ผู้อำนวยการ TEI ป้ายแดง มุ่งสานต่อภารกิจสิ่งแวดล้อม

08 ม.ค. 2561 | 23:00 น.
ภาพรวมทางเศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หลักด้านการลงทุน ท่องเที่ยว ส่งออก โดยเฉพาะการลงทุนที่รัฐบาลโหมโรงอย่างหนักหน่วงตลอดปีที่ผ่านมา เช่น ออกมาตรการปลุกการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก(West Economic Corridor: WEC)

ขณะที่อีกด้าน เมื่อพื้นที่การลงทุนเติบโตขึ้นองค์กรที่มีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อม มีมุมมองอย่างไร และช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้างดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” หลังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการTEIเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560

[caption id="attachment_248087" align="aligncenter" width="335"] ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI[/caption]

++กรอบการทำงานปี2561
ดร.อำไพ เริ่มบทสนทนาถึง 2 ภารกิจหลักที่ TEI จะโฟกัสในปี 2561 ว่า ส่วนแรกคือ การทำงานที่ได้รับความไว้วางใจจากแหล่งทุนและผู้สนับสนุน TEI อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งหมายถึงโครงการและกิจกรรมที่สถาบันทำอยู่ในขณะนี้เช่นงานวิจัยเชิงนโยบายและโครงการภาคสนาม ที่ทำไว้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่องของพลังงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพการจัดการมลพิษและของเสียอุตสาหกรรม
ยังมีเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ที่ TEI ทำเรื่องเทศบาล เรื่องพื้นที่สีเขียวมีเยอะมาก เหล่านี้เป็นงานที่จะต้องสานต่อ เพราะเป็นรายได้ที่เข้ามา

“ถามว่า TEI นำเงินมาจากไหนเพื่อเลี้ยงตัวเอง ตรงนี้ขึ้นอยู่ที่ว่ามีคนสนใจที่จะให้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ บางบริษัทก็ให้ TEI ศึกษางานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องๆไปดูว่าทั้งทางTEI บริษัทเอกชนและองค์กรรัฐสนใจเรื่องอะไร รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศว่า สนใจในประเด็นไหน เมื่อตรงกันก็มาทำโครงการร่วมกัน เช่น งานด้านฉลากเขียว ซึ่งหมายถึงสินค้านั้นมีการรักษาเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะฉลากเขียวจะต้องมีตัวชี้วัดมีการรับรองมาตรฐานซึ่งเราเป็นผู้ตรวจประเมิน ซึ่งก็มีข้อจำกัดในบางผลิตภัณฑ์”

[caption id="attachment_248453" align="aligncenter" width="503"] ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI[/caption]

ส่วนที่2คือเรื่องการบุกเบิกหรือขยายภารกิจในหลายๆด้าน ทั้งที่เป็นนโยบายของประเทศและเป็นแนวปฏิบัติของสากลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจสังคมภาคธุรกิจควรจะปรับตัวอย่างไรถึงจะผลิตสินค้าที่เรียกว่าสอดคล้องกับสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตามดร.อำไพ มองว่าเรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) นั้นน่าสนใจเพราะเวลาที่สภาพัฒน์ ทำแผนชาติขึ้นมา จะเน้นเรื่องเศรษฐกิจสังคม ด้านเศรษฐกิจจะมีเครื่องมือตรวจ เช่นเศรษฐศาสตร์จุลภาพ เศรษฐศาสตร์มหภาค ในการดูแลส่วนนี้ในภาคสังคมเขาก็มีตัวชี้วัด แต่ทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีเครื่องมือเลยมีเพียงแค่ข้อมูลดิบพื้นฐานแต่ความจริงมีเครื่องมือที่เรียกว่าการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่จะช่วยนักวางแผนรู้ได้ว่าในพื้นที่ที่เรากำลังจะพัฒนามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหนในเชิงระบบนิเวศ ทรัพยากรที่เราจะนำมาใช้เพื่อเป็นต้นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่มีอยู่นั้นมากน้อยแค่ไหน

รวมถึงเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGsเรื่องนี้จะมีกลไกที่ค่อน ข้างชัดเจนมีคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีคณะอนุกรรมการ 3ชุดแต่เสียงสะท้อนตลอดระยะเวลา 2ปีที่ทำมาบอกว่ายังไม่มีส่วนร่วมเท่าไหร่ยังไม่มีการขับเคลื่อนจากภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ

