อสมท-วอยซ์ เลย์ออฟคนทีวี

24 ธ.ค. 2560 | 04:24 น.
ทีวีดิจิตอลวิกฤติหนัก“อสมท-วอยซ์ ทีวี” จ่อปลดคนพยุงธุรกิจ บิ๊ก อสมท เผยกำลังพิจารณาเรื่องกำลังคน รอถกและชี้แจงสหภาพแรงงานฯ-พนักงานต่างจังหวัด

คงไม่ได้เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้นที่กำลังเผชิญวิกฤติในขณะนี้ ข่าวการปลดพนักงาน 2 บิ๊กวงการทีวีดิจิตอลอย่าง “อสมท” และ “วอยซ์ ทีวี” กำลังเป็นข่าวแรงส่งท้ายปี 2560 แสดงถึงความไม่พร้อมในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ทีวีดิจิตอล และการปรับตัวรับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป การปลดคน (เลย์ออฟ) ลดไซซ์จึงเป็นหนึ่งในหนทางการอยู่รอด แม้นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง 9 MCOT HD และ MCOT Family เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จะปฏิเสธว่ายังเป็นเพียงข่าวลือ เพราะอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ออกมา

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2-2-503x69 “ทางเลือกของอสมท ณ ขณะนี้มี 3 ข้อคือ 1. ศึกษาถึงความเหมาะสม 2. ความจำเป็น และ 3. งบประมาณที่ต้องใช้”

กระแสข่าวการเลย์ออฟพนักงานที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน แต่การศึกษาดังกล่าวต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบ และต้องดูความเป็นไปได้รอบด้าน เพราะอสมท ไม่ใช่เอกชน ต้องดูหลายๆ มิติ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาพบว่า กระแสความขัดแย้งภายในองค์กร เกิดจากปัญหาด้านการสื่อสารที่ขาดการเชื่อมต่อจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง ทำให้พนักงานขาดความเข้าใจ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ผู้บริหารจะเริ่มพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงานในส่วนกลางและต่างจังหวัด รวมถึงสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ด้วย

“ที่ผ่านมาสหภาพ เองต้องการเห็นความชัดเจน ซึ่งเราจะบอกให้ชัดว่าอสมท จะเดินไปในทิศทางใด เพราะเราเองก็อยากให้พนักงานอยู่กับเรานานๆ จนเกษียณ แต่ปัจจัยรุมเร้าที่เข้ามามีเยอะมาก โดยเฉพาะปัจจัยภายนอก”

ขณะที่ช่องวอยซ์ ทีวี ซึ่งก่อนหน้านี้มีการปลดพนักงานบางส่วนออกไปแล้วในปี 2559 ล่าสุดมีข่าวว่าจะปลดพนักงานอีกกว่า 100 ชีวิตนั้น แหล่งข่าวจากวอยซ์ ทีวี กล่าวยอมรับว่า การปลดพนักงานครั้งนี้ เพื่อปรับลดองค์กร และเป็นการลดต้นทุน เพราะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ขาดทุนต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีวอยซ์ ทีวี มีแผนจะหันไปทำธุรกิจทีวีดาวเทียม หลังจากที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการทำทีวีดิจิตอลอย่างหนักปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีเศษของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ผู้ประกอบการใช้เป็นแรงกดดันให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาแสดงความรับผิดชอบโดยเฉพาะการใช้มาตรา 44

[caption id="attachment_207500" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[/caption]

ล่าสุดนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้กล่าวว่า ได้นำเสนอแนวทางความช่วยเหลือโดยเสนอให้คสช. พิจารณาเพื่อออกคำสั่งม. 44 ประกอบด้วย 1. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอล 50% จากปัจจุบันที่มีภาระค่าเช่าโครงข่ายปีละ 1,900-2,000 ล้านบาท 2. การพักชำระค่าประมูลงวดที่เหลือเป็นเวลา 3 ปี โดยระหว่างที่พักจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตํ่ามาก เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการด้วย ซึ่งหากคสช. เห็นชอบในแนวทางการช่วยเหลือดังกล่าว เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการทำให้มีเงินไปใช้ในการซื้อคอนเทนต์และทำการตลาด เพื่อให้เข้าถึงผู้ชมและกระตุ้นรายได้ให้เพิ่มขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

e-book-1-503x62