แคทมุ่งธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิส

23 ธ.ค. 2560 | 08:20 น.
แคท วางยุทธศาสตร์แผนธุรกิจปีหน้ามุ่งพัฒนา New S-Curve หรือกลุ่มธุรกิจใหม่โดยเน้น ดิจิตอล เซอร์วิส เตรียมขยายบริการ สมาร์ท ซิตี บนโครงข่าย “LoRa” รองรับเทรนด์ IoT และบิ๊กดาต้า พร้อมผลักดันโครงการขยายเคเบิลใต้นํ้า และ “ดิจิตอล พาร์ค ไทยแลนด์” หวังสร้างรายได้เพิ่มจากโครงการดาวเทียมภาครัฐ

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท เปิดเผยว่า สำหรับแผนธุรกิจในปี 2561 ได้ปรับแผนธุรกิจจากเดิมเน้นบริการโครงข่ายมามุ่งเน้นธุรกิจด้านบริการดิจิตอล (Digital service) มากขึ้น เพื่อยกระดับการแข่งขันขององค์กรให้ทันกับเทคโนโลยีปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิตอล

[caption id="attachment_228722" align="aligncenter" width="336"] พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท[/caption]

สำหรับแผนธุรกิจของ แคท จะสานต่อโครงการในปี 2560 ได้แก่ โครงการขยายเคเบิลใต้นํ้าระหว่างประเทศวงเงิน 2 พันล้านบาท, พัฒนาโครงข่ายไร้สาย LoRaWAN (Long-Range Wide Area Network) โครงข่ายใหม่ที่รองรับการพัฒนาบริการ IoT และ สมาร์ทซิตี ยังได้ร่วมกับกลุ่มสามารถ (SISC) ขยายบริการโครงข่ายวิทยุคมนาคมระบบดิจิตอล DTRS (Digital Trunked Radio System) บนคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz จำนวน 1,000 สถานีฐานทั่วประเทศ

การขยายโครงข่ายพื้นฐานดังกล่าวจะเกิดเสถียรภาพการเชื่อมโยงข้อมูลที่แข็งแกร่ง ซึ่ง แคท ได้นำมาสนับสนุนการ พัฒนาพื้นที่พิเศษ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ ดิจิตอล พาร์ก ไทยแลนด์ บนเนื้อที่กว่า 700 ไร่ ในอำเภอ ศรีราชา ให้เป็นเมืองนวัตกรรมดิจิตอลครบวงจรในพื้นที่ EEC

ทั้งนี้ แคท มีแนวทางที่จะจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการ โดยหาเอกชนมาร่วมลงทุนพัฒนาดิจิตอลพาร์ก ขณะนี้ ดิจิตอล พาร์ก ไทย แลนด์ ได้บรรจุเป็นหนึ่งในโครงการร่วมทุน PPP ของ EEC คาดว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนได้อย่างช้าไตรมาส 3 ปีหน้า

ขณะที่โครงการภูเก็ตสมาร์ทซิตี ต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่ขณะนี้โครงข่ายมีความสมบูรณ์ใช้งานได้ 100% โดย แคท ได้ติดตั้ง ฟรีไว-ไฟครบทั้ง 1,000 จุด ครอบคลุมทั่วจังหวัดภูเก็ต พร้อมกับได้วางระบบแพลตฟอร์ม โลร่า เทคโนโลยีโครงข่ายไร้สายใช้พลังงานตํ่า เพื่อการสื่อสัญญาณระหว่างอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงาน

วิทยุพลังงาน-17-503x73 สำหรับผลประกอบการในช่วง 10 เดือนของปีนี้บริษัทมีรายได้ 41,194 ล้านบาท รายจ่าย 41,218 ล้านบาท ขาดทุนจาก การดำเนินงาน 24 ล้านบาท รายได้ ที่ตํ่ากว่าแผนธุรกิจเนื่องจากบริการหลักคือธุรกิจไร้สาย กลุ่มบริการโทรศัพท์ และบรอดแบนด์อินเตอร์ เน็ตมีการเติบโตตํ่ากว่าเป้าหมาย โดยรายได้กลุ่มบริการโทรศัพท์ลดลง 5 ปีย้อนหลัง จากการเปลี่ยน แปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่คนใช้การสื่อสารด้วยดาต้าเป็นหลัก ส่งผลให้เทรนด์เติบโตของบริการกลุ่มโทรศัพท์ระหว่างประเทศลดลงต่อเนื่องเฉลี่ย 12% โดยสิ้นปีนี้จะทำรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่มบริการสื่อสารไร้สาย ยังคงเป็นรายได้ส่วนใหญ่โดยมีกำไรจากการขายส่งตามสัญญาให้บริการ HSPA ขณะที่ my เติบโตขึ้นเล็กน้อย และรายได้สัมปทานดีแทคลดลง ส่วนบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เติบโตขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย (ประมาณ 100 ล้านบาท) ขณะที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการจ่ายค่าตอบแทนในโครงการเกษียณก่อนกำหนด (Early Retirement) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 500 ล้านบาท บวกกับมีค่าใช้จ่ายรายการพิเศษจากคดีกับกรมสรรพากรที่สิ้นสุดในปีนี้จำนวน 2,378 ล้านบาท ซึ่งรวมรับรู้เป็นรายจ่ายส่งผลให้ขาดทุนรวมประมาณ 2,402 ล้านบาท

นอกจากนี้รายได้ในปีหน้าของบริษัทคาดว่าจะเกิดจากโครง การส่วนหนึ่งที่นำเสนอกระทรวง DE และคาดว่าจะเสนอครม.อนุมัติได้ในปี 2561 ได้แก่ โครงการดาวเทียมภาครัฐ และการยุติปัญหาคู่สัมปทานดีแทค และ ทรู ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีและคาดว่าจะผ่านได้ไตรมาสแรกปีหน้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9