Disruption คนอสังหา ปั้นคมคิด Creativity สร้างนวัตกรรม

30 ธ.ค. 2560 | 07:39 น.
โลกดิจิตอล ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถึงจุดวิกฤติ (critical) ที่ต้องเร่งปรับตัวกันแล้ว “อนุพงษ์ อัศวโภคิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) จึงลุกขึ้น Disruption ตัวเองและองค์กร เพื่อสร้างและเติมเต็มวิธีคิดใหม่ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการนำ Design Thinking เข้ามาเป็นไอเดียหลัก คิด Innovation สร้างเส้นทางใหม่ให้กับการพัฒนาธุรกิจ

ปัจจุบัน คู่แข่งธุรกิจ ไม่ใช่คู่แข่งสายตรงเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง หรือธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องเลย ก็สามารถเข้ามาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวให้กับเราได้

เอพีจึงได้จับมือกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำวิจัยว่า อสังหาริมทรัพย์จะ Disrupt อย่างไร Disrupt อะไร จึงจะทำให้โปรดักต์ขายได้ และประมาณกุมภาพันธ์ 2561 เอพีและสแตนฟอร์ดจะทำ Action Research อีกครั้งว่า สิ่งที่ต้องการขายคืออะไร แล้วยังขาดอะไร ต้องเติมเต็มอย่างไร สุดท้ายคือดูว่าบริษัทต้องการอะไร

หัวข้อที่ได้มา คือ สิ่งที่จะเป็นจุดขายของเอพีได้มากที่สุดคือ...เอพีเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร ทั้ง ซื้อ อยู่ ขายต่อ ซื้อใหม่ ดังนั้น แก่นที่เอพีจะทำคือ การสร้าง Quality of Life ให้คน แต่ต้องมาเรียงกันให้ดีๆ ว่า การจะได้มาซึ่ง Quality of Life คืออะไร เรียงลำดับอย่างไร ซึ่งต้องทำทั้ง Global Research และ Local Research แล้วนำมาวิเคราะห์

MP18-3326-2b เอพีสร้าง Core Team ขึ้นมา โดยคัดเลือกเด็กรุ่นใหม่ 3 คน เข้ามาทำงานเต็มเวลากับเรื่องนี้ โดยกำลังคัดเพิ่มอีกประมาณ 4-5 คน และยังคัดคนของเอพี ที่ประกอบด้วยคน 3 กลุ่ม คือ ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่าย Expertist และฝ่ายธุรกิจ ตั้งเป็นอีกหนึ่งทีมชื่อ BTX คนกลุ่มนี้ จะใช้เวลาประมาณ 20-30% ของเวลางาน เข้ามาร่วมกระบวนการสร้าง Innovation ตรงนี้ โดยมี Core Team เป็นแกนนำ

“โมเดลของการทำอินโนเวชันโลก มันทำอะไรบ้าง สอนว่าอินโนเวชั่นคืออะไร มีกี่วิธีที่จะได้อินโนเวชัน เราเลือกสูตรของอินโนเวชันอันหนึ่ง เรียก...Venture วิธีคือ นำเรื่อง Design Thinking มาใช้ เอา Engineering Thinking มาเป็นแกน เพราะเอ็นจิเนียร์จะเก่งเรื่อง Process”...ความเชื่อ คือ ถ้าคุณต้องการอินโนเวชัน คุณจะหาคนที่เป็นครีเอทีฟ
Design Thinking เป็น Process ที่เชื่อว่า Creativity มาจากวิธีการจัดระบบความคิด และ Creative ที่ดีที่สุด ต้องมาจากลูกค้า เพียงแต่ว่า คุณจะตอบโจทย์ลูกค้าได้หรือเปล่า และการที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้ดี คือต้องค้นหา Unmet Need ของลูกค้าให้เจอ นั่นคือ การค้นหาความต้องการของผู้บริโภคที่เขาไม่สามารถบอกได้ตรงๆ ความต้องการเหล่านี้มักจะเป็น ความต้องการที่เป็นเรื่อง “ความรู้สึก” ที่แม้แต่ลูกค้าเองก็อาจจะไม่รู้ตัว

MP18-3326-1b ความยากลำบากคือ การหา Emotional Unmet Need ของลูกค้าให้เจอ ผ่านกระบวนการ Design Thinking ที่ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ Empathize คือ การฟังความต้องการของลูกค้า หลังจากนั้น Define กำหนดเป็นนิยามออกมา แล้วจึง Ideate ซึ่งเป็นการสร้างความคิดต่างๆ ให้เกิดขึ้น โดยเน้นการหาแนวคิดและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด เมื่อได้ Ideate แล้วก็มาสร้างเป็น Prototype แล้วนำไป Test ทดลองตลาด
“มันต้อง Fail Fast และ Fail Cheap ส่วนที่ยากที่สุด คือ การทำ Empathy Interview เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าพูด 80% เราพูด 20% ต้องทำ Rapport Building ให้คนที่เราสัมภาษณ์สบายใจ ไว้ใจเรา แล้วเขาจะพูดทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี ถ้าทำได้มันจะโอเค”

หลังจากนั้นคือการทำ “ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง” หรือ “บริการตัวอย่าง” (Minimum Viable Product หรือ MVP) เพื่อทดสอบการใช้งานจริงกับวงแคบๆ เช่น อาจจะใช้แค่กับไซด์งานเพียงไซด์เดียว หากลูกค้าพอใจ สามารถสร้างเงินได้ MVP นั้น ก็จะถูกพัฒนาเป็นชิ้นงาน โดยผู้พัฒนานวัตกรรมนั้น ก็จะได้รับผลตอบแทน เช่น MVP ที่ทำเงิน 100 ล้านบาท อาจจะตัดมา 20 ล้านบาท เพื่อให้กับกลุ่มคนที่คิด MVP นั้น

วิธีการนี้คือ การสร้างสตาร์ตอัพขึ้นในองค์กร ซึ่งปีหน้าจะได้เห็น MVP ลงไปทดลองในตลาด 2-3 อันแน่นอน
นี่คือวิธีเอาตัวรอดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการค้นหาตัวตนของตัวเองให้เจอ แล้วแสดงตัวตนให้ลูกค้าเห็น และอยากได้ ยอมควักกระเป๋าจ่าย เมื่อเป็นเช่นนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ เอพี จึงจะอยู่รอดต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,326 วันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-10