17 smart ideas from 17 smart icons of 2017

01 ม.ค. 2561 | 03:00 น.
“การเดินบนเส้นทางสายสถาปัตยกรรมไทยทำให้ผมต้องพยายามมากกว่าคนอื่น ผมไม่เคยกลัวที่จะถาม ไม่เคยกลัวที่จะบอกใครว่าเราไม่รู้ อีกประการหนึ่งคือผมไม่เคยปฏิเสธงาน ผมรับงานทุกอย่างมาทำเพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนาตัวตนของเราให้เร็วขึ้น ทั้งความเร็วของมือในการสเกตช์ ความเร็วของสมองในการคิดงาน เมื่อมีงานมากขึ้นเราจะวางแผนเยอะขึ้น แต่ละงานเราจะรู้ได้ทันทีว่าเราจะต้องเรียนรู้อีกมาก เครื่องมือในการเรียนรู้ที่ไวที่สุดคือ “บันไดงาน” ผ่านกรอบวิธีคิด วิถีวิชาการ และมีครูที่ดีเป็นผู้กำกับ”

[caption id="attachment_246028" align="aligncenter" width="177"] MP17-3326-6 ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมแห่งกรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร[/caption]

“ความเป็นไปไม่ได้ มักจะเกิดขึ้น เมื่อเราคิดแต่ไม่ทำ”

[caption id="attachment_246024" align="aligncenter" width="335"] คิม จงสถิตย์วัฒนา คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด[/caption]

“ตอนเด็กๆ เราอ่านนิทาน เราฝันอยากเป็นเจ้าหญิง เป็นเจ้าชาย เหมือนกับนักแสดงทุกคนที่มีความฝันอยากแสดงบทนั้นบทนี้ แต่วันหนึ่งด้วยเวลาที่หมุนเดินไปทุกวันบทบาทที่เราได้รับอาจเปลี่ยนแปลงไป ชีวิตที่ต้องดำเนินต่อคือการปรับตัวให้กับบริบท ความต้องการ และความถนัดของตนเอง”

 

[caption id="attachment_246035" align="aligncenter" width="287"] เจี๊ยบ-โสภิตนภา ชุ่มภาณี เจี๊ยบ-โสภิตนภา ชุ่มภาณี ผู้จัดละครและนักธุรกิจ[/caption]

“ผมเชื่อในกฎ 10,000 ชั่วโมง ทุกคนไม่มีทางประสบความสำเร็จจากการทำงานบนจุดอ่อนของตัวเอง แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้จากการสร้างผลงานจากจุดแข็ง และพัฒนาให้แข็งแกร่งมากขึ้นในทุกๆ วัน”

[caption id="attachment_246029" align="aligncenter" width="319"] สุธีรพันธุ์ สักรวัตร สุธีรพันธุ์ สักรวัตร นักการตลาดยุคดิจิตอล[/caption]

“การทำธุรกิจเหมือนกับการเล่นเกมที่ไม่มีวันจบ เราต้องเรียนรู้จังหวะการใช้สัญชาตญาณบนโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิตว่าเราต้องการจะทำอะไร และเดินหน้าทำสิ่งที่เรามุ่งนั้นให้สำเร็จ”

[caption id="attachment_246033" align="aligncenter" width="503"] มนต์มณี ตันนาภัย กรรมการผู้จัดการโรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวภูเก็ต ป่าตอง และเจ้าของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ สปา แอนด์ สกินแคร์ “ryn” มนต์มณี ตันนาภัย กรรมการผู้จัดการโรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวภูเก็ต ป่าตอง และเจ้าของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ สปา แอนด์ สกินแคร์ “ryn”[/caption]

“เราต้องเจอ Instant Pressure ให้เป็นนิสัย ภูมิสถาปนิกไม่ใช่อาชีพที่มีทางลัด การจะเป็นภูมิสถาปนิกที่เก่งได้ต้องใช้ประสบการณ์ ต้องทำงานหนัก งานออกแบบที่เราทำต้องไม่เหมือนเมื่อวาน เป็นแรงกดดันที่เราต้องเจอตลอดชีวิต เพื่อสร้างสิ่งใหม่ สร้างงานใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์บริบท การเปลี่ยนแปลง และรสนิยม ตลอดเวลา”

[caption id="attachment_246037" align="aligncenter" width="325"] ป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ ป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ Design Director, TROP COMPANY LIMITED[/caption]

“หัวใจสำคัญของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเรา คือ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวให้กับเมืองหัวหิน สร้างภาพความทรงจำที่ดีให้กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่สำคัญเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดการด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพให้กับประเทศไทย ดังนั้นเราจึงมุ่งสร้างความ “แตกต่าง” เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักเดินทางและนักท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดการไม่หยุดนิ่งและไม่ปักหมุดเสาเข็มเพียงต้นเดียว แต่เพิ่มโอกาสและทางเลือกของความสุขในการสัมผัสกับจุดหมายปลายทางได้อย่างประทับใจ”

[caption id="attachment_246039" align="aligncenter" width="116"] พราวพุธ ลิปตพัลลภ พราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด[/caption]

“ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ ‘เริ่มต้นยาก’ เพราะการแข่งขันสูง ถ้าหากคุณตั้งต้นการทำธุรกิจด้วย ‘เงินเป็นหลัก’ โดยที่ไม่ได้มีเป้าหมายที่ใหญ่กว่า สิ่งนั้นอาจจะเป็นความสุขในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะยาวอาจพบเจอกับความลำบาก ซึ่งเราไม่ปฏิเสธว่าเงินคือบทบาทที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจแต่ทว่าเงินไม่ควรมีบทบาทที่ใหญ่กว่า ‘เป้าหมายของคุณ’ ”

[caption id="attachment_246022" align="aligncenter" width="273"] จอมทรัพย์ สิทธิพิทยา จอมทรัพย์ สิทธิพิทยา CEO & Co-Founder EXZY Co., Ltd.[/caption]

“โอกาส คือ มุมมอง หากเราเลือกใช้คำว่ารอ เราคงไม่ได้รู้จักคำว่า ’โอกาส’ เพราะฉะนั้นการได้รับโอกาสคือการเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ และเมื่อเข้ามาแล้วอย่าปล่อยให้โอกาสผ่านไป การก้าวสู่เส้นทางความสำเร็จต้องเรียนรู้ที่จะกล้าเสี่ยง ประสบการณ์จะสอนให้เรารู้จักจังหวะของการลองผิด และลองถูก ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง นี่แหล่ะที่ทำให้ชีวิตของเราสนุกและน่าเรียนรู้ในทุกวัน”

[caption id="attachment_246032" align="aligncenter" width="327"] ศิริพร ไชยสุต ศิริพร ไชยสุต ที่ปรึกษาอาวุโสประธาน บริษัท เชฟรอนเอเชียแปซิฟิกสำรวจและผลิต จำกัด[/caption]

“เพราะการสะสมของเก่าคือการลงทุนที่มีสุนทรียภาพ เสน่ห์ในของโบราณ ที่เพิ่มปริมาณผ่านความรักและหลงใหลสู่การเป็นของสะสมที่มีการเก็บรวบรวมภายใต้องค์ความรู้ที่ศึกษามาอย่างถ่องแท้คือมูลค่าที่ไม่สามารถประเมินได้ ธุรกิจของเก่าเป็นธุรกิจที่อาศัยความเชื่อใจสูงมาก เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ เราต้องเริ่มต้นที่เราก่อนในการสร้างความเชื่อใจจากคู่ค้า แล้วเราจะได้ความเชื่อใจนั้นตอบกลับมาจนเป็นความผูกพันที่มากกว่าการทำธุรกิจร่วมกัน”

[caption id="attachment_246025" align="aligncenter" width="503"] อรรถดา คอมันตร์ อรรถดา คอมันตร์ กรรมการบริหาร บริษัท Thai Star Group และ เจ้าของสำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์[/caption]

“ถ้าเราเรียนด้วยคนไทยทำทุกอย่างด้วยความเป็นไทย สถาบันของเราไปได้ก็จริงแต่เราจะไม่ทันต่อกระแสโลก การมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติทั้งคณาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาไทยเองได้เรียนรู้ว่าแต่ละที่ แต่ละแห่ง ที่แตกต่างกันทั้งประวัติศาสตร์ความเป็นมา ภาษา และวัฒนธรม คิดแตกต่างกันอย่างไร เพื่อพัฒนางานออกแบบของเราให้ดียิ่งขึ้น”

[caption id="attachment_246031" align="aligncenter" width="253"] ศ.พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ศ.พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ หรือ CIDI[/caption]

“เพลงที่เราแต่งขึ้นเหมือนกับบทสนทนาของเรากับผู้อื่น แต่การวาดภาพคือบทสนทนาที่เราได้พูดกับตัวเอง ระหว่างทำงานทำให้เราได้รู้กาย ว่าจะขยับไปทางไหน รู้ใจว่าเราต้องการสีอะไรเพิ่มเติม ต้องการขีดเส้นตรงไหน ลากเส้นตรงไหนเพิ่มเติม เราได้เห็นแม้กระทั่งความกังวลและความไม่มั่นใจของตนเองระหว่างการสร้างชิ้นงาน จนเมื่อผลงานเสร็จแล้วภาพนั้นก็คือผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ผมใช้สื่อสารกับผู้อื่น”

