อ.อ.ป.คุมเข้มหยุดกรีดยาง สหภาพฯกยท.ร้องชดเชย

18 ม.ค. 2561 | 03:42 น.
อ.อ.ป.รับลูกหยุดกรีดยาง 3 เดือน หนุนใช้เงินกองทุนพัฒนายางฯเยียวยา ดันแผนช่วยเกษตรกรมีรายได้เสริม พร้อมคุมเข้มลอบกรีดนำนํ้ายางไปขาย ด้านสหภาพฯ กยท.ชงผู้ว่าการปรับแผนจ้างใหม่ ชี้ผลพวงลามโรงงานปิด รายได้ 1,500 คนหด

จากนโยบายรัฐบาลให้ 3 หน่วยงานรัฐที่มีสวนยางพาราได้แก่ องค์การอุตสาหกรรม
ป่าไม้ (อ.อ.ป.) การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) และกรมวิชาการเกษตรหยุดกรีดยาง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.61) เพื่อลดปริมาณยางและดันราคายางให้ขยับขึ้นนั้น

นางพรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการ อ.อ.ป. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทาง อ.อ.ป. พร้อมให้ความร่วมมือ ขณะเดียวกันก็มีแผนรองรับไว้แล้ว เช่นจะกันพื้นที่ไว้ส่วนหนึ่งให้สมาชิกไว้ปลูกพืชเกษตรระยะสั้น พืชสมุนไพร ขิง ข่า เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น รวมถึงจะร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนในการฝึกอาชีพเพื่อหารายได้เสริมเพื่อทดแทนรายได้ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีรายได้จากการหยุดกรีดยาง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาก่อให้เกิดม็อบหรือแรงต่อต้าน ที่ผ่าน มาอ.อ.ป.มีความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนกับชาวบ้านที่เคยบุกรุกพื้นที่สวนป่ามาเป็นสมาชิก

TP9-3331-B ร่วมลงทุน โดยแบ่งปันรายได้ เช่น สวนใดชาวบ้านลงแรงปลูกยางพาราโดยใช้ต้นกล้าพันธุ์เอง และกรีดเอง จะได้ผลตอบแทน 70% อ.อ.ป.จะได้ 30% จากการ กรีดนํ้ายาง แต่ถ้า อ.อ.ป.ลงทุนมาก ตั้งแต่เตรียมพื้นที่ ลงกล้าพันธุ์ สมาชิกที่มาช่วยดูแลรักษาและกรีดยางจะได้ส่วนแบ่ง 35% อ.อ.ป.จะได้ 65% เป็นต้น (กราฟิกประกอบ)

ขณะเดียวกันในห่วงโซ่การผลิตยังมีผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่คนรับจ้างขนส่งนํ้ายาง พนักงานวัดค่าหนาแน่นยาง พนักงานล้างถังยาง คนจดผลผลิตต้องจ้างรายวัน มีคนคุมงาน เป็นต้น และยังโยงไปถึงคู่ค้าที่เป็นโรงงานที่ทำสัญญาปีต่อปี คนเพาะกล้ายาง คนขายปุ๋ย คนขายเครื่องมือเกี่ยวกับนํ้ายาง รวมทั้งห่วงโซ่แล้วประมาณ 1.5 หมื่นคน ในพื้นที่ 8.65 หมื่นไร่ ปีหนึ่งสวนยางของ อ.อ.ป.มีผลผลิตเพียง 6,000 ตัน เทียบกับผลผลิตทั้งประเทศคิดเป็นสัดส่วน 0.01% เท่านั้น

“กรณีหยุดกรีดยาง จะทำอย่างไรไม่ให้นํ้ายางเล็ดลอดออกมาได้ อาทิ เก็บกระบอกถ้วยยางทั้งหมด แล้วเอาสีทาที่หน้ายางทั้งหมด หากมีการลักลอบกรีดแล้วเราจะเห็นว่ามีรอยใหม่ จะมีการตั้งด่านเพื่อป้องกันไม่ให้คนใช้เส้นทางผ่านออกไปข้างนอกหรือเข้าไปในสวนยางได้”

728x90-03 นางพรเพ็ญ กล่าวอีกว่า การกรีดยางไม่ได้กรีดทุกวันจะกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน หรือ กรีด 1 วัน เว้น 2 วันขึ้นอยู่กับจังหวัดใด ภาคไหน และต้นอายุยางเท่าไร เดือนหนึ่งจะมีรายได้กรีดยาง 10-15 วัน แต่ถ้าเดือนใดฝนตกมากอาจจะกรีดยางได้แค่ 5-6 วัน ดังนั้นรายได้อีกทางหนึ่งก็คือการจ้างมาดูแลป่า เพราะ อ.อ.ป.ไม่ได้ปลูกสวนยางอย่างเดียวแต่ปลูกไม้ป่าด้วย อย่างไรก็ตามการหยุดกรีดยางที่ทำให้ผู้รับจ้างกรีดไม่มีรายได้ต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะหาเงินมาจุนเจือหรือเยียวยาจากแหล่งใด แต่ง่ายที่สุดน่าจะเป็นเงินจากกองทุนพัฒนายางพารา หรือเงินเซสส์ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้ทาง
กยท.เก็บจาก อ.อ.ป. ไปเช่นเดียวกัน

ขณะที่นายจิตติน วิเศษสมบัติ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย (สร.กยท.) กล่าวว่า ทางสหภาพ จะทำข้อเสนอถึง
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท.เพื่อให้ปรับรูปแบบการจ้างงานใหม่เฉพาะกิจ เพราะการหยุดกรีดยางไม่ใช่เพียงลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังโยงถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่นโรงงานต้องปิด พนักงานเดือดร้อน สำหรับลูกจ้างกรีดยางของ กยท. มี 2 ประเภท คือ 1.ประเภทมีสวัสดิการ เช่น มีค่ารักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตร เป็นต้น และรับรายได้แบบเป็นผลประโยชน์ 60% กยท.40% เป็นต้น

2.ประเภทไม่มีสวัสดิการ ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างใหม่ เกิน 60% จากจำนวน 1,200 คน ซึ่งโดยรวมผลกระทบต่อเนื่องถึงโรงงานครั้งนี้ราว 1,500 คน กลุ่มคนเหล่านี้ผู้บริหารจะต้องจ้างไปทำอย่างอื่น โดยรายได้จะต้องจ่ายวันละ 310 บาท ส่วนเงินจะต้องมาจากรัฐบาล รวมทั้งจะต้องชดใช้รายได้ที่สูญหายให้กับ กยท.ด้วย เนื่องจากเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นช่วงผลผลิตมาก ส่วนเงินกองทุนพัฒนายางฯ ถูกบังคับไว้แล้วจะมาสั่งจ่ายไม่ได้ ผิดกฎหมาย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9