กรมชลฯชี้อ่างเก็บน้ำคลองประแกดเสร็จตามแผน

16 ม.ค. 2561 | 12:22 น.
กรมชลประทานเดินหน้าพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด เต็มศักยภาพตามแผนหลัก มั่นใจทำให้จันทบุรีมีน้ำใช้สำหรับสวนผลไม้ อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และเหลือน้ำส่วนเกินผันช่วยเสริมความมั่นคงด้านน้ำของภาคตะวันออก

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เผยถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองประแกด ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำคลองวังโตนด ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ และเพิ่มพื้นที่ชลประทานตอนบน และตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำ ตลอดจนการบรรเทาปัญหาอุทกภัย และปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ตอนล่าง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

thong

ทั้งนี้กรมชลประทานเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกด ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด ให้เต็มศักยภาพ ตามแผนหลักสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนจังหวัดจันทบุรี ให้มีน้ำใช้สำหรับสวนผลไม้ อุปโภคบริโภค และภาคอุตสาหกรรม ทั้งยังเหลือน้ำส่วนเกินผันออกไปช่วยเสริมความมั่นคงด้านน้ำของภาคตะวันออก โดยอ่างเก็บน้ำคลองประแกดจะแล้วเสร็จตามแผนในปี 2561

“ปัจจุบันโครงการอ่างเก็บน้ำคลองประแกด มีความคืบหน้าแล้วกว่า 87 % แต่สามารถเก็บกักน้ำได้แล้ว ขณะนี้มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 27.7 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุเก็บกักน้ำทั้งหมด 60.26 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้มีแหล่งเก็บกักน้ำ และใช้ในฤดูแล้งที่มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก และช่วยให้ราษฎรในพื้นที่กว่า 1,500 ครัวเรือนมีน้ำอุปโภคบริโภค รวมพื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 46,000 ไร่
mab1

อ่างเก็บน้ำคลองประแกด เป็น 1 ใน 4 อ่างของลุ่มน้ำวังโตนด ที่กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมลงมือก่อสร้าง โดยมีอีก 2 อ่างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ ความจุ 68 ล้านลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ความจุ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2560 สำหรับอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ความจุ 99 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้วเสร็จ โดยอยู่ระหว่างเสนอ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. เพื่อพิจารณา
728x90-03 สำหรับแผนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่คาดว่าภายในปี 2580 หรืออีก 20 ปี จะมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมเพิ่มสูงถึง 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยว นั้น โดยในระยะ 5 ปีแรก จะทำการเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ 6 แห่ง เพื่อใช้งานให้เต็มศักยภาพ คือ อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำบ้านบึง อ่างเก็บน้ำมาบประชัน และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จะสามารถกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นรวมกันได้อีก 75 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมกับการสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งใหม่ข้างต้น ที่มีความจุรวมกันกว่า 300 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำให้กับพื้นที่ได้อย่างชัดเจน อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในตอนท้าย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9