สหรัฐฯยังไม่ประกาศต่ออายุGSPที่สิ้นสุด31ธ.ค.60

16 ม.ค. 2561 | 08:49 น.
สหรัฐฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาต่ออายุโครงการ GSP ที่เพิ่งจะสิ้นสุดโครงการฯ เมื่อ 31 ธ.ค. 60 เหตุรัฐสภาสหรัฐฯ ต้องพิจารณาออกกฎหมายช่วงปลายปีจำนวนมาก

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผยว่า โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ได้ต่ออายุโครงการฯ มาเป็นระยะเวลา 4 ปี 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 จนถึง 31 ธันวาคม 2560 เพื่อให้สิทธิ GSP แก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด รวมถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ประกาศต่ออายุโครงการให้กับไทย ตลอดจนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด จำนวนรวม 131 ประเทศ ทำให้การใช้สิทธิพิเศษ GSP ขาดความต่อเนื่อง โดยหากรัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาและประกาศต่ออายุโครงการดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ที่ขอสงวนการใช้สิทธิพิเศษฯ ไว้ จะสามารถดำเนินการยื่นขอคืนภาษีอากรขาเข้าได้ในภายหลัง

[caption id="attachment_250544" align="aligncenter" width="503"] ???????????????????????????????????? นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์[/caption]

ทั้งนี้โครงการ GSPสหรัฐฯ เป็นระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ผู้ประกอบการไทยคุ้นเคยและสร้างประโยชน์แก่การส่งออกของไทยมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ปี 2519 เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดให้สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้น โดยจะยกเว้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ หากสินค้าอยู่ในข่ายที่ได้รับสิทธิฯ ซึ่ง สหรัฐฯ กำหนดหลักเกณฑ์ในการระงับและตัดสิทธิ GSP ไว้ เช่น หลักเกณฑ์ระดับการพัฒนาประเทศ (GNP per Capita) หากประเทศใดมีรายได้ระดับสูง (High Income) จะถูกตัดสิทธิฯ

appl1

โดยข้อมูล World bank ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ประเทศที่มีรายได้ระดับสูงจะมี GNP per Capita มูลค่ามากกว่า 12,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี GNP per Capita มูลค่า 5,640 ดอลลาร์สหรัฐฯ และหลักเกณฑ์ทบทวนการให้สิทธิฯ รายสินค้า โดยจะกำหนดเพดานมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯ เป็นต้น ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการยื่นคำร้อง (Petition) เพื่อรักษาสิทธิพิเศษฯ ตามกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ดำเนินการมาอย่างสม่ำเสมอ

728x90-03

ทั้งนี้หลักการสำคัญของ GSP คือ เป็นการให้ฝ่ายเดียว และเป็นการให้สิทธิฯ แบบชั่วคราว ประเทศผู้ให้สิทธิฯ จะยกเลิกหรือระงับสิทธิพิเศษนี้ได้ตามความจำเป็น โดยที่ผ่านมาสหรัฐฯ พิจารณาต่ออายุโครงการ GSP ต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะการนำเข้าผ่านประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP จะช่วยลดการนำเข้าจากจีนและเพิ่มช่องทางการนำเข้าสินค้าจากหลากหลายแหล่งให้แก่ผู้นำเข้าได้เลือกสินค้าที่มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ ในปี 2560 (มกราคม-ตุลาคม) สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยภายใต้โครงการ GSP เป็นมูลค่า 3,472.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่มีการใช้สิทธิสูง ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง ผลไม้แปรรูป และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9