เจ้าตัว จึงเหมือนเป็นมือประสาน เดินสายเข้าพบรัฐมนตรีของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน ให้แผนการทำงานเดินไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวของประเทศ

728x90-03 ++ตั้งคณะก.ก.ร่วม2กระทรวง
โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกของกระทรวงคมนาคม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ล่าสุดหลังการหารือร่วมกันเป็นครั้งแรกระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นครั้งแรก ก็บรรลุที่จะสานต่อการทำงานร่วมกัน โดยมีการลงนามแต่งตั้ง “คณะกรรมการร่วมเพื่อการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว” ซึ่งจะเป็นคณะกรรมการร่วมระหว่าง 2 กระทรวง รวมไปถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานอื่นๆ อย่างตำรวจท่องเที่ยว เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการในชุดนี้ด้วย เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

ประเด็นที่มีการหารือร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวง โฟกัส 3 ประเด็นหลัก ประเด็นที่ 1 คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

ประเด็นที่ 2 คือ การพัฒนาเมืองหลักเมืองรอง ที่เน้นในเรื่องสะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ และยั่งยืน
ประเด็นที่ 3 คือ การอำนวยความสะดวกและพัฒนาความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทั้งทางบก นํ้า และอากาศ

mp22-3332-a ++ชู 5 ประเด็นหนุนท่องเที่ยว
ต่อเรื่องนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม เผยว่า ประเด็นการหารือร่วมกันจะผลักดันใน 5 เรื่องให้เกิดขึ้นได้แก่

1.การส่งเสริมเส้นทาง การท่องเที่ยวในปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว และได้รับการพัฒนาโดยกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะถนนหนทางในต่างจังหวัด ให้มีความสะดวก ความสวยงาม 2. พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ในเรื่องของถนนหรือระบบราง การส่งเสริมในเรื่องของการบินเพื่อให้ไปสู่ในภูมิภาคให้มากขึ้น เชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในเมืองหลักและเมืองรองตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ความเจริญเข้าสู่ภูมิภาค กระจายแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น

3.การแก้ปัญหาและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องของการพัฒนาสถานีขนส่งให้ทันสมัย ให้มีความเป็นสากล ตามข้อแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางเข้ามาไทยให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น 4.พัฒนาสถานีขนส่งต่างๆ ให้ทันสมัย เน้นเรื่องความสะอาด อย่างเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกห้องนํ้ามากขึ้น และ 5.ส่งเสริมการขาย การพัฒนาระบบตั๋ว มีการพัฒนาไปบ้างแล้ว แต่กระทรวงการท่องเที่ยวฯมีแนวคิดว่า ทำอย่างไร ทำถึงไหนถึงจะเกิดการเดินทางมากขึ้น

[caption id="attachment_239108" align="aligncenter" width="335"] วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[/caption]

ด้านนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยว่า วันนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย คิดเป็นสัดส่วนของ GDP เป็นอันดับ 3 ของโลก การที่กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการท่องเที่ยวฯได้มาจับมือกัน น่า จะสร้างความสบายใจแก่ผู้ที่ติด ตามความก้าวหน้าของระบบการบริการของการเดินทางในไทย

ทั้งนี้การจัดตั้งคณะกรรม การร่วมที่เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดการทำงานในระดับปฏิบัติการได้เลย ซึ่งจะแตกต่างจากอนุกรรม การในอดีตที่ไปตั้งตามพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่เวลาอนุกรรมการที่มีมติต้องรอไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ก่อน ฝ่ายปฏิบัติการ จึงค่อยไปทำ แต่ถ้าอันนี้เป็นเรื่องของ 2 กระทรวงที่เห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถลงภาคปฏิบัติเองได้เลย

MP22-3332-B ++สินเชื่อศก.ชุมชนท่องเที่ยว
ไม่เพียงการพัฒนาโครงข่ายของกระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเท่านั้น การเพิ่มศักยภาพของธุรกิจท่องเที่ยวขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) เพื่อนำไปขยายกิจการก็เป็นเรื่องสำคัญ ครม.จึงมีมติสนับสนุนในเรื่องนี้ตาม “โครง การสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” (ตารางประกอบ) ดอกเบี้ย 3% ต่อปีในช่วง 3 ปีแรก โดยรัฐชดเชยอัตราดอก เบี้ยให้เอสเอ็มอีแบงก์ 2% ต่อปี คิดง่ายๆ คือกู้ 1 ล้านบาท ผ่อน 460 บาทต่อวัน ส่วนปีที่ 4-7 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี โดยจะเปิดให้ยื่นคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวม 5 หมื่นล้านบาท

อีกทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวฯได้ร่วมมือกับเอสเอ็มอี แบงก์ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวไปแล้ว ซึ่งก็จะเป็นอีก 1 ช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจที่อยู่เมืองรองสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9