คิกออฟเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ดัน SMEs มุ่งสู่ Thailand 4.0

22 ธ.ค. 2560 | 04:03 น.
รมว.แรงงาน เปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 เน้นภารกิจเพิ่มผลิตแรงงานสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ Thailand 4.0

[caption id="attachment_244254" align="aligncenter" width="503"] พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[/caption]

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทำงานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ณ ห้อง Phoenix 1-6 อาคาร IMPACT Exhibition เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

รมว.แรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0 กระทรวงแรงงานจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของประเทศ ระยะ 20 ปี เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตแรงงานสู่ Thailand 4.0 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็น Brain power ตอบสนองนโยบายของกระทรวงแรงงานด้านการบริหารแรงงานให้คนไทยมีงานทำอย่างถ้วนทั่ว สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ด้วยการประกาศนโยบายและเป้าหมายให้ “แรงงานที่มีศักยภาพสูงและคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

DSC_1111_resize จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ SMEs ในประเทศไทย มีมากกว่า 2 ล้านราย ครอบคลุมการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 5 ล้านล้านบาท กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เล็งเห็นความสำคัญของ SMEs จึงได้จัดทำ “โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทำงานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ให้ทีมงานที่เชี่ยวชาญเข้าไปปรับปรุงขบวนการผลิตสินค้าและบริการ และลดการสูญเสียให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการให้ทีมปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปร่วมปรับปรุงขบวนการผลิต ในการลดความสูญเสียดังกล่าว พัฒนาบุคลากรของกพร. ให้มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ที่ผ่านมาพัฒนาศักยภาพคนทำงานและผู้ประกอบกิจการจำนวน 73,576 คน เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการสูญเสียในวงจรการผลิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท สร้างความมั่นคงให้กับสถานประกอบกิจการ 918 แห่ง สำหรับในปี 2561 มีการวางเป้าหมายให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบกิจการ 185 แห่ง และการทำตลาดเชิงรุกจัด “คลินิกผลิตภาพแรงงานสัญจร” ในพื้นที่กทม. และทั่วประเทศ เพื่อนำบริการของหน่วยงานให้เข้าถึงประชาชน ลดรายจ่ายครัวเรือน และขยายการให้บริการภาครัฐให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล สร้างเครือข่ายในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยตามแนวทางประชารัฐ 5,000 คน

“การดำเนินโครงการดังกล่าว มิได้จะคาดหวังเพียงเชิงตัวเลขเท่านั้น หากแต่ยังคำนึงถึงความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความคิดเชิงระบบ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เมื่อผู้ประกอบกิจการและคนทำงานในกลุ่ม SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6