รถยนต์ไฟฟ้ามาแล้ว ‘ชาริช จับมือ เอเจ‘ ประเดิมนำเข้าแท็กซี่-บัส-สกูตเตอร์

17 ม.ค. 2561 | 03:11 น.
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแรงเกินคาด“ลีนุตพงษ์” นำเข้าอีวี BYD E6 เจาะแท็กซี่ขายคันละ 1.8 ล้านบาท ตามด้วยรถบัสก่อนเสริมทัพด้วยสกูตเตอร์นิว ราคา 9.8 หมื่นบาท ล่าสุดบริษัทพลังงานในตลาดหุ้นยื่นกระทรวงอุตฯ ขอตั้งโรงงานผลิต

ช่วงปลายปี2560 เครื่องใช้ไฟฟ้า “เอเจ” หรือ เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี (AJA) โดยนายใหญ่ “อมร มีมะโน” ออกมาประกาศว่าเตรียมรุกธุรกิจใหม่คือ รถพลังงานไฟฟ้า (อีวี) โดยมีแผนนำเข้าแบรนด์ “บีวายดี” (BYD) จากประเทศจีนมาทำตลาด พร้อมตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ในชื่อ “ไรเซน เอนเนอร์จี” ซึ่งเอเจถือหุ้น 50% และบริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด อีก 50%

“อมร มีมะโน”เป็นผู้ไปปิดดีลกับ BYD ค่ายรถพลังไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์รายใหญ่ของจีน ทว่าการทำตลาดในไทยยังต้องการบริษัทที่มีศักยภาพ และประสบ การณ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์มาร่วมเป็นพันธมิตร สุดท้าย “เอเจ” จับมือกับ “ชาริช โฮลดิ้ง” ที่ปัจจุบันแม่ทัพใหญ่คือ “อภิชาติ ลีนุตพงษ์” ผู้ปั้นบิ๊กไบค์ “ดูคาติ” จนประสบความสำเร็จในเมืองไทย โดยตระกูล“ลีนุตพงษ์”หลังจากแบ่งทรัพย์สินกงสีในกลุ่ม“ยนตรกิจ” ให้มีความชัดเจนในช่วง 10 ปีหลัง ซึ่งทายาทเจเนอเรชันที่ 2 และ 3 ต่างมุ่งมั่นทำแบรนด์ที่ถูกจัดสรรปันส่วนหรือหาธุรกิจใหม่ตามที่ตนเองถนัด

นายอภิชาติ ลีนุตพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทกำลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ แบ่งเป็น 1.กลุ่มรถพลังไฟฟ้า บีวายดี , เทสลา (นำเข้ามาจากรีโว่ สปอร์ต ของฮ่องกง) 2.กลุ่มมอเตอร์ไซค์ ดูคาติ,รอยัลเอนฟิลด์ และสกูตเตอร์น้องใหม่ “นิว” (NIU) จากจีน 3.กลุ่มนิวเทคโนโลยีนำโดย ไอ-โรบอต เครื่องดูดฝุ่น ในส่วนการทำตลาดของ BYD จะมุ่งไปยังกลุ่มธุรกิจขนส่งสาธารณะด้วยรถรุ่น “อี6” สำหรับผู้ประกอบการแท็กซี่ ที่บริษัทกำลังเจรจาอยู่กับ “ออลไทย แท็กซี่” (นครชัย แอร์ แตกไลน์มาทำธุรกิจแท็กซี่)

[caption id="attachment_249830" align="aligncenter" width="503"] อภิชาติ ลีนุตพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด อภิชาติ ลีนุตพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด[/caption]

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มรถบัส รถขนสัมภาระที่ใช้ในสนามบิน รวมถึงรถฟอร์กลิฟต์ ที่ใช้ในโรงงานหรือโกดังต่างๆ ซึ่งล้วนขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า