[caption id="attachment_246038" align="aligncenter" width="503"] ป๊อด-ธนชัย อุชชิน ป๊อด-ธนชัย อุชชิน นักร้องนำวง Moderndog[/caption]

“Practice Makes Perfect” การปรบมือ เสียงขอบคุณ และช่อดอกไม้ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เราจึงยึดเอามาตรฐานมายกระดับเกียรติและความน่าเชื่อถือในวิชาชีพให้เกิดขึ้น เพื่อสะท้อนคำว่าคุณภาพคือชัยชนะอย่างแท้จริง

[caption id="attachment_246030" align="aligncenter" width="503"] รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการและคณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล[/caption]

“ชีวิตของเราเปลี่ยนไปทุกๆ วัน ผมพยายามบอกนิสิต บอกคนรุ่นใหม่ๆ ว่าอย่าติดกรอบแค่สิ่งที่เป็นอยู่หรือความฝันของคนอื่นจนกลายเป็นความเคยชิน เพราะเรามีความฝันใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา สำหรับผม 10 ปีแรกหลังเรียนจบ ผมอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี สร้างงานวิจัยที่มีประโยชน์ 10 ปีหลัง ผมอยากเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทำให้คนไทยคิดแบบวิทยาศาสตร์และมองแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งอีก 10 ปีต่อๆ ไปอาจเปลี่ยนเป็นอะไรเพิ่มเติมได้อีกมากมาย”

[caption id="attachment_246034" align="aligncenter" width="191"] รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[/caption]

“การทำงานกับชุมชนเราต้องมีทั้งบุ๋นและบู๊ เพราะงานด้านโบราณคดีนั้นเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านไปเกิดความไม่สมดุลของการพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ของเมือง และการธำรงรักษาไว้ซึ่งเรื่องราวและโบราณสถานและโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นการแก้ไขมิใช่เฉพาะเพียงการใช้ความรู้ทางวิชาการ ทักษะความรู้ความสามารถทางช่างที่ต้องบำรุงรักษาดูแลงานอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง แต่คือการหาจุดสมดุลของทุกฝ่ายในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้การพัฒนาทั้งสองฝั่งดำเนินควบคู่กันไปได้อย่างต่อเนื่อง”

[caption id="attachment_246027" align="aligncenter" width="503"] อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร[/caption]

“ผมทำงานด้วยพลังทางใจ ผมต้องฝึกให้มากเพื่อให้มือสามารถตอบสนองความคิดของเราให้ทัน เวลาปั้นผมจะไม่กลับมาดูงานข้างหลัง เมื่องานปั้นผิดพลาดจุดหนึ่ง ต้องแก้ไขรอบตัว วิธีการของผมคือเริ่มงานใหม่ ให้งานที่ผิดเป็นครูสอนเราไม่ให้ผิดตรงจุดนั้นอีก ผมจะทำงาน ณ จุดปัจจุบันและเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ”

[caption id="attachment_246036" align="aligncenter" width="503"] ชิน ประสงค์ ชิน ประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านประติมากรรม กรมศิลปากร[/caption]

“เราควรจะทำในทักษะที่เชี่ยวชาญ และทำดีที่สุดในทางของเรา” ผมเริ่มจากการพิจารณาศาสตร์ทางสถาปัตย์ เราเกี่ยวข้องกับเรื่องของระนาบ เรื่องการตกของแสงและเงา ร่วมกับการสร้างอารมณ์และบรรยากาศด้วยแสงพระอาทิตย์ จึงเกิดความคิดการใช้แสงเป็นเครื่องมือในการสร้างประติมากรรม คือนำแสงมาวาดภาพ ให้เกิดภาพเงา “ภาพในหลวง” แต่ด้วยความรู้สึกลึกๆ ว่าเราไม่ต้องการให้แสงพระอาทิตย์หยุดไว้เพียงแค่การใช้วิธีคิดทางสถาปัตย์ แต่ยังเป็นเนื้อหาหลักที่นำไปสู่แก่นความคิดของงานได้จริงๆ และแสงสุดท้ายที่เราเห็น และแสงที่เรารู้สึกเสียใจในวันนั้นคือวินาทีที่พระองค์ท่านจากไป ก็คือ เวลา 15.52 นาฬิกา เราจะใช้แสงเป็นสะพานพาสิ่งที่ที่อยู่บนฟ้าลงมาปรากฏบนพื้นโลก มาหาเราอีกครั้งหนึ่ง

[caption id="attachment_246026" align="aligncenter" width="300"]  ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล (อ.หม่อน) อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,327 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 3 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9