ประมงจับมือซีพีเอฟปล่อยปลา 1 ล้านตัว

21 ธ.ค. 2560 | 10:40 น.
0491 นายรวีร์ ฤทธิชัย หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กรมประมง กล่าวว่า  กรมประมงให้ความสำคัญกับการกระตุ้นจิตสำนึกให้ชาวบ้านในพื้นที่สามารถดูแลและรักษาทรัพยากรของตัวเองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพยายามลดการกระทำผิดจากลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย  ทั้งจากคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ที่อพยพเข้ามา  ล่าสุด กรมประมงจับมือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี  ปล่อยปลาตะเพียน 1 ล้านตัว เพิ่มแหล่งอาหารตามธรรมชาติ พร้อมสร้างอาชีพและการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเครือข่ายดูแลทรัพยากรในพื้นที่

0490 "การที่ภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟเข้ามาช่วยสนับสนุนปล่อยพันธุ์ปลาลงเขื่อนฯ  นอกจากจะเป็นการเพิ่มปริมาณปลาในแหล่งน้ำแล้ว ยังทำให้ชุมชนในพื้นที่ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลา การจับปลาด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง ทำให้ชุมชนทำประมงได้อย่างยั่งยืน" นายรวีร์ กล่าว

ปัจจุบันปริมาณปลาในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์น้อยลงเรื่อยๆ  ปลาที่เพิ่มขึ้นในเขื่อนจะช่วยสร้างอาชีพประมงให้กับคนในชุมชน และยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มากขึ้น และพื้นที่โดยรอบได้รับประโยชน์ด้วย

นายชูชาติ จันทบาล ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสลุง ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ซึ่งเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  มีจำนวนนักเรียน 412 คน กล่าวว่า โรงเรียนมีการปรับปรุงบ่อเลี้ยงปลาและลงปลาตะเพียน 2 พันตัว ที่ได้รับมอบจากทั้ง 2 หน่วยงาน โดยนำมาแยกเลี้ยงในกระชังเพื่อให้ปลาเติบโตก่อนที่จะปล่อยปลาลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อเลี้ยง ปลาเหล่านี้จะถูกนำไปปรุงเป็นอาหารกลางวันของนักเรียนที่ยากจน เพื่อให้นักเรียนจะได้รับโปรตีนคุณภาพสูงจากปลา

0489 ด้าน นายไพบูลย์ ศรีจันทร์รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจฟาร์มเป็ดพันธุ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้าน “ดิน น้ำ ป่าคงอยู่” ซึ่งโครงการน้ำไหลลงเขื่อน พาเพื่อนตะเพียนกลับบ้าน

เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่บริษัทฯเล็งเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากซีพีเอฟจะร่วมกับกรมประมงปล่อยปลาเพื่อเพิ่มปริมาณปลาลงเขื่อนฯ ซึ่งมีการอนุบาลพันธุ์ปลาก่อนปล่อยเพื่อให้อัตราการรอดของปลาสูงขึ้น ยังมีการมอบพันธุ์ปลาตะเพียนให้โรงเรียนในพื้นที่  2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดหนองตามิ่ง และโรงเรียนโคกสลุง รวมทั้งชุมชนคำพรานหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 11 ซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย