เปิดแผนปฏิรูป‘ลดเหลื่อมล้ำ’

24 ธ.ค. 2560 | 03:16 น.
“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นาย กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการ (คกก.) ปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ถึงแนวทางปฏิรูปแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลํ้า

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินจีดีพีปี 2560 จะโต 3.9% และปี2561 ที่ 4.1% ขณะที่รายงานจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ระบุว่ามีคนไทยที่อยู่ตํ่ากว่าเส้นความยากจนเพียง 10% หรือราว 7 ล้านคน สวนทางกับความเหลื่อมลํ้าที่เป็นปัญหาในขณะนี้ ...

แนวทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลํ้าต้องทำ 3 อย่างไปพร้อมกันคือบุคคล ชุมชน และสังคมประชาชนต้องยกระดับรายได้โดยเฉพาะเกษตรกรและกลุ่มยากจนให้ยืนบนขาตนเองได้,การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เช่นการพัฒนาธุรกิจชุมชน จัดตั้งกองทุนสำหรับชุมชนและสังคมต้องสร้างความสมดุลมีระบบการดูแลจากส่วนกลางโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเช่นขยายโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม ( Social Safety Net)

[caption id="attachment_244012" align="aligncenter" width="503"] TP2-3324-2 กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[/caption]

คกก.ปฏิรูปฯเห็นว่าต้องทำทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน คือแข่งขันได้ กระจายประโยชน์ โตอย่างยั่งยืน และจำเป็นต้องตั้ง “หน่วยงานกลาง” ขึ้นมาดูแลด้านปัญหาความยากจนและความเหลื่อมลํ้า ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง, การบูรณาการการใช้งบประมาณ โครงการและบุคคลและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ติดตามผล,วิจัย และประเมินผลโครงการ

สาเหตุที่ต้องตั้งหน่วยงานนี้ดูง่ายๆปัจจุบันระบบสวัสดิการที่รองรับประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายมีถึง44 สวัสดิการจาก 14 หน่วยงานแต่ถามว่านายกฯได้รับสวัสดิการไปแล้วเท่าไรอย่างไรคำตอบคือตอบไม่ได้  เพราะยังไม่เคยมีการทำแบบบูรณาการ หรือเป้าหมายหากไม่สามารถดึงความเหลื่อมลํ้าลงได้ (ไทยอยู่อันดับ 3 ของโลก 58% รองจากอินเดีย 58.4 % และรัสเซียที่ 74.5%) ถามว่าใครต้องรับผิดชอบ?

“เป็นแนวคิดท่านนายกรัฐมนตรีที่ไปเห็นโครงการที่เมืองจีนในการต่อสู้ความยากจนประกอบกับคกก.ปฏิรูปฯ  เราก็กำลังคิดเรื่องนี้อยู่พอดีส่วนรูปแบบองค์กรจะเป็นอย่างไร เมื่อนำเสนอแล้วต้องรอท่านเคาะ โดยองค์กรนี้จะอยู่ตรงกลางคอยประสานงาน ดูว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและเอาหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยดูแลแก้ปัญหา”

++3กลุ่มเป้าหมายเกษตร-แรงงาน
กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรคนจนเมือง ผู้สูงอายุ และคนทุพพลภาพ โดยจะมีการประเมินทั้งตัวรายได้และทรัพย์สินโอกาสสิทธิความยุติธรรมความต้องการที่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ กลับมาวางนโยบายเพื่อให้ตอบโจทย์ตรงกับสิ่งที่ต้องการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกร (11 ล้านคน) แรงงาน (12 ล้านคน)และกลุ่มเอสเอ็มอี (8 ล้านคน) รวม 30 ล้านคน

นายกอบศักดิ์ ยกตัวอย่างแนวทางปฏิรูปในแต่ละกลุ่ม กลุ่มเกษตรก็โดยการเพิ่มผลผลิต ปรับเปลี่ยนการผลิต ไปสู่การทำเกษตรทฤษฎีผสมผสาน ทำโครงการเรื่องนํ้าถ้ามีนํ้ารายได้จะเพิ่ม 2.5 เท่าเพราะทำเกษตรได้ 3 รอบการทำวิจัยที่กินได้และจับต้องได้ คืองบประมาณในการทำวิจัยต้องเน้นวิจัยเพื่อแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน

กลุ่มแรงงาน แนวทางจะทำเรื่องโอกาสการศึกษาการพัฒนาด้านทักษะในอนาคตรัฐจะเปิด “ศูนย์เทรนนิ่ง” ขึ้นศูนย์นี้จะดูในเรื่องความต้องการใหม่ๆของเศรษฐกิจคืออะไร หลังจากได้ข้อมูลทางศูนย์ฯจะเป็นคนวางหลักสูตรและให้ใบประกอบฝึกทักษะดูแลให้ตรงกับที่เศรษฐกิจต้องการ เช่น การดูแลผู้สูงอายุที่หาแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านนี้ยังไม่มี, เรื่องของระบบราง, ลุงขาวไขอาชีพ, ส่วนกลุ่มเอสเอ็มอีปัจจุบันโชวห่วยยังมีปัญหาถูกกดดันจากบริษัทขนาดใหญ่อนาคตรัฐบาลก็จะทำโครงการต่างๆเพื่อให้เอสเอ็มอีได้รับการดูแล-ได้รับการส่งเสริมให้สามารถแข่งขันได้

++เดินหน้าเฟส 2,3 ช่วยคนจน
ส่วนความคืบหน้าโครงการสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย นายกอบศักดิ์ กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้สั่งการและกระทรวงการคลังกำลังเดินหน้าโครงการเฟส 2, 3 ต่อ โดยเฟส 2จะทำในเรื่องของการเทรนนิ่งที่จะผูกกับสวัสดิการ ที่รับการฝึกอาชีพต่างๆ

“เรื่องนี้คลังกำลังตัดสินใจอยู่แต่แนวคิดคือตอนนี้เรามีโครงสร้างใหม่คือ  ให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการกระจายสวัสดิการไปสู่พี่น้องโดยตรง ในอนาคตเราก็จะเอาสวัสดิการหลายสิบอย่าง กำลังคิดว่าจะเอาส่วนไหนมาใส่ในบัตรนี้บ้างขณะเดียวกันจะมีเงื่อนไขเรื่อง ของการฝึกอาชีพต่างๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9