Joy Shopping Place ประตูการค้า เชื่อมความสุขสู่ชุมชนแห่งแดนอีสานใต้

07 ม.ค. 2561 | 08:15 น.
ดวงอาทิตย์สีส้มแดงราวกับ ไข่เป็ดลูกโตแห่งเมืองไชยา กำลังทอดตัวหย่อนแตะขอบผิวนํ้า ปีกกว้างสีขาวอันแข็งแกร่งของฝูงนกตัดกับลำแสงขับเป็นเงาสีดำที่อ่อนช้อย รับกับลมเย็นๆ พร้อมกับกลิ่นฟางหญ้าที่ไหม้ควันอ่อนๆ ในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บนํ้าสนามบิน หนองนํ้าอันกว้างใหญ่แหล่งพักพิงสำคัญของบรรดานกอพยพจากดินแดนทางตอนเหนือ สู่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อดีตพื้นที่ยุทธศาสตร์สำหรับจอดเครื่องบินเพื่อรับ-ส่ง เสบียงและยุทโธปกรณ์ของทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

[caption id="attachment_247761" align="aligncenter" width="503"] กิจกรรมชงชาสูตรพิเศษตามราศี สำหรับผู้มาเยือน Joy Shopping Place กิจกรรมชงชาสูตรพิเศษตามราศี สำหรับผู้มาเยือน Joy Shopping Place[/caption]

การเดินทางมาจังหวัดบุรีรัมย์ ดินแดนอีสานใต้ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ความละมุนในวิถีชีวิตท้องถิ่น และที่สำคัญคือแนวคิดของคนในพื้นที่ซึ่งผนึกประสานสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในทุกอณูของจังหวัดที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรม ทำให้ทุกครั้งที่ได้มาเยือนเรามักจะพบกับ “ความใหม่” และ “ความสร้างสรรค์” เกิดขึ้นในจังหวัดแห่งนี้เสมอ และด้วยจิตวิญญาณนักสู้และนักพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่งของ “คุณเอ๋ - พรทิพย์ อัษฎาธร” ถอดรองเท้าส้นสูงมุ่งหน้าออกจากเมืองกรุงมาพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าและท้องนาเดิมของชาวบ้าน เนรมิตพื้นที่มากกว่า 400 ไร่ เป็นพื้นที่ทดลองปลูกพืชเมืองหนาวและสร้าง “อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน” แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่ก้าวสู่การเป็นแลนด์มาร์กที่มีชื่อเสียงของจังหวัดบุรีรัมย์ จนประสบความสำเร็จและเป็นที่กล่าวถึงตลอดปีที่ผ่านมา

[caption id="attachment_247758" align="aligncenter" width="300"] พรทิพย์ อัษฎาธร พรทิพย์ อัษฎาธร[/caption]

