ครม.อนุมัติสมาร์ทวีซ่าดึงนักธุรกิจ-ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ10อุตฯเป้าหมาย

16 ม.ค. 2561 | 11:20 น.
ครม.อนุมัติสมาร์ทวีซ่าดึงนักธุรกิจ-ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติร่วม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) (16 ม.ค. 61) มีมติเห็นชอบแผนจัดทำวีซ่าประเภทพิเศษ (สมาร์ทวีซ่า) เพื่อดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ชาวต่างชาติ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเข้ามาทำงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ยานยนต์แห่งอนาคต, เทคโนโลยีอาหาร, การบินแห่งอนาคต, การท่องเที่ยว เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้เทคโนโลยีและเป็นการสนับสนุนแหล่งเงินทุนของคนไทย หวังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เสริมความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยจะเริ่มเปิดให้ขอวีซ่าได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
kf สำหรับคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์ของสมาร์ทวีซ่า แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1.กลุ่ม Smart T ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นสาขาที่ยังขาดแคลนในการพัฒนาด้านนวัตกรรม ได้รับวีซ่าเป็นเวลา 4 ปี จากเดิมต้องรายงานตัวทุก 90 วัน คุณสมบัติคือ จะต้องได้รับเงินเดือน 2 แสนบาทขึ้นไป มีสัญญาจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี มีใบรับรองจากหน่วยงานของรัฐ โดยไม่ต้องขออนุญาต อีกทั้งอนุญาตให้คู่สมรสและบุตรเข้ามาทำงานในประเทศได้ ยกเว้นในสาขาห้ามคนต่างด้าวทำงาน 39 อาชีพ เพื่อให้ครอบครัวติดตามเข้ามาอยู่อาศัยด้วย ไม่เช่นนั้นผู้เชี่ยวชาญต่างชาติจะไม่ยอมเดินทางเข้ามาด้วย
2.กลุ่ม Smart I เป็นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติจะต้องลงทุนในนามบุคคลไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ต้องลงทุนในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการทำธุรกิจและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น
728x90-03

3.กลุ่ม Smart E เป็นผู้บริหารระดับสูงทำงานในกิจการกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติจะต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ

4.กลุ่ม Smart S สำหรับกิจการสตาร์ทอัพ คุณสมบัติต้องมีเงินฝากประจำในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 6 แสนบาท มีประกันสุขภาพ ตั้งบริษัทในไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และถือหุ้นเกินกว่า 25%

นายกอบศักดิ์ เผยต่อว่า ทั้งนี้การทำสมาร์ทวีซ่าทั้ง 4 กลุ่มที่ต้องการส่งเสริมดังกล่าวนั้น คาดว่าจะมีชาวต่างชาติมาใช้สิทธิไม่เกิน 1 พันคน จึงเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อแรงงานในประเทศ และต้องการคนกลุ่มนี้เข้ามาช่วยพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9