“พรเพชร” เผย “มีชัย” แนะส่งศาลรธน.ตีความกฏหมายป.ป.ช.

12 ม.ค. 2561 | 09:37 น.
-12 ม.ค.60-นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เปิดเผยเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. 3 วาระแล้วว่า ได้ส่งไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว ซึ่งหากมีข้อโต้แย้งจาก 2 หน่วยงานนี้ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย และ กธร. ได้ส่งหนังสือแสดงความห่วงใยมายัง สนช. เรื่องคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่อยู่ต่อเป็นการทำงานในฐานะรักษาการเท่านั้น โดย กรธ.ต้องการให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในเรื่องดังกล่าว แต่ขณะนี้ ป.ป.ช.ยังไม่ส่งข้อโต้แย้งใดๆต้องรอก่อน

[caption id="attachment_249465" align="aligncenter" width="503"] นายพรเพชร วิชิตชลชัย นายพรเพชร วิชิตชลชัย[/caption]

“วันนี้เป็นวันครบกำหนดที่ต้องส่งเรื่องโต้แย้งมายัง สนช.และรอสมาชิก สนช.แต่ละคนว่า จะมีการส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ หากไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ สนช.จะส่งร่างพ.รป.ไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป” นายพรเพชร ประธาน สนช.ระบุ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ที่ประชุมสนช.มีมติวาระ 2 และ 3 เห็นชอบร่าง พ.ร.ป.ป.ป.ช. ด้วยคะแนนเสียง 157 ต่อ 26 งดออกเสียง 29 เสียง โดยบรรยากาศในช่วงของการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น กมธ.เสียงข้างมากได้หยิบยกเหตุผลเรื่องความต่อเนื่องในการทำหน้าที่โดยสมาชิก สนช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยตามที่กมธ.เสียงข้างมากเสนอมาโดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 ว่าการกำหนดเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของกรรมการในองค์กรอิสระให้ขึ้นอยู่กับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งสมาชิก สนช.เป็นผู้พิจารณา

728x90-03 ขณะที่กรรมาธิการเสียงข้างน้อย โดยกรธ.ระบุย้ำว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครอบคลุมเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ถึงตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญด้วย หากให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอาจเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญได้

กระทั่งวันที่ 5 มกราคม 2561 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึง นายพรเพชร ประธานสนช.แสดงความกังวลต่อร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งปรากฎข้อความดังต่อไปนี้

ตามหนังสือที่อ้างถึง สนช.ได้ส่งร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ... ที่ สนช.ลงมติให้ความเห็นชอบแล้วมาเพื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 267 วรรค 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยความละเอียดทราบแล้วนั้น

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาหารือกันเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 แล้วเห็นว่า ผู้แทนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐะรรมนูญดังกล่าวได้ชี้แจงแถลงเหตุผลและข้อห่วงกังวลของ กรธ.เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของมาตรา 185 แห่งร่างพ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.... ไว้ชัดเจนแล้วในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯรวมทั้งในชั้นการพิจารณาของ สนช.ในวาระที่ 2 และ วาระที่ 3 แต่สนช.มีมติโดยเสียงข้างมากว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยอ้างอิงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 ดังนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่มีความเห็นเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี กรธ.ยังคงมีความห่วงกังวลอย่างมากว่า บทบัญญัติดังกล่าวอาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 นั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกวันลักษณะต้องห้ามในบทหลักตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่การที่จะวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของศาลรัฐธรรมนูญ กรธ.จึงไม่โต้แย้งโดยให้เป็นดุลพินิจของสนช.ที่จะพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป

หนังสืออ.มีชัย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6-2