เจาะใจขุนพลแอลพีเอส ชูโมเดล RDSP สร้างจุดต่างเหนือคู่แข่ง

14 ม.ค. 2561 | 05:10 น.
ปีที่ผ่านมา บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจครั้งใหญ่ ถือเป็นปีแห่งการปรับ “Year of Shift” จากผลพวงผลักดันให้ธุรกิจบริการอย่าง “ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส” หรือ แอลพีเอส บริษัทร่วมทุนระหว่างแอล.พี.เอ็น. กับพันธมิตรที่เรียกกันว่า แอล.พี.เอ็น. ทีม และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์อันดี โดยแอล.พี.เอ็น.ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 51% ที่เหลือพันธมิตร 49% ตามลำดับ ปรับทิศทางจากที่เคยรับงานให้กับบริษัทแม่ แอล.พี.เอ็น.เป็นหลัก ก็ได้โอกาสขยายฐานธุรกิจรับงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ภายนอก เพื่อเป็นการนำศักยภาพและจุดแข็งด้าน Product Value ที่มีอยู่มาสร้างประโยชน์สูงสุด แก่บริษัท

++จุดขายแวลู แอลพีเอส
ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ กรรม การผู้จัดการ แอลพีเอส ให้สัมภาษณ์ถึงแผนรุกธุรกิจว่าธุรกิจของบริษัทคือรับบริหารจัดการโครงการ ลูกค้าคือผู้ที่สนใจจะลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยจัดซื้อที่ดินและทำการขายเอง ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น การออกแบบ การเลือกสเปกวัสดุ การก่อสร้าง ตลอดจนการยื่นรายงานอีไอเอ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าเรื่องหลังบ้าน จะใช้มืออาชีพมาดำเนินการ ซึ่งจุดนี้แอลพีเอส จะเข้าไปรับดำเนินการให้ทั้งหมด โดยเก็บค่าวิชาชีพหรือค่าฟีตามมูลค่าโครงการ สมมติโครงการมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบวกค่าออกแบบรวมกันแล้วเท่ากับ 100% จะคิดเพิ่มอีก 5% (ชาร์จ ออน ท็อป)

“ลูกค้าที่ติดต่อมา เพราะต้องการแวลูของแอลพีเอส ซึ่ง ก็คือแอล.พี.เอ็น. ทีม ที่ทำงานร่วมกันมานาน 25 ปี และการบริการในฐานะโปรเจ็กต์ แมเนจเมนต์ของแอลพีเอส จะแตกต่าง จากโปรเจ็กต์ แมเนเจอร์ทั่วไปที่จะมาแค่คนคนเดียว แต่บริษัทดึงพันธมิตรทั้งหมดเลย ไม่ว่า ผู้รับเหมา ผู้ค้าวัสดุ ผู้ออกแบบ เหมือนเรามีวงดนตรีครบทีมอยู่แล้ว เสนอให้กับเจ้าของงาน และเจ้าของเพียงรอดูตึกเสร็จอย่างเดียว”

[caption id="attachment_248798" align="aligncenter" width="343"] ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ กรรม การผู้จัดการ แอลพีเอส ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ กรรม การผู้จัดการ แอลพีเอส[/caption]

++สร้างรูปแบบธุรกิจ RDSP
สำหรับค่าฟีออน ท็อป 5% ที่เรียกเก็บจากลูกค้านั้น สำหรับโครงการที่แอลพีเอส รับบริหาร ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่างบลงทุนอยู่ในวงเงินที่ลูกค้าวางไว้ เช่นมูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ก็ตามนั้น ด้วยรูปแบบธุรกิจที่สร้างขึ้นเรียกว่า RDSP : Realestate Development Service Provider เป็นมากกว่าโปรเจ็กต์ แมเนเจอร์ การทำงานเราจะคิดเหมือนเป็นดีเวลอปเปอร์ นอก จากคุมค่าใช้จ่ายแล้ว จะส่งมอบโครงการให้ดีเวลอปเปอร์ ส่วน ดีเวลอปเปอร์จะส่งมอบให้ใครก็เป็นเรื่องของดีเวลอปเปอร์ ซึ่งจุดนี้ทำให้แอลพีเอส ต่างจากผู้รับเหมา ที่จะเน้นส่งมอบโครง การให้ดีเวลอปเปอร์เท่านั้น

