‘อี-คอมเมิร์ซ’ร้อนฉ่า โซเชียลสู้มาร์เก็ตเพลส

06 ม.ค. 2561 | 12:00 น.
สมรภูมิรบอี-คอมเมิร์ซไทยปี 61 ร้อนแรงกูรูฟันธงเกมยักษ์ชนยักษ์ “อาลีบาบา-เจดีดอตคอม-โซเชียล คอมเมิร์ซ”ลาซาด้า มุ่งหนุนพ่อค้าเปิดร้านออนไลน์ สร้างอีโคซิสเต็ม เร่งพัฒนาช็อปผ่านสมาร์ทโฟน เจดีดอตคอม เร่งประสานเซ็นทรัล พัฒนาออมนิแชนเนล ดันไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค

ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยปี 2561 ทวีความร้อนแรงขึ้นมาทันที โดยการแข่งขันไม่ได้มีผู้ให้บริการอี-มาร์เก็ตเพลสยักษ์ใหญ่ของจีน อย่างอาลีบาบา และเจดีดอตคอมที่เข้ามาปักหลักช่วงชิงตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยเท่านั้น แต่ยังมีบริการมาร์เก็ตเพลส ของทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือ โซเชียลคอมเมิร์ซ ที่มาแรงในปี 2561เนื่องจากฐานผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทยมีจำนวนมาก

[caption id="attachment_210016" align="aligncenter" width="503"] ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย[/caption]

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัทตลาดดอทคอม จำกัด ผู้ให้บริการอี-มาร์เก็ตเพลสรายแรกของไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยปี 2561 จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแข่งขันของผู้ให้บริการอี-มาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ของจีน 2 ราย คือ อาลี บาบาผ่านทางลาซาด้า และเจดี ดอตคอม ที่เข้ามาจับมือกับกลุ่มเซ็นทรัล ทำให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยเป็นการแข่งขันของต่างชาติเต็มตัว ส่วนผู้ประกอบการไทยนั้นไม่สามารถแข่งขันได้

นอกจากนี้ปี 2561โซเชียล คอมเมิร์ซ ทั้งการขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก กรุ๊ปและอินสตาแกรม จะทวีความร้อนแรงและเป็นตัวผลักดันอี-คอมเมิร์ซให้เติบโตขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในไทยมีจำนวนมาก

เช่นเดียวกับบริการโอนเงินและชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งพร้อมเพย์ และคิวอาร์โค้ด ที่เป็นตัวผลักดันอี-คอมเมิร์ซของไทย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานการ ขนส่งของไทยที่มีความพร้อมมากขึ้น โดยมีทางเลือกทั้งเคอรี่ นินจาแวน ที่มีความเร็วการส่งสินค้า และราคาถูกกว่าไปรษณีย์ไทย

นายภาวุธ กล่าวต่อไปอีกว่าสำหรับตลาดดอทคอมคงไม่ไปสู้กับอาลีบาบา และ เจดีดอตคอม แต่ปรับโพสิชันให้เหมาะกับตลาดเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีพันธมิตร เข้ามาร่วมทุน ซึ่งจะประกาศชัด เจนได้ราวเดือนมกราคม 2561

ด้านนายอเล็กแซนดรอ บิสชินี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ กลุ่มอาลีบาบา กล่าวว่าในปี 2561 ลาซาด้ายังคงมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ค้าชาวไทยในการเปิดร้านค้าบนโลกออน ไลน์ และมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค ไปพร้อมๆ กับพัฒนา อีโคซิสเต็มของอี-คอมเมิร์ซ

โดยในปี 2561 ตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยยังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ด้วยแรงสนับสนุนและมีการรับรู้ของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น และการสั่งซื้อจากสมาร์ท โฟนจะกลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ โดยลาซาด้าพบว่ามีนักช็อป ชาวไทย สั่งซื้อจากสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น โดยกว่า 70% ของผู้ที่สั่งซื้อจากสมาร์ทโฟนทั้งหมดมาจากกลุ่มมิลเลนเนียล ด้วยเหตุนี้ ลาซาด้าจะมุ่งพัฒนาการใช้งาน บนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น สร้างประสบการณ์ช็อปบนสมาร์ทโฟนให้สะดวก

