หนุนรัฐเร่งแก้ปัญหาวัสดุ จี้ยกเลิกคำสั่งปิดเหมือง

13 ม.ค. 2561 | 11:43 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

วงการวัสดุก่อสร้างป่วน ผู้ประกอบการเรียกร้องภาครัฐยกเลิกคำสั่งปิดเหมืองแร่ แหล่งหิน พร้อมแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอนุมัติสัมปทานเพิ่ม อีกทั้งต่อประทานบัตร เพื่อรับเมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐตั้งแต่วันนี้

นางสาวโชติกา โชติกานนท์ ที่ปรึกษา บริษัทไดนามิค เอ็นเนอร์จี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันเมกะโปรเจ็กต์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหลายโครงการนั้น ทางกลุ่มผู้ประกอบการวัสดุทั้งรายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่เล็งเห็นว่าจะเกิดผลกระทบในเร็วๆ นี้หากภาครัฐยังไม่เร่งแก้ไขระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการต่อใบอนุญาตประทานบัตรหรือเปิดสัมปทานใหม่เนื่องจากจะเกิดผลต่อการขาดแคลนวัสดุ อาทิ หิน ดิน ทราย แกรนิต และซีเมนต์ หรือไม่สามารถจัดหาวัสดุในประเทศอีกต่อไป อีกทั้งยังจะต้องมีการนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศมากขึ้นส่งผลให้กระทบต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

[caption id="attachment_248876" align="aligncenter" width="503"] โชติกา โชติกานนท์ ที่ปรึกษา บริษัทไดนามิค เอ็นเนอร์จี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โชติกา โชติกานนท์ ที่ปรึกษา บริษัทไดนามิค เอ็นเนอร์จี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด[/caption]

ประกอบกับช่วงก่อนนี้ทางกลุ่มผู้สัมปทานเหมืองแร่ยังได้ผนึกกับกลุ่มกิจการวัสดุก่อสร้างประเภทอื่นๆเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งปรับแก้ไขปัญหาประทานบัตรเหมืองแร่และวัสดุที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐโดยได้มีความพยายามสอบถามกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง แล้วพบว่ายังไม่มีการ
เตรียมรองรับเรื่องนี้แต่อย่างใด โดยเฉพาะการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาหรือจัดหาวัสดุรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้เนื่องจากความชัดเจนด้านระเบียบกฎหมายยังไม่ได้รับการปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรแก้ปัญหาเฉพาะเพื่ออนาคตการพัฒนาประเทศในระยะยาว ด้วยการกำหนดเป็นนโยบายให้ชัดเจนว่าจะผลักดันเมะโปรเจ็กต์ต่างๆ ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ ลดการสูญเสียเงินตราที่จะไปซื้อวัสดุจากต่างประเทศและขจัดความขัดแย้งของหน่วยงานรัฐที่ต่างคนต่างทำในปัจจุบันนี้

ad-hoon

“ขณะนี้มีประทานบัตรที่จะโดนปิดอีกต่อเนื่องหลายใบจึงอยากให้พิจารณาประทาน
บัตรเพิ่มดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐเร่งมีการปรับแก้ไขกฎหมายตลอดจนระเบียบต่างๆให้สอด
คล้องกับความต้องการใช้วัสดุในประเทศให้มากขึ้น นอกเหนือจากการเร่งต่ออายุใบประทานบัตรหรือการพิจารณาอนุมัติสัมปทานเพิ่มในพื้นที่ที่มีความจำเป็นและความต้องการใช้วัสดุ ประการสำคัญต้องกำหนดให้โครงการต่างๆ เกิดขึ้นและปฏิบัติได้จริงตามแผนไม่ใช่แผนงานบนแผ่นกระดาษอีกต่อไปเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและกระทบต่อเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนของอาเซียนอีกทางหนึ่งด้วย”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9