5 ข่าวเด่น‘ไอซีที’ในรอบปี

29 ธ.ค. 2560 | 00:52 น.
ตลอดระยะเวลา ปี 2560 การเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทั้งปรับโครงสร้างธุรกิจ รับมือกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม“ฐานเศรษฐกิจ” โต๊ะข่าวไอทีดอตคอม ได้เลือก5อันดับข่าวแห่งปีที่เกิดปรากฏการณ์ตลอด 1ปีที่ผ่านมา

++“ศุภชัย” นั่งประธานซีพี
เหตุผลที่ “ฐานเศรษฐกิจ” เลือก “ศุภชัย เจียรวนนท์” เป็นข่าวเด่นแห่งปี เนื่องจาก “ศุภชัย” บุตรชายคนที่ 4ของเจ้าสัวธนินท์เจียรวนนท์หลังจากถูกมอบหมายให้ดูแลอาณาจักรในกลุ่มทรู ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจด้านโทรคมนาคมที่มี“ทรูมูเอช”เป็นเรือธงปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ26ล้านเลขหมาย เบียดแซง “ดีแทค” ขึ้นเป็นเบอร์ 2 ไปแล้ว

[caption id="attachment_228853" align="aligncenter" width="307"] ศุภชัย เจียรวนนท์ ศุภชัย เจียรวนนท์[/caption]

หลังจากมีข่าวว่า “เจ้าสัวธนินท์” จะวางมือจากธุรกิจในกลุ่มซีพี ที่มีมูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท ชื่อของ “ศุภชัย” โดดเด่นขึ้นมาทันทีเพราะภายในครอบครัวและองค์กรรับรู้เป็นอย่างดีและในที่สุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ ซีพี ได้มีการประกาศแต่งตั้งให้ “ศุภชัย” นั่งตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารส่วน “เจ้าสัวธนินท์” นั่งตำแหน่งประธานอาวุโส

ส่วนทรูเมื่อต้นปีได้ประกาศปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่งตั้ง 2 ซีอีโอร่วม คือ วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์และอติรุฒม์โตทวีแสนสุข นั่งตำแหน่งซีอีโอ ส่วน“ศุภชัย” ขึ้นไปนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร

หากแต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา มติบอร์ดกลุ่มทรู ปรับโครงสร้างซีอีโอร่วมด้วยการแต่งตั้ง ดร.กิตติณัฐทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม)แทนนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข โดยให้รับผิดชอบงานด้านการพาณิชย์ และแต่งตั้งนายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานด้านปฏิบัติการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2560

ส่วนอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการบริหารของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และรองประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจ E-Business

TP03-3326-2 ++เน็ตชายขอบ Vs ประชารัฐ
รัฐบาลมีนโยบายนำพาประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ติดตั้ง 24,700 หมู่บ้าน แต่ความไม่ลงรอยของ เน็ตชายขอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเน็ตประชารัฐ ของ กสทช.ที่ติดตั้ง 3,920 หมู่บ้านเนื่องจากยังไม่ตกผลึกในเรื่องของอัตราค่าบริการ เพราะเน็ตประชารัฐจะจัดเก็บ399-599บาทต่อเดือน ส่วนเน็ตชายขอบต้องการให้เก็บ 200บาท แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้

แต่สุดท้าย เน็ตชายขอบ ได้ใจประชาชนเพราะรัฐบาลให้ของขวัญปีใหม่ โดยไม่เก็บอัตราค่าบริการเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือให้ใช้ฟรีนั่นเอง! เรียกได้ว่างานนี้ได้ใจประชาชนที่อยู่ชายขอบ 7 แสนครัวเรือนกันเลยทีเดียว

++ดีแทคได้คลื่น 2300
เป็นเพราะ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ได้ และที่สำคัญคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2561
แต่ทว่าดีแทค เป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ทั้ง เอไอเอส และกลุ่มทรูได้คลื่นความถี่ 1800-2100 และ900เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นระบบใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 15 ปี

ทางเดียวที่ ดีแทค ต้องทำให้ได้ในปีหน้า คือ การชิงคลื่นความถี่1800เมกะเฮิรตซ์เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
และในที่สุด คณะกรรมการบริหารของทีโอที อนุมัติให้ บริษัทดีแทคไตรเน็ตจำกัด บริษัทในเครือดีแทคและบริษัทเทเลแอสเสทจำกัด เป็นคู่ค้าสำหรับให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2.3กิกะเฮิรตซ์โดยบริษัทเทเลแอสเสท จำกัด จะให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและรับจ้าง บำรุงรักษาโครงข่ายให้กับทีโอทีส่วนบริษัทดีแทค ไตรเน็ต จำกัด รับซื้อความจุโครงข่ายในสัดส่วน 60%ของความจุโครงข่ายทั้งหมดจากทีโอทีโดยเสนอผลตอบแทนคงที่คิดเป็น4.51พันล้านบาทต่อปีและจะเปิดให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ส่วนการลงโครงข่ายและการเริ่มเปิดให้บริการจะเกิดขึ้นภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2561

++ตั้งบ.โครงข่ายทีโอที-แคท
หลังมติคณะรัฐมนตรี หรือครม.เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ จำกัด (NBN Co)และ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGDC Co) เพื่อแก้ปัญหาการลงทุนซํ้าซ้อน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

แม้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (สร.กสท) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (สรท.)ได้ออกหนังสือแถลงการณ์ ร่วมคัดค้านไม่ให้จดทะเบียน NBN Co และ NGDC Co
แต่สุดท้ายรัฐบาลเดินหน้าไฟเขียวจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

[caption id="attachment_124612" align="aligncenter" width="307"] นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์[/caption]

++“ฐากร” ว่าที่กรรมการ กกต.
หลังคณะกรรมการ กสทช.หมดวาระในเดือนตุลาคม 2560 ใครๆ ก็รู้ดีว่า ประธานกรรมการ กสทช. คนใหม่มีชื่อของ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ติดโผเป็นอันดับ 1 อยู่ในนั้น แต่สุดท้ายก็พลิกล็อก

เมื่อ “ฐากร” ไปสมัครชิงเก้าอี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จากผู้สมัครจำนวน15 คน ปรากฏว่า คณะกรรมการสรรหาการเลือกตั้งเลือกให้ “ฐากร” ติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้สมัครชิงเก้าอี้ตำแหน่งกรรมการ กกต.

รอก็แต่เพียงบรรจุวาระให้สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) รับรองรายชื่อเท่านั้น การลงสมัครคัดเลือกข้ามห้วยของ กกต.ในครั้งนี้แม้ชื่อของ“ฐากร” มาแรงแซงโค้งเพราะโชว์ผลงานประมูลคลื่นความถี่1800-2100 และ 900 เมกะเฮิรตซ์มากกว่าแสนล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,326 วันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-10