ปู่กับหลานปู่ในธุรกิจครอบครัว

08 ม.ค. 2561 | 23:05 น.
MP35-3329-1B ปัจจุบันธุรกิจครอบครัวกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างซึ่งไม่เฉพาะในเรื่องการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของและความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ก็พยายามดิ้นรนให้สามารถอยู่ได้นานกว่าหนึ่งชั่วคน ทั้งนี้ทั่วโลกมีธุรกิจครอบครัวเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่สามารถถ่ายโอนกิจการจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อไปได้สำเร็จ โดยธุรกิจครอบครัวจะเกิดความอ่อนแอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำซึ่งมักมีข้อขัดแย้งระหว่างความปรารถนาที่จะรักษาและเคารพประเพณีดั้งเดิมไว้กับความจำเป็นในการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

จากการที่ Deloitte ได้ทำการสำรวจกลุ่มคนรุ่น Millennials จำนวน 8,000 ราย จาก 30 ประเทศทั่วโลก ในเดือนกันยายน 2016 ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Millennials หรือ Millennial Generation นั้น เป็นคำกว้างๆ ใช้เรียกคนที่เกิดและเติบโตในช่วงเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษ ตั้งแต่ช่วงต้นยุค 1980s จนถึงต้น 2000s คนรุ่นนี้ยังมีชื่อเรียกที่คุ้นเคยกันมาก่อนว่าคนรุ่น Generation Y นั่นเอง ทั้งนี้คนแต่ละรุ่นมีลักษณะเฉพาะของตนเองและมองโลกจากมุมมองที่แตกต่างกัน

ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า แต่ละรุ่นได้เติบโตขึ้นพร้อมกับอิทธิพลภายนอกที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลให้มีทัศนคติ ความคิดเห็นและความเชื่อที่แตกต่างกันในทุกแง่มุมของชีวิตอีกด้วย ผลการสำรวจพบว่าช่องว่างระหว่างวัยของคนรุ่น Baby boomers กับ Millennials นั้นดูเหมือนจะมีอยู่ค่อนข้างมาก เป็นช่องว่างของ “ปู่กับหลานปู่” ซึ่งส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระหว่างคน 2 กลุ่ม คือคนรุ่นใหม่เติบโตและอยู่กับเทคโนโลยีจนกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน ขณะที่การสื่อสารทางธุรกิจสมัยใหม่ใช้อี-เมล์ได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าหรือตอนกลางคืนส่งไปยังทุกส่วนของโลกได้ ตรงกันข้ามกับการส่งจดหมายหรือแม้แต่การใช้โทรศัพท์ในแบบเก่าของคนรุ่นก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างระหว่างรุ่นในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

บาร์ไลน์ฐาน นวัตกรรมและเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และระบบอัตโนมัติเพราะพวกเขาเห็นประโยชน์อย่างชัดเจนว่าจะสามารถสร้างผลิตภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ พวกเขากระตือรือร้นที่จะติดตามความก้าวหน้าทางอาชีพของตนได้อย่างรวดเร็วและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้รับซึ่งทำให้พวกเขาให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเพิ่มมูลค่ามากขึ้น พวกเขาใช้เทคโนโลยีเพื่อให้สามารถดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของเพื่อนร่วมงาน ลูกค้าและสมาชิกในครอบครัว จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่า 76% ของคนรุ่น Millennials ที่ถูกสำรวจกล่าวว่านี่เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดใน 3 อันดับแรกของพวกเขา ในขณะที่ก็ยอมรับว่า 40% ของรุ่นก่อนๆ ไม่เต็มใจที่จะรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้

กระหายความเสี่ยง เป็นที่รู้กันว่าคนแต่ละรุ่นสามารถรับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน ในความเป็นจริงแล้ว 51% ของคนรุ่น Millennialsที่ถูกสำรวจมีความ ตั้งใจจะเสี่ยงมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ เนื่องจากพวกเขามองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการเสี่ยงและความคุ้มค่าทางธุรกิจ โดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขาอายุน้อยกว่า มีการใช้ชีวิตที่บ้านเป็นเวลานานกว่าและรู้ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวหากจำ เป็น ในขณะที่เกือบจะตรงกันข้ามในคนรุ่น Gen X’er บ่อยครั้งที่พวกเขามีความกังวลในการรักษา ทุนมากกว่าการเพิ่มความเสี่ยงใดๆ คนรุ่นนี้กำลังสร้างครอบครัวและหากมีรายได้และทุนเพียงพอจึงจะพิจารณาหาทางที่จะทำให้มีเพิ่มมากขึ้น

สนับสนุนชีวิตการทำงานที่ยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นในการทำงานมีการเชื่อมโยงอย่างมากกับประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นและการรักษาพนักงานเอาไว้ได้ คนรุ่นใหม่ความท้าทายแนวคิดความต้องการ “พื้นที่การทำงานแบบดั้งเดิม” เมื่อพวกเขาต้องการได้รับความไว้วางใจให้ทำงาน ซึ่งหากทำได้สำเร็จก็จะตอบแทนองค์กรด้วยความจงรักภักดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่น Millennials ต้องการที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพและความสุขของคนทำงาน ซึ่งพวกเขาตระหนักว่าความยืดหยุ่นเป็นกุญแจสำคัญนั่นเอง และเห็นได้จาก 64% ของพนักงานเลือกรูปแบบการทำงานในสถานที่หลากหลายแตกต่างกัน

โลกาภิวัตน์ คนรุ่นใหม่มีเครือข่ายทั่วโลก พวกเขาใช้ชีวิตและทำงานกับคนทั่วโลกและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถติดต่อกับครอบครัวได้ด้วยดังนั้นในธุรกิจครอบครัวซึ่งประกอบด้วยคนหลายรุ่นอยู่ร่วมกัน จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจช่องว่างระหว่างวัยซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาในการทำงานตลอดจนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวัยให้เข้าถึงกัน เพราะแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ลูกกันก็ไม่สามารถเข้าใจกันได้ทุกเรื่อง ดังนั้นการศึกษาทำความเข้าใจและหาแนวทางในการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างวัยจึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9