นอกจากนี้ลาซาด้ายังมองเอสเอ็มอีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญบนอี-คอมเมิร์ซมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาระบบให้กับผู้ค้าจะเข้ามามีส่วนสำคัญ ซึ่งในปี 2561 ลาซาด้าจะพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

[caption id="attachment_220525" align="aligncenter" width="503"] อเล็กแซนดรอ บิสชินี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย อเล็กแซนดรอ บิสชินี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย[/caption]

นายอเล็กแซนดรอ บิสชินี กล่าวต่อไปอีกว่าลาซาด้ายังคงมีแคมเปญพิเศษให้ผู้บริโภคได้ประหยัดมากขึ้น รวมไปถึงแอพ พลิเคชันรูปแบบใหม่ที่จะทำให้การค้นหาและการแสดงสินค้าเหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากขึ้น เพื่อให้เส้นทางการช็อปไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างง่ายและไร้ปัญหา โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ลาซาด้า ยังได้เปิดตัว เถาเป่า คอลเลกชัน เพื่อเป็นตัวกลางในการเข้าถึงเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้กับนักช็อปออนไลน์ชาวไทย

นอกจากนี้ ลาซาด้าจะมีซูเปอร์มาร์ท (Supermart) ซึ่งเป็นหมวดหมู่ใหม่เพื่อให้ทุกคนสามารถช็อปของใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่าย โดยไม่ต้องต่อแถวหรือต้องขนของกลับบ้านด้วยตัวเอง ลาซาด้าจะมุ่งทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ และความสะดวกสบายมากขึ้นในปี 2561 ด้วยแคมเปญและแบรนด์สินค้าระดับโลกที่ทุกคนสามารถเลือกช็อปได้

TP11-3328-1A ขณะที่กลุ่มเจดีดอตคอม ผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ได้เข้ามาร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของไทย มูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท หรือ ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เพื่อขยายตลาดอี-คอมเมิร์ซ และร่วมกันพัฒนาออมนิ แชนเนลในแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ รวมถึงใช้ไทยเป็นฐานขยายตลาดสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาธุรกิจสู่การเป็นอี-บิสิเนส ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ อี-คอมเมิร์ซ, อี-มันนี่, อี-โลจิสติกส์และอี-ดาต้าหรือบิ๊ก ดาต้า ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่อินเตอร์ เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์

ส่วนนายสมเด็จ สุสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ว่า ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาผู้ประกอบการด้านอี-คอมเมิร์ซ ผ่านหลักสูตรการดำเนินธุรกิจและการค้าออนไลน์ เพื่อสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 และการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนภายใต้โครงการประชารัฐสวัสดิการ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนโดยทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนภายใต้แนวคิดประชารัฐ การสร้างอาชีพ ซึ่งต้องการให้เห็นผลภายใน 3 เดือนนั้นเรื่องนี้นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้มีการหารือกับทางกรมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา เบื้องต้นจะมุ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกอบรมการทำธุรกิจออนไลน์ และใช้แพลต ฟอร์มของ thaitrade.com เชื่อมโยงไปยังผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชนในส่วนภูมิภาคเพื่อให้มีช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดีขึ้น

“ปัจจุบัน thaitrade.com มีสมาชิกที่เป็นผู้ขายสินค้ากว่า 2 หมื่นราย และเป็นผู้ซื้อกว่า 1 แสนราย มีรายการสินค้ากว่า 2 แสนรายการสามารถนำเสนอและขายสินค้าในลักษณะ B2B (ธุรกิจต่อธุรกิจ) และ B2C (ธุรกิจกับผู้บริโภค) ได้”

อนึ่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ปี 2560 จะมีมูลค่ารวม 2.8 ล้านล้านบาท เติบโต 9.86% จากปี 2559 และใน 3 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2563 มูลค่าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยคิดเป็น 5.6 ล้านล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,328 วันที่ 4 - 6 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9