เอสซีจีสําคัญที่ ‘Mindset’ ดิจิตอลเทคโนโลยีต้องเรียนรู้

20 ม.ค. 2561 | 10:59 น.
เริ่มต้นปี 2561 ทุกคนต่างมีความหวังว่าจะเป็นปีที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะดียิ่งขึ้นโดยส่วนหนึ่งได้แรงหนุนมาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ อีกทั้งยังเป็นปีที่ท้าทายเมื่อเทคโนโลยีกำลังไล่ล่าธุรกิจ ซีอีโอ เอสซีจี “รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส” เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” แบบคำต่อคำถึงมุมมองเหล่านี้

++หวังการใช้ปูนไม่ติดลบอีก
กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เริ่มต้นด้วยการตอบคำถามทีมข่าว “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงผลกำไรเมื่อปี 2560 ว่า ไปได้ดีเพราะธุรกิจปิโตรเคมีที่ขยายตัวเติบโตดี และธุรกิจในอาเซียนก็ค่อนข้างดีด้วย ทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย แต่ในไทยจะเหนื่อยหน่อย เพราะตามที่จริงปีที่ผ่านมา งานก่อสร้างภาครัฐ มันน่าจะเติบโต แต่ปรากฏว่ากลับไม่ค่อยโต ไตรมาสแรกไม่ดี ไตรมาส 2 ก็ดีขึ้นมาเล็กน้อย ปี 2561 เราก็หวังว่าโครงการภาครัฐน่าจะดี มีการประมูลเกิดขึ้น แต่เมื่อต้นปีที่แล้ว เราก็มองแบบนี้เหมือนกัน แต่ก็ไม่ดี ตลาดปูนซีเมนต์กลับติดลบต่อเนื่อง

[caption id="attachment_250702" align="aligncenter" width="426"] รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส[/caption]

ในแง่การส่งออกปูนซีเมนต์ ก็ต้องปรับตัวเพราะออกไปตั้งฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ก็ต้องส่งไปขายยังประเทศที่ไกลกว่านั้น ปีนี้น่าจะส่งออก 4-5 ล้านตัน มีของอยู่แล้วก็ต้องบุกตลาดที่ไกลขึ้น เช่น ตะวันออกกลาง มีคนไปเยอะมาก อินเดียเป็นตลาดที่ดีมากแต่เข้าไปยาก ยุโรปตะวันออก ส่วนบังกลาเทศก็ไปอยู่แล้ว

สำหรับปี 2561 ก็หวังว่าปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์จะไม่ติดลบ ปีที่แล้วเราก็บอกว่าตลาดจะเป็นบวก ซึ่งก็บอกเป็นบวกมาหลายปีแล้ว แต่สุดท้ายก็ติดลบ แต่ตอนนี้ภาค general consumption หรือการบริโภคทั่วไป ก็ไปได้ดี แต่ก็จะเกี่ยวกับเราไม่มาก เช่น เรื่องท่องเที่ยว และเศรษฐกิจชายแดน ที่ไปด้วยดีมาก เพราะประเทศเพื่อนบ้านชอบสินค้าไทยมากไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา และเดี๋ยวนี้มีบริการส่งถึงที่หมาย เมื่อซื้อวัสดุก่อสร้าง มาซื้อฝั่งไทยก็บริการส่งถึงที่ เวลานี้ร้านวัสดุก่อสร้างจะมีรถวิ่งส่งให้ เวลาเพื่อนบ้านเข้ามาฝั่งไทย ก็จะมาซื้อของแบรนด์เนม หรือของใช้สอยอื่นๆ ด้วย

[caption id="attachment_250698" align="aligncenter" width="503"] รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส[/caption]

++อีอีซีจะเป็นฮับด้านตะวันออก
ส่วนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่มองว่าดี อย่างน้อยเกิดการขยายท่าเรือ เพราะตอนนี้ใช้พื้นที่เต็มที่แล้ว เช่นเดียวกับสนามบินใหม่ก็ต้องเกิด ยังโชคดีที่รัฐบาลทหาร สามารถสั่งการให้ขับเคลื่อนได้ ทหารเรือก็ยอม ทำให้ได้ใช้พื้นที่ และมองว่าการพัฒนาพื้นที่อีอีซีถือว่าเหมาะสม เพราะจะเป็นฮับด้านตะวันออก และมีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะ ตรงนี้จะทำให้บรรยากาศการลงทุนดีแน่นอน

นายรุ่งโรจน์มองว่า บ้านเราถ้าไปดูในเรื่องเงินลงทุนมันลดลงทุกปี ถ้าดีก็คือส่งออกดี แต่การส่งออกอย่างปูนเราไม่ได้ลงทุนเรามีอยู่แล้ว ก็ส่งออกไป เราขายของในสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือการใช้แพ็กเกจจิ้งก็คือการเกิดการบริโภค เราจะอยู่ได้จะต้องมีการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานก็เป็นการลงทุนแบบหนึ่ง แต่โครงสร้างพื้นฐานบางทีอาจจะระยะยาวมากๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง ถ้าทำได้ก็เป็นวิชันทางหนึ่ง แต่จะถูกหรือผิดไม่รู้ “ซึ่งรุ่นผมคงไม่มีโอกาสได้เห็น ถ้าได้เห็นก็คงต้องถือไม้เท้าขึ้นไป”

