สระบุรีดันระเบียงศก. ลงขันผุดระบบขนส่ง

23 ธ.ค. 2560 | 10:00 น.
“สระบุรีพัฒนาเมือง” ประกาศให้จังหวัดสระบุรีเป็นศูนย์กลางระเบียงเศรษฐกิจเชื่อมทวาย-กาญจนบุรี-อยุธยา-สระแก้ว และแก่งคอย-มาบตาพุด หนุนรัฐสร้างสนามบินนานาชาติที่แก่งคอย-มวกเหล็กให้เป็นฮับโลจิสติกส์ ล่าสุดลงขันรายละ 1 ล้านสร้าง 3 เส้นทางขนส่งมวลชนมาตรฐานเริ่มกลางปี 61

วิทยุพลังงาน-17-503x73 นายนพดล ธรรมวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด เปิดเผยว่า เตรียมเสนอรัฐบาลใช้จังหวัดสระบุรีเป็นยุทธศาสตร์ของศูนย์กลางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเส้นล่าง โดยการพัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางรางและทางอากาศของภาคกลางในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยจะเสนอให้รัฐบาลลงทุนก่อสร้างสนามบินนานาชาติในพื้นที่ต่อเนื่องอำเภอแก่งคอยและอำเภอมวกเหล็กเพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าที่ล้นมาจากสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิที่ปริมาณการรองรับจะเต็มในอีก 7 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังตอบสนองยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติพื้นที่มวกเหล็ก-เขาใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล

MP37-3220-A “จะเสนอให้รัฐบาลขยายโครงข่ายทางรางต่อเนื่องจากเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุดซึ่งเป็นโครงข่ายเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก โดยเชื่อมต่อกับระเบียงเศรษฐกิจย่อยฝั่งตะวันตกซึ่งจะพาดผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี-ราชบุรี (หนองปลาดุก) กาญจนบุรี โดยหากเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจย่อยทั้ง 2 เส้นทางเข้าด้วยกันจะเป็นระเบียงเศรษฐกิจเส้นล่างที่เชื่อมโยงได้ทั้งฝั่งทวายของเมียนมากับกัมพูชาและเวียดนาม จะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้าระหว่างประเทศได้สูงขึ้นมากกว่า 3 เท่าจากปัจจุบัน มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้นสระบุรีพัฒนาเมืองยังเสนอให้รัฐบาลวางแผนเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก โดยมีสระบุรีเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเชื่อมโยงเส้นทางดังกล่าวอีกด้วย”

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 สำหรับโครงการเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2561 ตามแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่เขตเมือง จะระดมทุนจากผู้ถือหุ้นจำนวน 40 คนคนละ 1 ล้านบาทรูปแบบร่วมทุนกับบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสต์ คอเปอร์เรชั่น จำกัด (Regional Transit Coperation) ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งมวลชนกลางของเครือข่ายพัฒนาเมือง เปิดเส้นทางให้บริการรถบัสพื้นชานตํ่า (low-floor transit bus) จำนวน 3 เส้นทางในระยะแรก คาดว่าใช้งบประมาณลงทุน 120 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่ 3 ของประเทศที่มีระบการขนส่งมวลชนรองได้มาตรฐานเปิดให้บริการ

“สำหรับการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจนั้น สระบุรีมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคกลาง พื้นที่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในที่เนิน ไม่มีปัญหานํ้าท่วม ไม่มีเส้นแผ่นดินไหวพาดผ่าน จึงเหมาะในการเป็นเมืองเศรษฐกิจพาณิชยกรรมและการอยู่อาศัยในอนาคต”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9