ความเชื่อที่ว่าความสำเร็จที่ยั่งยืนเกิดจากการสร้างความแข็งแกร่งให้กับทุกๆ ส่วน ต้นทางจากความคิดสู่วิธีการปฏิบัติ “Joy Shopping Place” ศูนย์กลางของขวัญ ของฝากแห่งแดนอีสานใต้ เริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ เพียงแค่ว่า หากจะซื้อของฝากจากจังหวัดบุรีรัมย์จะไปหาซื้อได้ที่ไหน? จนนำมาซึ่งการจัดตั้งทีมเข้าไปศึกษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พัฒนามาตรฐานและการออกแบบร่วมกันโดยมี “Joy” เป็นสื่อกลางตั้งแต่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ รวมถึงเป็นพื้นที่เปิดสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านฝีมือชุมชน ยกระดับคุณภาพความสุขของทั้งผู้ให้และผู้รับแบบครบวงจร
บรรยากาศของ Joy Shopping Place ที่จำลองเอาสวนดอกไม้แบบกลาสเฮาส์ขนาดใหญ่ จะมีที่ไหนที่คุณจะได้จิบชาสูตรพิเศษตามราศีที่มีให้เลือกกว่า 20 สูตร ได้ลิ้มรสกาแฟอินทรีย์จากยอดดอย ท่ามกลางดอกทิวลิปของจริงที่พากันชูช่ออวดสีสันนวลตาที่จัดแต่งอย่างลงตัวในทุกๆ จุดของ Joy ซึ่งได้รับการรังสรรค์โดยนักออกแบบการจัดดอกไม้ชื่อ MP28-3329-3A ดังอย่าง “ครูกอล์ฟ-พิทักษ์ หังสาจะระ” ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและผลิตภัณฑ์ชุมชน Made in Buriram ได้รับการจัดวางอย่างทรงคุณค่าเสมือนกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมที่ให้แสดงถึงที่มาและกระบวนการทำผ้าชนิดต่างๆ ตั้งแต่ “ผ้าภูอัคนี” ซึ่งริเริ่มโดยคนในชุมชนหมู่บ้านเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ ที่เรียนรู้การทอผ้าจากดินลูกรังสู่การพิจารณาวัตถุดิบในพื้นที่ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของภูเขาไฟพระอังคารที่ดับมอดลงแล้ว แต่มีดินจากภูเขาลูกหนึ่งสีออกส้มแดง จึงนำมาซึ่งการทดลองย้อมสีผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมเกิดเป็นฝ้ายสีส้ม-นํ้าตาลแปลกตา ถักทอออกมาเป็นหนึ่งในสินค้า OTOP ของจังหวัดบุรีรัมย์ ไม่เพียงเท่านั้นคนในชุมชนยังต่อยอดนำความรู้เรื่องการทอผ้ามาใช้กับการย้อมผ้าจากดอกดาวเรืองให้สีเหลืองสวย สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่เพียงสวยงามแต่ยังเต็มไปด้วยความหมายและความทรงจำ ของช่วงเวลาที่ผ่านมาของคนไทยทั้งประเทศ หรือจะเป็นผ้าไหมเนื้อละเอียดที่ทอลายดั้งเดิมของชาวพื้นถิ่นอีสาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากบ้านคู้บอน อ.คูเมือง ที่รังสรรค์ลวดลายมากกว่า 20 รูปแบบ รวมถึงการสั่งทำแบบคัสตอม เมด

MP28-3329-2A เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ผ้าของชุมชนสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มุ่งตัดเย็บเครื่องแต่งกายจากผ้าไทยที่มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น คุณเอ๋ได้ดึงดีไซเนอร์คู่ใจ “คุณตั้ว ธัญญา ไรวิรัตน์” ร่วมออกแบบชุดในคอลเลกชันพิเศษเปิดตัวแบรนด์ จอย กูตูร์ นำเสนอผ้าไทยในชีวิตประจำวันที่ขับตัวตนของผู้สวมใส่ให้งามสง่าเฉิดฉายในทุกอิริยาบถ รวมถึงการนำผ้าทอจากชาวบ้านมาออกแบบเป็นเสื้อที่มีการตัดเย็บอย่างดีเยี่ยมนำเสนอคุณภาพในราคาที่จับต้องได้

MP28-3329-5A วันนี้ Joy ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า “ความคิดสร้างสรรค์” และ “ความร่วมมือ” ทำให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตั้งแต่ ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม นํ้าพริก จนถึงผ้าไหมมัดหมี่ราคาแพงสามารถไปได้ไกลกว่าการจำกัดคุณค่าไว้ที่การค้าขายเฉพาะในชุมชน แต่ยังก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เชื่อมพรมแดนและเป็นต้นแบบการพัฒนาสินค้าให้กับจังหวัดอื่นๆ ต่อไป ลองแวะไปที่ Joy Shopping Place แหล่งช็อปปิ้งใหม่ สไตล์ไทยเทรนด์ ได้ที่ เพ ลา เพลิน จ.บุรีรัมย์ ดูสักครั้ง บางทีแนวคิดธุรกิจใหม่อาจเกิดขึ้นได้ที่นี่

MP28-3329-6A จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9