“การที่อีวีจะประสบความสำเร็จได้คงต้องใช้เวลา แต่ก้าวแรกควรเริ่มจากการเป็นรถขนส่งสาธารณะ พร้อมได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จากนั้นค่อยๆพยายามสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจในเทคโนโลยี ที่มีข้อดีเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะตัวรถไม่ปล่อยมลพิษ ประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน ค่าบำรุงรักษาตํ่า และสุดท้ายจะลงตัวกับจังหวะเวลาที่ต้นทุนของแบตเตอรี่ตํ่าลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ทั้งนี้ ราคาของแบตเตอรี่จะลดลง 10-15% ทุกปี สวนทางกับประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (เช่น วิ่งได้ระยะทางไกลขึ้นจากการชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้ง) และเมื่อถึงจุดหนึ่งความคุ้มค่าจากการใช้อีวีกับรถเครื่องยนต์สันดาปภายในจะขยับมาใกล้เคียงกัน อย่าง BYD E6 โดดเด่นที่ความสะดวกสบาย ประหยัด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การชาร์จไฟเต็มหนึ่งครั้ง (ควิกชาร์จใช้เวลา 2 ชม.) รถสามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 300 กม. พร้อมขายคันละ 1.8 ล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้ 500 คัน สำหรับ BYD มีชื่อเสียงเรื่องรถพลังงานไฟฟ้าในเชิงขายฟลีต(ล็อตใหญ่) หรือเป็นรถเพื่อการพาณิชย์ รถสาธารณะ ส่วนเมืองไทยคาดว่าครึ่งหลังปี 2561 รถล็อตแรกจะทยอยส่งมอบให้ลูกค้าได้

BYD E6 ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีนโดยใช้สิทธิเขตการค้าเสรี “จีน-อาเซียน” ที่ภาษีนำเข้าเป็น 0% (แต่ยังเสียภาษีสรรพสามิต 8% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ส่วนรถบัสพลังไฟฟ้าจะเป็นการนำเข้ามาจากโรงงานของบีวายดี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้สิทธิเขตการค้าเสรีอาเซียนเช่นกัน

P1-3331-A “การทำตลาดอีวีในช่วงแรกคงไม่เหมือนการขายรถปกติ และต้องให้ความรู้กับผู้ประกอบการ พร้อมแสดงให้เห็นถึงต้นทุนว่าลดลงไปได้แค่ไหน หรือเปรียบเทียบกับรถเครื่องยนต์สันดาปภายในแล้วดีกว่าอย่างไร”นายอภิชาติ กล่าว

นอกจากอีวี BYD ที่เป็นการร่วมทุนกับพันธมิตร “เอเจ” แล้ว “ชาริช โฮลดิ้ง” ยังนำเข้าสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบรนด์ “นิว” (NIU)จากจีนมาเสริมในพอร์ตธุรกิจ พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคมนี้ ด้วยราคาขาย 9.8 หมื่นบาท

“นิว” ถูกผลิตในจีนและส่งออกไปยัง 27 ประเทศ ตลาดหลักอยู่ในยุโรป ขณะที่ตัวรถใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน“พานาโซนิค” และมอเตอร์ขับเคลื่อนของ“บ็อช” เยอรมนี ส่วนการชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งรถวิ่งได้ระยะ ทาง 70 กม. และเคลมความเร็วสูงสุดไว้ 67 กม./ชม. ต้นทุนต่อหน่วยการวิ่ง 0.16 บาท/กม. ซึ่งการสั่งมาขายในไทยจะเสียภาษีนำเข้า 50% (ต่างจากอีวีที่มี 4 ล้อ)

728x90-03 ++ยื่นขอตั้ง รง.ผลิต
แหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทพลังงานรายใหญ่ของไทยได้ยื่นเรื่องมาที่กระทรวงอุตสาห กรรม เพื่อขอใบอนุญาตผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แบรนด์ของประเทศ ไทย โดยเตรียมการในการตั้งโรงงานบนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมนิวส์เอสเคิร์ฟ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9