มัลลิกาชงรัฐปฏิรูปการศึกษาเริ่มรร.3ภาษาไทย-จีน-อังกฤษนำร่องสังกัดกทม.

13 ม.ค. 2561 | 10:22 น.
มัลลิกา เสนอปฏิรูปการศึกษาเริ่มโรงเรียนสามภาษาไทย-จีน-อังกฤษ นำร่องสังกัดกทม. 400 โรงเรียนและโรงเรียนประจำจังหวัดทุกแห่ง

13 ม.ค.2561- นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ในฐานะประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน www.mallikafoundation.com กล่าวว่า ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ อยากให้รัฐบาลใช้โอกาสนี้เริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาทุกด้านให้เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน และเป็นการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในอนาคต จึงขอเสนอการปฏิรูปการศึกษาประการแรก ขอให้เริ่มต้นโรงเรียนสามภาษาอย่างเป็นระบบเพื่อปรับการศึกษาไทยให้ทันยุคสมัยในการเปิดประเทศสอดคล้องกับเศรษฐกิจในภูมิภาคและกระแสการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

mul

จึงควรเริ่มบรรจุโรงเรียนหลักสูตรภาษาไทย-จีน-อังกฤษนำร่องสังกัดกรุงเทพฯ 400 โรงเรียน โดยนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย และบรรจุโรงเรียนประจำจังหวัดทุกแห่ง โดยวางนโยบายและมาตรการอย่างชัดเจนว่าจะมีการผลิตครูภาษาจีนและภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน โดยถือโอกาสเอางบประมาณโครงการประชารัฐมาสร้างโอกาสให้กับเด็กและวัดผลอย่างคุ้มค่า

ประการที่ 2 โครงการฝึกอบรมปรับวิสัยทัศน์ผู้บริหารกระทรวงศึกษาให้เข้าใจบริบทของสังคมชนบทและรู้จักคำว่า "ความไม่มี" ของสังคมชนบท นั่นคือไม่มีโอกาส,ไม่มีการเข้าถึงสวัสดิการรัฐอย่างเท่าเทียม, และไม่มีเงินทุนที่จะตั้งต้นแข่งขันเข้าโรงเรียนคุณภาพดีทั้งเอกชน โรงเรียนสาธิต และโรงเรียนประจำจังหวัด รวมทั้งโอกาสการหาสถาบันติวให้ลูกหลาน

"จุดนี้เองรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรจะตื่นตัวเนื่องจากเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 พร้อมๆ กันจะเหลือเพียง 60% เมื่อจบการศึกษาปีที่6 เด็กๆ ที่หายไปจากระบบการศึกษานั้นเป็นเพราะความยากจนและขาดโอกาส" นางมัลลิกา กล่าว

ad-hoon

ประการที่ 3 ควรเพิ่มงบประมาณพัฒนาความรู้ ภาษา ทักษะ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาลนั้นควรเพิ่มงบประมาณค้นคว้าวิจัยและพัฒนาครูให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะต้องปรับให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่โลกจะหมุนและเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีและระบบไอที โซเชียลเน็ตเวิร์ค ให้กับโรงเรียนและครูผู้สอนเป็นงบประมาณที่ได้สมรรถนะคุณภาพครูมากที่สุดเพราะครูที่ดีและมีความสามารถนั้นคือการลงทุนสำหรับเด็กและเยาวชน

ประการที่ 4 นโยบายปรับกระบวนทัศน์และยุทธศาสตร์การศึกษา ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานควรจะปรับที่นโยบายของกระทรวง หลักสูตรการศึกษา ไม่ใช่ปรับที่ตัวนักเรียน ยกตัวอย่าง การรับฟังข้อเสนอนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อกรณีการบรรจุความรู้ทางด้านกฎหมายในการเรียนการสอน ก็ควรจะมีมาตรการนำเข้าบรรจุอย่างเป็นรูปธรรมและวัดผลได้

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6