Zero Waste เพิ่มมูลค่าขยะชุดชั้นใน

13 ม.ค. 2561 | 13:07 น.
ปัญหาขยะ คือปัญหาใหญ่ระดับประเทศ หากจะแก้ไขอย่างจริงจัง ก็ต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ดูจากข้าวของเครื่องใช้ ที่พยายามกำจัดสิ่งที่สามารถก่อให้เกิดเป็นขยะให้เหลือน้อยที่สุด อย่างคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย กับขยะชุดชั้นในใช้แล้ว เดี๋ยวนี้มีหลายหน่วยงานที่ออกมาทำกิจกรรม สร้างสรรค์ไอเดียเพื่อลดขยะจากชุดชั้นใน แล้วนำมาสร้างให้เกิดประโยชน์

[caption id="attachment_248743" align="aligncenter" width="503"] ชิ้นงานหัตถกรรม ชิ้นงานหัตถกรรม[/caption]

ล่าสุด บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ “วาโก้บราเดย์ บรามีค่า…สร้างอาชีพ รักสิ่งแวดล้อม” ปีที่ 6 ซึ่งร่วมมือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม. ที่ได้มีการจัดกิจกรรม “รฟม. รักษ์สิ่งแวดล้อม ยกทรงยกใจ” นำบราเก่าที่เสื่อมสภาพที่ได้รับบริจาค มาส่งต่อให้กับโครงการวาโก้บราเดย์ฯ

[caption id="attachment_248748" align="aligncenter" width="503"] วรรณีและอินทิรา วรรณีและอินทิรา[/caption]

“สิริธิดา ธรรมกุล” ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม. บอกว่า รฟม.ได้วางกล่องรับบริจาค ตามอาคารสำนักงานและลานจอดรถทั้งหมด 6 จุด เพื่อเปิดรับบริจาคเสื้อชั้นในที่ไม่ใช้งานจากผู้บริหาร พนักงาน และประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลและสายฉลองรัชธรรม บราเก่าที่มีคนนำมาบริจาคคิดเป็นนํ้าหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งรฟม.มีแผนที่จะร่วมมือกับวาโก้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย เพื่อนำบราเก่ามาจัดการอย่างถูกวิธี ลดปัญหาขยะ

[caption id="attachment_248751" align="aligncenter" width="335"] หนึ่งในหัวเรือใหญ่ หนึ่งในหัวเรือใหญ่[/caption]

บราเก่าที่ได้รับบริจาค ส่วนหนึ่งถูกจัดไปสร้างสรรค์เติมไอเดีย ออกมาเป็นสิ่งของประดิษฐ์ สร้างมูลค่า เพื่อหารายได้ให้กับกลุ่มสตรีในบ้านพักฉุกเฉิน ที่ประสบปัญหาวิกฤติชีวิตครอบครัวทั้งร่างกาย และจิตใจ และอีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญ คือการกำจัดขยะ ภายใต้แนวคิด Zero Waste (ขยะ เท่ากับ ศูนย์) เพื่อช่วยลดขยะภายในชุมชน

MP26-3330-3B “อินทิรา นาคสกุล” ผู้จัดการส่วนการตลาดผลิตภัณฑ์วาโก้ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิด Zero Waste (ขยะ เท่ากับ ศูนย์) เป็นการนำบราที่เสื่อมสภาพมาทำการแยกชิ้นส่วน โดยส่วนที่เป็นโลหะ จะนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ได้อีก ส่วนวัสดุเหลือใช้ เช่น เส้นใย ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง โดยการนำไปเผาด้วยระบบปิดในเตาปูนซีเมนต์ ทำให้เกิดเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งถือเป็นวิธีการลดปริมาณขยะ เพราะหากปล่อยให้ย่อยสลายเอง จะต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 100 ปี

MP26-3330-4B ทุกขยะ มีวิธีการบริหารจัดการ หากเพียงเรามีจิตสำนึกในการร่วมกันลดภาระการสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา และยังมีหลายๆ หน่วยงาน ที่ช่วยส่งเสริม

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9