ฝากก้าวไว้ที่ ‘พะเยา’ มีเพียงเราก็ท่องเที่ยวได้

24 ธ.ค. 2560 | 00:01 น.
MP28-3325-9A ณ วันที่ทุกท่านกำลังอ่านเรื่องราว ของทรรศนาจรในฉบับนี้ เชื่อ แน่ว่า “คุณตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย” กำลังวิ่งผ่านจังหวัดพะเยาเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ เมืองที่แผ่นนํ้าและผืนฟ้าหลอมรวมเป็นแผ่นเดียวกันที่กว๊านพะเยา ก้าวแต่ละก้าวที่ผ่านแต่ละจังหวัดเกิดเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งประเทศถึงวิถีชุมชนที่ทรงคุณค่า เกิดเป็นภาพความประทับใจสำหรับคนไทยทั้งประเทศไปตามๆ กัน

[caption id="attachment_244378" align="aligncenter" width="503"] ซุ้มประตูทางเข้าวัดอนาลโยทิพยาราม ซุ้มประตูทางเข้าวัดอนาลโยทิพยาราม[/caption]

รสชาติของการเดินทางแบบ Road Trip ทำให้เราพบเจอและซึมซับกับกลิ่นอายของระหว่างทางได้อย่างเต็มปอด โดยเสน่ห์ของสไตล์การท่องเที่ยวในแบบดังกล่าวยังทำให้เราตื่นเต้นอยู่เสมอว่าต้องพบเจออะไร เรียนรู้ไปกับความเรียบง่ายและตื่นเต้นไปกับสิ่งใหม่ๆ จนบางครั้งคิดไม่ออกเลยว่าจะจดหรือถ่ายภาพเก็บไว้ดี และเส้นทางที่ทรรศนาจรได้เดินทางไปในวันนี้ ถือเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางที่ดีและเป็นดั่งคำตอบที่สำคัญในเส้นทางที่ใครหลายๆ คน มองว่าเป็นเพียงทางผ่าน แต่สำหรับเราแล้วดินแดนแห่งนี้ คือ คำตอบของคำว่าระหว่างทางที่มีคุณค่าแห่งการจดจำ “จังหวัดพะเยา”

[caption id="attachment_244381" align="aligncenter" width="503"] กลุ่มชาติพันธุ์ที่ลงหลักปักฐานในจังหวัดพะเยา กลุ่มชาติพันธุ์ที่ลงหลักปักฐานในจังหวัดพะเยา[/caption]

จังหวัดพะเยาได้รับแต่งตั้งและยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดลำดับที่ 72 ของประเทศไทย ที่สำคัญถือเป็นจังหวัดกลุ่มล้านนาตะวันออกเช่นเดียวกับเชียงราย ซึ่งมีความผูกพันของฐานรากทางประวัติศาสตร์ สายสัมพันธ์ของกษัตริย์แห่งดินแดนล้านนาทั้งสามเมือง ในฐานะพระสหาย ร่วมสาบานระหว่าง พญางำเมือง ผู้ครองแคว้นพะเยา กับ พญามังราย ผู้ครองเมืองเชียงราย และพระร่วง ผู้ครองกรุงสุโขทัย การเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างดินแดนหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงเกิดเป็นความเชื่อมโยงกันหลากหลายด้าน ทั้งในแง่ของภาษาถิ่น สำเนียง วัฒนธรรม รวมถึงวิถีชีวิตและความเชื่อดั้งเดิม

MP28-3325-7A ถนนพหลโยธินมุ่งหน้าสู่อำเภอปง จังหวัดพะเยา หนึ่งในเส้นทางสำคัญที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทั้ง เผ่าเย้า เผ่าม้ง รวมถึงชาวไทยลื้อ ที่ลงหลักปักฐานมาพำนักยังอำเภอแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมไม่เพียงส่งผ่านเครื่องแต่งกายหลากรูปแบบ หลายสีสัน แต่ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมนุษยวิทยาผ่านวิถีชนเผ่าให้กับนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อย่างน่าสนใจ

MP28-3325-3A อีกหนึ่งมุมมองที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจ คือ ความเงียบสงบและงดงามของ “กว๊านพะเยา” ทะเลสาบขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของประเทศไทยที่เป็นมากกว่าแหล่งนํ้าทั่วไป จากการไหลเทลงมาจากห้วยต่างๆ แต่บึงดังกล่าวเป็นดั่งจุดศูนย์กลางในการรวมหลากหลายเรื่องราว อาทิ แหล่งพันธุ์ปลา การเดินทาง วิถีชีวิต และประเพณีทางศาสนาที่งดงามอย่าง การเวียนเทียนกลางนํ้า ไม่เพียงเท่านั้นสายนํ้าของกว๊านแห่งนี้กลายเป็นแม่เหล็กที่สำคัญของการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา

MP28-3325-8A นอกจากการหยุดมองและบันทึกภาพกว๊านพะเยาในยามเย็นตามร้านอาหารและสวนสาธารณะ หนึ่งจุดที่หยุดมองบึงดังกล่าวได้สวยงามไม่แพ้กัน คือ ดอยบุษราคัมอันเป็นที่ตั้งของ “วัดอนาลโยทิพยาราม” ศาสนสถานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความวิจิตรของงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม อาทิ พระพุทธรูปปางต่างๆ เช่น พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรกซุ้มประตู ทางเดินบันไดพญานาค ศาลาเจ้าแม่กวนอิม แท่น ๑๒ นักษัตร หอพระสยามเทวาธิราช รูปจำลองนาคมานพในเครื่องทรงกษัตริย์ วิหารพระหมื่นปี และอื่นๆ อีกหลากหลายจุด ถือเป็นห้องเรียนที่สำคัญที่ทำให้เราได้สงบกายและใจไปกับการเรียนรู้ลายเส้น งานปั้นและความงดงามของธรรมชาติโดยมีพุทธศาสนาเป็นจุดเชื่อมโยง

MP28-3325-5A อย่างไรก็ดีพะเยายังเพียบพร้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอื่นๆ อีกหลากหลายแห่งที่รอให้คุณไปสัมผัส อาทิ วนอุทยานภูลังกา จุดชมวิวทะเลหมอก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า บ้านปางค่าใต้หรือที่อยู่ของชาวไทยภูเขาอย่าง ชนเผ่าเย้า ฯลฯ สำหรับช่วงเวลาแห่งความสุขและลมหนาวเริ่มมาเยือนอย่างเป็นทางการแบบนี้ถือว่าพะเยา นับเป็นอีกเมืองเหนือที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ เปิดโอกาสให้ร่างกายได้ฟังเสียงของหัวใจ ผ่อนคลายความคิดผ่านการมองกว๊านพะเยาที่กว้างสุดลูกหูลูกตา เปิดประสบการณ์ใหม่ของการเดินทางท่องเที่ยวไทยในสไตล์ท้องถิ่น (Local Experience) ให้แตกต่างจากที่เคยมาเยือน

MP28-3325-2A ก่อนศักราชใหม่จะเริ่มต้น การได้ใช้ลมหายใจอย่างมีค่า ในเมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวในครั้งนี้ การันตีได้เลยว่า ไปพะเยา ไม่มีเหงา มีแต่เรากับเป้หนึ่งใบก็ไปได้

MP28-3325-6A จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,325 วันที่ 24 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9