“การรับบริหารโครงการ เป็นสิ่งที่หลายๆคนในประเทศนี้คิดออกว่าธุรกิจนี้ไปได้ แต่ไม่มีคนที่สามารถรวบรวมทีมขึ้นมาแล้วทำได้จริง นอกจากแอลพีเอส แต่ไม่ใช่ว่าเราจะทำได้ทุกลักษณะโครงการ จะทำเฉพาะโครงการที่แอล.พี.เอ็น.ถนัดซึ่งก็คือคอนโดมิเนียม ระดับกลาง-ล่าง”

++ลูกค้ารายแรก
ลูกค้ารายแรกของเราคือบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ให้บริหารโครง การ ไอ คอนโด โดยลูกค้าอยากให้สร้างคอนโดมิเนียมตามแบบโครงการลุมพินี บางแวก ซึ่งแอลพีเอสก็ปรับรูปแบบให้มีกลิ่นอายของความเป็นพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ถือว่าเกิดขึ้นจริงแล้ว หลังจากโครงการนี้ทางลูกค้าก็เตรียมจะมอบโครงการใหม่ให้ดำเนินการอีก

“จุดสำคัญดีเวลอปเปอร์ที่เราไปทำงานด้วยก็ต้องเข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของแอล.พี. เอ็น. ถ้าไม่ยินดีที่จะเปิดเผยกระบวนการทำงาน หรือเปิดเผยแนวทางการทำงาน เราก็คงทำงานลำบาก แต่พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีความพร้อม ถ้าราคาของเราไม่สามารถแข่งขันได้จริง ทั้งค่าออกแบบและค่าก่อสร้าง กับค่าฟี ออนท็อป 5% คิดว่าพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ก็คงไม่เลือกให้เราทำโครงการต่อไป ซึ่งล่าสุดได้ติดต่อให้เราทำโครงการต่อไป”

++ตั้งเป้าปีละ 1 พันล.
จากจุดนี้เป็นเครื่องชี้วัดว่าบริษัทสามารถอยู่ในตลาดนี้ได้ แต่จะยังไม่รีบร้อนรับงานนอก เพราะว่างานภายในของแอล.พี.เอ็น.ที่เป็นบริษัทแม่ ก็ค่อน ข้างล้นมือ โดยในปี 2560 แอล.พี.เอ็น.ขยายไปในหลายเซ็กเมนต์ ดังนั้น คิดว่าจะทำปีละ 1-2 โครง การ หรือมูลค่าโครงการประมาณ 1,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-2561 จะมีงานที่ไม่ใช่ของแอล.พี.เอ็น. 2 โครงการ แต่หลังจากนั้นในปี 2562 อาจจะรุกเต็มที่

“การรับงานนอกต้องปรับ เปลี่ยนองค์กรค่อนข้างมาก มีฝ่ายปฏิบัติการเพิ่มขึ้น ค่อนข้างมาก แต่เราก็มั่นใจว่าอนาคตต้องมาในแนวทางนี้ และ 5 ปีวางเป้าจะกลายเป็นบริษัท RDSP ซึ่งรับงานทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะแอล.พี.เอ็น. เพราะแอล.พี.เอ็น.มีศักยภาพจ่ายงานให้เราได้แค่นี้”

นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะขยายสู่อสังหาฯรูปแบบอื่น นอกเหนือจากแนวสูง โดยอาจจะเป็นบ้าน และตึกสูง 8 ชั้น หรือโลว์ไรส์ กลุ่มนี้งานจะมีมาก จากคนที่มีที่ดิน และอยากสร้างอพาร์ตเมนต์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9