สรท. เชื่อ! ส่งออกปี 59 ขยายตัว มั่นใจดีกว่าปี 58 แน่นอน

06 ม.ค. 2559 | 02:56 น.
สรท.ตั้งเป้าส่งออกปี 59 ขยายตัว 2% มั่นใจดีกว่าปีที่ผ่านมา หวังรัฐร่วมผลักดัน ขณะที่ตลาดสำคัญยังเป็น CLMV และสหรัฐ หลังมีแนวโน้มสดใส คาดไตรมาสแรกขยายตัว2% ชี้ปัจจัยเสี่ยงปีนี้ยังมีรอบด้าน

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก กล่าวว่า สรท.คาดการณ์การส่งออกในปี 2559 จะขยายตัวที่ 2% มีมูลค่า 219,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยเดือนละ 18,275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในไตรมาส1ของปีนี้ น่าจะขยายตัวดีกว่าไตรมาแรกของปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 2% หรือเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยไตรมาสแรกของปี2558ที่ การส่งออกติดลบ 4.71% แต่ทั้งนี้คงต้องดูในเดือนมี นาคมว่าการส่งออกจะขยายตัวเท่าไร ซึ่งถ้าไตรมาส1 ของปีนี้ขยายตัวติดลบหรือ0%  ดังนั้นโอกาสที่การส่งออกในปี 2559 จะขยายตัว5% ตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ คงเป็นไปได้ยาก ส่วนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ ออกมากระตุ้นภาคเอกชนนั้น น่าจะเห็นผลได้ในช่วงไตรมาส2-3

“ส่วนเป้าส่งออกที่ ทางภาคเอกชนและหน่ายงานที่เกี่ ยวของประชุมหารือกันว่าปีนี้ จะขยายตัว5%มูลค่า225,750ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยเดือนละ18,812ล้ านดอลสาร์สหรัฐ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายที่จะต้องพยายามและผลักดันการส่งออกให้ ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ แต่ทั้งนี้ไทยยังมีปัจจัยที่ไม่ สนับสนุนการส่งออกมาซึ่งสิ่งที่ เอกชนต้องการให้ภาครัฐช่วยสนั บสนุนนั้น คือ การทำงานร่วมภาครัฐ ภาคเอกชนแบบบูรณาการกำหนดระยะเวลา งบประมาณ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชั ดเจนและสอดคล้อง กระทรวงพาณิชย์เองก็ต้องเป็นหน่วยงานหลักประสานและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการค้าให้มากขึ้น” นายนพพรกล่าว

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือสถานการณ์เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นตัวอย่างที่คาดไว้ การเงินโลกยังคงมีความผันผวน ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศที่ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น รวมทั้งภัยธรรมชาติ แต่เชื่อว่าการส่งออกในปีนี้ยังดีกว่าปี 2558 ที่ติดลบไม่น้อยกว่า 5.5% ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การแข่งขันในตลาดโลกที่มีความรุนแรงมากขึ้น ราคาน้ำมันดิบที่แนวโน้มลดลงอี กทั้งได้ส่งผลให้ราคาสินค้ าเกษตรบางรายการตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง การย้ายฐานการผลิต เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางการค้ าเสรี หรือ เอฟทีเอ ในต่างประเทศซึ่งมีผลต่อมูลค่ าการส่งออกของภาคเอกชน

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่ยังเป็นตลาดสำคัญและจะทำให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ เช่น ตลาด CLMV  ตลาดสหรัฐฯ  โดยเพาะตลาดสหรัฐที่ยังมีทิศทางที่ดีและน่าจะผลักดันการส่ งออกได้ ส่วนราคาน้ำมันในปีนี้น่าจะยังทรงๆตัว ส่วนปัจจัยบวกที่จะทำให้การส่งออกปี 2559 ขยายตัวได้เพิ่มนั้ นนอกจากตลาดส่งออกแล้วก็มีปัจจั ยค่าเงินบาทที่จะส่งเสริมให้ การส่งออกดีขึ้น   แต่ทั้งนี้ที่น่าเป็นห่วงคือตลาดจีนที่เข้ามาบุกตลาดมากขึ้นซึ่งอาจจะเกิดส่งครามด้านราคาเพราะดีมานด์น้อยกว่าซัพพลายเชื่อว่าการแข่งขันจะรุนแรงขึ้น  ส่วนสินค้าที่ยังมองว่าตลาดยั งมีความต้องการและไทยยังส่งออกไปได้ คือ สินค้าขั้นพื้นฐาน เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ กลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารสำเร็จรูป ผัก และผลไม้ ซึ่งผู้ส่งออกจะผลักดันและทำส่งออกมากขึ้นในปีนี้ แต่สินค้าที่จะเด่นมาก และภาครัฐให้ความสำคัญอีกทั้งจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า คือ อัญมณี แฟชั่น และสินค้าไลสไตล์ เชื่อว่าจะเป็นสินค้าที่จะเพิ่มการขยายตัวการส่งออกของไทยได้ ส่วนสินค้าที่เป็นห่วง สินค้าโภคภัณฑ์ที่แนวโน้มราคาลดลง อาหารแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องผลกระทบจากวัตถุดิบ สินค้าประมง เป็นต้น

ส่วนการส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2558 มีมูลค่า 17,167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.42% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และทำให้การส่งออกระยะ 11 เดือน (มกราคม-พฤศจิกายน 2558) มีมูลค่า 197,275 ล้านดอลาร์สหรัฐ ลดลง 5.51%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ทั้งนี้ คาดการส่งออกเดือนธันวาคม 2558 จะหดตัวอย่างน้อย 5.5% ส่งออกได้ไม่เกิน17,700 ล้านดอลาร์สหรัฐ ส่งผลให้การส่งออกทั้งปี 2558 ไม่เกิน 215,000 ล้านดอลาร์สหรัฐ หดตัวลง 5.5% หรือมีโอกาสที่ส่งออกจะหดตัวมากกว่านี้

ส่วนการเปิดเออีซีเมื่อต้นปีที่ ผ่านมานั้นเอกชนเองคงไม่ต้องปรับตัวอะไรมากเพราะการเปิดเออีซี ถือว่าเปิดมานานแล้ วและเอกชนเองก็เข้าไปลงทุนขยายฐานการผลิตอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ จีนที่เข้ามาหาประโยชน์ จากตลาดนี้มาขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจบริการที่ ไทยเองเข้าไปลุยในตลาดนี้ยังไม่ มาก