สำหรับมุมมองเรื่อง สายการบินต้นทุนตํ่า (Low Cost Airline) ซีอีโอเอสซีจี ตั้งข้อสังเกตว่า บ้านเรามันมีความต่างตรงที่ระบบสายการบินค่อนข้างดี และถูก ไม่เหมือนจีน ค่าเครื่องบินแพงและเวลาเครื่องออกก็ไม่เคยตรงเวลา ถ้าออกไฟต์เช้าสุดจะตรงเวลา ฉะนั้นรถไฟของจีนจะทำได้ดีกว่า “เมื่อปีที่แล้วผมนั่งรถไฟจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้ก็โอเคนะ ตอนนั้นไปเดือนกันยายน 2560 พอเดือนตุลาคมก็จะเปลี่ยนรถไฟใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม”

728x90-03 ++เอสซีจีเป็นเรื่อง Mindset
ต่อคำถามที่ว่าเมื่อเทคโนโลยีไล่ล่าธุรกิจเอสซีจีต้องปรับตัวอย่างไรนั้น!! ซีอีโอเอสซีจีให้ความเห็นโดยรีบออกตัวก่อนว่า ถ้าพูดไปก็จะฟังดูแปลกๆ ไปน่ะ! เราคุยกัน เยอะในเรื่องดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital transformation) สิ่งที่ผมพบอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือไม่ใช่สำหรับเอสซีจี แต่เป็นเรื่อง “Mindset” เป็นเรื่องกรอบความคิดหรือวิธีคิด เพราะเทคโนโลยีเราสามารถหาซื้อได้ แต่ Mindset คนที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั้นมันหายาก แต่เราเองก็เรียนรู้ดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันด้วยเราก็มองว่าส่วนใหญ่มันเป็นเรื่อง Mindset เหล่านี้คือภาพรวมขององค์กรเรา และไม่เกี่ยวกับองค์กรอื่น เพราะแต่ละองค์กรอาจมีความจำเป็นแตกต่างกันไป เอสซีจีรู้ว่าดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน มาแน่ แต่เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่คนรุ่นเรา

ส่วนการที่จะเตรียมรับมืออย่างไรนั้น ผมว่าก็ต้องทำให้คนเข้าใจ ผมก็ประเมินว่าอยู่ในขั้นไหน ถ้าเราอยู่ในขั้นที่เราเริ่มต้นทำแล้วถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ายังอยู่ในขั้นที่ต้องอธิบายกันก่อนว่าทำไม อันนี้ก็ยังอยู่ในขั้นแรก ซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่สามารถก้าวข้ามขั้นได้ ยกเว้นองค์กรอยู่ในภาวะวิกฤติอยู่แล้ว ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปถามว่า ทำไมต้องทำ เพราะมันไม่มีทางเลือกแล้ว แต่สำหรับเอสซีจีเอง ผมจะตั้งใจไว้เป็นคติประจำใจเลยว่า จะไม่ทำอะไรที่เป็นเรื่องเร่งรีบ คำถามคือว่า ที่ไม่รีบนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกซึ่งเราหวังว่าไม่ใช่เรา (เอสซีจี) คือประเภทที่เรียกว่าทำไปเรื่อยๆ ช้าไม่เป็นไร

[caption id="attachment_250700" align="aligncenter" width="503"] รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส[/caption]

ประเภทที่ 2 คือ คนที่เร่งรีบคือทำอะไร มองไปล่วงหน้า คนที่วางแผนล่วงหน้า คิดอะไรล่วงหน้าเขาจะไม่รีบ เหมือนนักเทนนิส ที่จะมีพวกหนึ่งวิ่งไปวิ่งมา รีบร้อน แต่จะมีอีกพวกดูเหมือนไม่รีบแต่เข้าไปทันทุกช็อตที่จะตี เราหวังว่าเราจะเป็นองค์กรประเภทหลังนี้ เพราะการทำอะไรรีบจะมีความเสี่ยงก็คือจะวิ่งเหยียบกันตาย ฉะนั้นผมจะตั้งเป็นคติไว้เลยจะไม่ทำอะไรที่รีบ ก็จะสอนลูกน้องว่าพยายามอย่าทำอะไรที่รีบ แต่ก็ต้องสอนต่อว่าจะต้องมองไปข้างหน้าด้วย

“เวลานี้คือทุกคนมองว่าปัญหาไม่รู้จะไปทางไหน พอไม่รู้จะไปทางไหน ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่กล้าทำอะไร ลังเล แต่เวลามันมาก็มาเร็วมาก ดูอย่างทางมือถือ มีแอพพลิเคชัน “สังเกตจากลูกผมเป็นคนรุ่นใหม่อายุ 10 กว่าขวบ เขาไม่เคยลังเลกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ฉะนั้นสิ่งที่องค์กรใหญ่ๆ ต้องทำก็คือ จะต้องเรียนรู้ที่จะทำ เรื่องของเทคโนโลยีไม่ลองก็ไม่รู้ เมื่อเรียนรู้แล้วจะรู้ว่าโอกาส (opportunity) อยู่ตรงไหนแข่งกันตรงนั้น ถ้าไม่เริ่มเรียนรู้องค์กรก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ผมเชื่อว่าสื่อเองก็เหมือนกัน เวลานี้ลุยไปแล้วในการทำออนไลน์ ไม่เคยมาถามว่าตกลงจะอย่างไร เพราะไม่มีทางเลือก!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9