บาร์ไลน์ฐาน ++ต้องระดมทุนช่วยเหลือ
สำหรับเรื่องการระดมทุนก็เป็นอีกส่วนที่น่าสนใจ เพราะต้องใช้เงินและเวลาที่เราพูดถึงการระดมทุน ส่วนใหญ่เป็นเงินให้เปล่าแต่ภายใต้กองทุนภูมิอากาศสีเขียวรวมถึงข้อตกลงการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น จะต้องคิดถึงนวัตกรรมทางการเงินอื่นๆที่สามารถจะช่วยระดมทุนให้มากขึ้น รวมถึงเรื่องการขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐส่วนกลาง ทำเป็นส่วนใหญ่กระทรวงต่างๆก็มาประชุมกันแต่ว่าในระดับจังหวัดซึ่งเป็นระดับภูมิภาคยังไม่มีการรับรู้เกี่ยวกับตรงนี้มากนักภาครัฐโดยสภาพัฒน์จึงมีนโยบายถ่ายทอดลงสู่ท้องถิ่นสู่จังหวัด”

++ ข้อกังวลการพัฒนาอีอีซี

ดร.อำไพ ยังกล่าวถึงความกังวลต่อพื้นที่อีอีซีว่าถ้ายึดตามข้อมูลในอดีตการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก มันมีปัญหาอะไรบ้าง ตรงนี้คือบทเรียนที่เราต้องสังเคราะห์ออกมาว่ามันมีปัญหาอะไรบ้างทั้งในแง่สังคม สิ่งแวดล้อมเราต้องจัดการกับปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อนแล้วค่อยคิดแผนการพัฒนาพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นเพราะเวลานี้ความหนาแน่นของพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเติบโตมากขึ้นพออุตสาหกรรมขยายตัวก็ต้องกระทบต่อชุมชนก็ต้องจัดโซนนิ่งเขตควบคุมมลพิษที่ชัดเจนมีการรองรับมลพิษในพื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหนเหล่านี้ต้องชัดเจนก่อน และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์หรือ SEA สามารถทำไปพร้อมกับการ วางแผนได้เลย ตัวนี้ก็น่าจะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งได้ในช่วงการวางแผนที่จะช่วยดูเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ เป็นการมองออกไปในอนาคต

[caption id="attachment_248452" align="aligncenter" width="503"] ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยหรือTEI[/caption]

นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องเรียนคือเรื่องนํ้าหลังได้รับบทเรียนมาแล้วกรณีวิกฤตินํ้าภาคตะวันออกฉะนั้นถ้าพื้นที่ภาคตะวันออกขยายการลงทุนอีกต้องศึกษาเตรียมพร้อมให้ดีว่า จะนำนํ้าจากไหนมาใช้ ซึ่งภาครัฐจะต้องตอบให้ได้ว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยวิธีใดถ้าไปเอานํ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วมันยั่งยืนหรือไม่ ถ้าวันข้างหน้าสปป.ลาว มีความเจริญก็ต้องใช้นํ้า ฉะนั้นเวลาคิดเรื่องเหล่านี้ต้องคิดไปข้างหน้าคิดให้ยั่งยืน

อีกทั้งโครงการอีอีซีอยู่ริมชายฝั่งทะเลก็ต้องดูด้วยว่ากระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลหรือไม่หรือกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลทั้งเรื่องขยะทั่วไปขยะพลาสติก ขยะเป็นพิษเหล่านี้จะจัดการอย่างไรไม่ใช่แอบปล่อยลงทะเลเพราะถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาก็ไปกระทบต่ออาชีพประมงด้วย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสถาบัน TEI เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยในพื้นที่อุตสาหกรรมอยู่แล้วเช่น เรื่องการป้องกันมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งบางโครงการก็ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเช่น กลุ่มบางจาก ที่รณรงค์เรื่องกรีน ก่อนหน้านั้นก็ทำเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลน โครงการต่างๆที่เราสนับสนุนพื้นที่ป่าชายเลน เหล่านี้จะผ่านโครงการในระดับชุมชนที่จะเน้นทั้งการวิจัยนโยบาย

สุดท้ายผู้อำนวยการ TEI ป้ายแดงเผยว่า “การมานั่งที่ TEIจะใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่มีทำงานให้ดีที่สุดไม่มีความกังวลอะไรพี่โชคดีเพราะงานด้านสิ่งแวดล้อมพี่ทำมาตลอดชีวิตมีประสบการณ์จากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สำนักเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา และผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทีดีอาร์ไองานสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ท้าทายซึ่งในคำว่าท้าทายนั้นมันมีความสนุกอยู่ในตัว รวมทั้งมีทีมงานที่ดีมีประสบการณ์ คอยช่วยเหลืออยู่”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9