แบงก์ไม่ได้แข่งเฉพาะค่ายมือถือ

11 ม.ค. 2561 | 03:48 น.
นายธีรวัฒน์ ติลกสกุลชัย ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด กลุ่มซีพี กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตลาดบริการด้านการเงินดิจิตอล ในปี 2561 จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยคู่แข่งที่น่ากลัวของธนาคารจะไม่ได้มีแค่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือหรือโอเปอเรเตอร์ โดย ตลาดขณะนี้แบ่งผู้เล่นออกเป็น 3 กลุ่ม 1. ธนาคาร 2. ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ และ 3. ผู้เล่นใหม่ที่ไม่ใช่ ธนาคารหรือผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์

ซึ่งแต่ละผู้เล่นมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบที่แตกต่างกันไป โดยธนาคารมีจุดได้เปรียบคือมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่พอสมควร มีข้อมูลลูกค้าที่ครบถ้วน และที่สำคัญลูกค้ามีเงินที่อยู่กับบัญชีธนาคารอยู่และคุ้นเคยในการใช้บริการชำระเงินต่างๆ ของธนาคาร

บาร์ไลน์ฐาน ส่วนผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ มีการเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศโดยผ่านโครงข่ายมือถือที่ครอบคลุมและมีอัตราการเข้าถึงในประเทศ ไทยสูงถึง 140% รวมถึงมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีโมบาย

ขณะที่ผู้เล่นใหม่ที่ไม่ใช่ ธนาคารหรือผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ มักจะเป็นกลุ่มฟินเทค สตาร์ตอัพ จะมีความคล่องตัวสูงในการทำงาน และมีให้เห็นทั่วโลกแล้วว่าผู้เล่นรายใหม่เหล่านี้มักจะมีความคิดที่ใหม่ที่สามารถ disrupt ตลาดอยู่เสมอ

โอเปอร์เรเตอร์สามารถทำงานร่วมมือกับสถาบันการเงินโดยจะ win-win ทั้งคู่ อาทิ เอไอเอสและ ซีไอเอ็มบี เปิดบริการ Beat Banking เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างการร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินและนอนแบงก์

อนึ่งปัจจุบันทรูมันนี่มีฐานผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนในระบบ 8 ล้านราย และมีการใช้งานประจำ 4 ล้านรายโดยยอดทำธุรกรรมผ่านระบบทรูมันนี่ 6 ประเทศ นั้นมีผู้ใช้ 30 ล้านราย มีเงินหมุนเวียนปีละ 1.6 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 15% โดยบริการที่มีการใช้งานมากสุด TrueMoney Wallet คือบริการ Mobile Top-Up/เติมเงินมือถือ โดยมียอดการใช้งานเกิน 30 ล้านธุรกรรมในปี 2560

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9