เล็งคลอดทีโออาร์ประมูลสัมปทาน"เอราวัณ-บงกช"ภายในก.พ.61

15 ธ.ค. 2560 | 10:43 น.
“ศิริ” เตรียมคลอดทีโออาร์ประมูลสัมปทานเอราวัณ-บงกช ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ชี้หากกระบวนการชัดเจนอาจได้รายชื่อผู้ชนะการประมูลก่อน 7-8 เดือน ฟาก “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” เตรียมสรุป 5 องค์ประกอบสำคัญ คาดชัดเจนภายในเดือนมกราคม 2561

[caption id="attachment_242287" align="aligncenter" width="503"] นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[/caption]

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างดำเนินการร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์) แหล่งสัมปทานเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุสัญญาภายในปี 2565-2566 ล่าสุดได้ประชุมร่วมกับนายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน,นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะทำงานจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นการประชุมภายในเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 เพื่อหาข้อสรุป คาดว่าจะมีความชัดเจนทีโออาร์ภายในเดือนมกราคม 2561

โดยภายหลังจากทีโออาร์มีความชัดเจนแล้ว คาดว่าจะสามารถออกเอกสารเชิญชวนประมูลสัมปทานเอราวัณและบงกชได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 หลังจากนั้นคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 7-8 เดือนที่จะได้รายชื่อผู้ชนะการประมูล แต่หากกระบวนการชัดเจนเร็วขึ้น ก็อาจจะได้รายชื่อผู้ชนะการประมูลเร็วขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตามยอมารับว่าการเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ เพื่อหาผู้ประมูลมาดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้ประเทศต่อเนื่องนี้ ถือเป็นตัวชี้วัดผลงานของกระทรวงพลังงานว่าจะสอบผ่านหรือสอบตก
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า การประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดประมูลแหล่งสัมปทานหมดอายุ ด้วยระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 ได้หารือ 5 องค์ประกอบสำคัญของการประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ 1.ข้อมูลปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระดับความเป็นไปได้ที่ต่างกัน คือ ระดับความเป็นไปได้ว่ามีสำรองแน่นอน(Proved), ระดับที่คาดว่าจะมีสำรอง(Probable) และระดับสำรองในแหล่งที่ยังไม่ได้สำรวจ(Contingent Resource) CIMG1286

2.การรื้อถอนแท่นผลิตที่ไม่จำเป็น รวมถึงไม่ต้องการเก็บและการโอนแท่นที่ยังต้องการเก็บไว้ใช้งาน และต้องหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการรื้อถอนแท่นที่ยังต้องการเก็บไว้ใช้งาน รวมถึงหลักการและข้อตกลงสำหรับการโอนแทนผลิต และค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสำหรับแท่นผลิตที่ต้องการเก็บไว้ใช้งาน ระหว่างผู้รับสัมปทานปัจจุบัน รัฐ และผู้ชนะประมูลภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิตและการทำสัญญาการโอนดังกล่าว เป็นต้น

3.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานปัจจุบันลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตจนสิ้นสุดอายุสัมปทาน ,4.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้ชนะประมูลภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิตลงทุน เพื่อรักษาระดับการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเริ่มสัญญาใหม่ และ5.หลักการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติและผู้ซื้อ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของร่างกฎกระทรวง กำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. .... กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของกฤษฎีกา คาวด่าจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้ เนื่องจากการพิจารณาวาระ 2 ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าจะจบภายในเดือนธันวาคมนี้อย่างแน่นอน โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6