สกัด‘สวมบัตร-เปิดบัญชี’ อย่าแค่‘วัวหายล้อมคอก’

17 ม.ค. 2561 | 06:24 น.
หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโกลาหลกับเหตุการณ์ “สวมบัตรประชาชนเปิดบัญชีธนาคารและวันดีคืนดีที่เจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนตกเป็นเหยื่อร่วมกระทำความผิดแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ในข้อหาฉ้อโกง!.ซึ่งปรากฏการณ์แก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ยังคงเป็นประเด็นตามหลอนเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนเป็นระลอก!

เหตุการณ์ล่าสุดที่คนร้ายนำบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งถูกขโมยไปพร้อมกระเป๋าสตางค์ไปเปิดบัญชีกับ 7 ธนาคารถึงจำนวน 9 บัญชีทั้งๆ ที่ได้แจ้งบัตรหาย แต่สามารถใช้บัตรดังกล่าวเปิดบัญชีเพื่อใช้ก่อคดีหลอกโอนเงิน จนเป็นคดีความที่ต้องไปพิสูจน์ตามขั้นตอนทางกฎหมาย

สังคมส่วนใหญ่พุ่งคำถามตรงไปยังธนาคารว่า เป็นเพราะมาตรการที่มีอยู่ยังไม่ดี หรือเป็นเพราะธนาคารแข่งกันแย่งลูกค้าค้าจนกลายเป็นช่องโหว่ให้เกิดการสวมบัตรเพื่อเปิดบัญชีได้โดยง่ายหรือไม่

[caption id="attachment_200346" align="aligncenter" width="401"] ปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถือเป็นความบกพร่องของมาตรการ และไม่ใช่ผลพวงมาจากการขยายฐานลูกค้า แต่เป็นสิ่งที่ธนาคารจะต้องเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในแนวทางปฏิบัติ ธนาคารจะต้องดูว่าบัญชีที่เปิดนั้น พนักงานร่วมโกงด้วยหรือไม่

MP24-3331-B ในแนวทางป้องกันจะนำระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิตอล (National Digital Identity หรือระบบ e-Identity) ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย โดยระบบดังกล่าวกำลังเร่งพัฒนาคาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ประมาณครึ่งหลังของปีนี้ โดยความร่วมมือของกระทรวงดีอี คลัง มหาดไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและธนาคารพาณิชย์

นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ประเด็นการสวมสิทธิโดยนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่นไปเปิดบัญชีธนาคารนั้น คงจะต้องร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้ทุกธนาคารที่ต่างมีมาตรการนำมาใช้และมีข้อความกำชับพนักงานให้ยึดปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ขณะเดียวกันสมาคมกับธนาคารสมาชิกก็พยายามหาทางเพื่อให้การยืนยันตัวตนชัดขึ้น สมาคมกับธนาคารสมาชิกและกระทรวงมหาดไทยกำลังทำงานร่วมกันเรื่อง National Digital Identity ซึ่งปัจจุบันกำลังทำงานร่วมกับกรมการปกครอง เพื่อเชื่อมฐานข้อมูลทำให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของระบบการยืนยันตัวเองให้ชัดขึ้น

728x90-03 นายอนุชิต อนุชิตานุกูล ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิตอล กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการวางโครงสร้างพื้นฐานให้บริการยืนยันตัวตนและรักษาความถูกต้องของข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลและภาคธุรกิจนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งบริษัท ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิต และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติฯ (เครดิตบูโร) ซึ่งการวางโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้าไปแล้วกว่า 90%

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร กล่าวว่า National Digital Identity เป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดัน แม้ช่วงหลังธนาคารในระบบจะทยอยเปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ด ที่เอื้อให้สถาน การณ์ดีขึ้น แต่ยังมีจุดที่ต้องร่วมกันทำงานเพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆ

ต้องจับตาการประชุมร่วมกันระหว่างปปง. และสถาบันการเงิน 36 แห่ง ในวันที่ 15 มกราคม 2561 ว่าจะมีมาตรการป้องกันและปราบปรามเพื่อสกัดภัยการเงินในรูปแบบต่างๆหรือไม่ และมาตรการจะได้ผลหรือไม่ หรือจะเป็นได้แค่เพียงวัวหายแล้วล้อมคอก เท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9