สถาบันพระปกเกล้าลงพื้นที่เชียงรายตามการขับเคลื่อนประชาธิปไตยฐานราก

15 ธ.ค. 2560 | 11:43 น.
สถาบันพระปกเกล้าลงพื้นที่เชียงรายติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนประชาธิปไตยจากฐานรากสู่ชุมชนพลเมืองเข้มแข็ง หวังทำให้เกิดการรวมตัวทุกระดับตั้งแต่เยาวชนถึงผู้สูงอายุสร้างเป็นเครือข่ายทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะ ชูจุดยืนโดยไม่เกี่ยข้องกับการเมือง

IMG_1283

นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนสื่อมวลชนกว่า 30 คน ลงพื้นติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนประชาธิปไตยจากฐานรากสู่ชุมชนพลเมืองเข้มแข็งในจังหวัดเชียงราย หลังจากที่สถาบันพระปกเกล้ามีแผนงานส่งเสริมการขยายเครือข่ายการทำงานของภาคประชาชน โดยในจังหวัดที่มีความพร้อมได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เป็นเครือข่ายภาคปฏิบัติของสถาบัน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 49 จังหวัดทั่วประเทศ

นายวิทวัสกล่าวว่า ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2551 เกือบครบสิบปีแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้มาติดตามดูว่า ผลการดำเนินการเป็นอย่างไร ก้าวหน้าไปแค่ไหนเพียงไร ทั้งนี้ การที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มั่นคงนั้น นอกจากการเมืองภาคตัวแทนแล้ว อีกด้านที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ภาคประชาชนที่ตื่นตัว ใส่ใจในความเป็นไปของชุมชน และร่วมแรงร่วมใจกัน หลักสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างความเป็นพลเมือง ซึ่งจะเกิดจากการมีเครือข่ายของอาสาสมัครที่เข้มแข็งและทำงานเพื่อส่วนรวม และต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองของผู้แทน

S__21520387 ผศ.วรสฤษดิ์ ปิงเมือง ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การขับเคลื่อนสร้างความสำนึกพลเมืองของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เชียงรายเกือบสิบปีที่ผ่านมา เริ่มจากการนัดหารือภาคประชาสังคมต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมกันตั้งเป็นเครือข่าย โดยเน้นการกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่มีกรรมการมาจากตัวแทนอำเภอทั้ง 18 อำเภอของจังหวัด ร่วมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อาวุโสที่เป็นที่ยอมรับนับถือ ร่วมเป็นกรรมการ รวม 24 คน ถือได้ว่ามีเครือข่ายเต็มพื้นที่

ในการทำงานใช้ใจเป็นตัวตั้งไม่ใช่เอาเรื่องงบมาก่อน ไม่หวังผลแอบแฝงใด ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ใช้เป้าหมายการทำเพื่อส่วนรวมเป็นจุดร่วม ทำให้เกิดการรวมกลุ่มต่างๆ ที่หลากหลาย และต่อยอดจากสภาเด็กและเยาวชน ที่ทำงานด้านสุขภาวะที่เป็นองค์กรตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา"มัดปุ๊กเจียงฮาย" (มัดปุ๊ก-มัดรวมกันเป็นกระจุก) ที่เชื่อมโยงกันได้ทุกอำเภอต่อไปจะทำให้ลงไปถึงระดับตำบลหรือกลุ่มคนรักรถเชียงราย ทั้งกลุ่มบิ๊กไบค์หรือเด็กแว้น ก็ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายมีสมาชิกถึงเกือบ 8,000 คน เพื่อทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และช่วยงานสาธารณะต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝา อ.พาน ที่ยกระดับขึ้นมาเป็นโรงเรียนพลเมือง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีพ ตามหลักความต้องการของผู้เรียน ซึ่งกำลังเชื่อมต่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมครบตามหลักสูตร สามารถนำไปปรับโอนหน่วยกิตในการเรียนได้ส่วหนึ่ง เรียนเพิ่มอีกปีครึ่งถือว่าจบหลักสูตรของม.ราชภัฎเชียงรายได้ หรือความสำเร็จในการเชื่อมโยงนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาไช่วยการทำกระบวนการวิจัย ทำให้ชาวบ้านสามารถเก็บข้อมูลทำวิจัยปัญหาลุ่มน้ำงาวที่อ.เวียงแก่นได้ผลเป็นฐานข้อมูลและองค์ความรู้ จนอบต.ทุกแห่งตลอดลุ่มน้ำงาว เอาข้อมูลไปปรับใช้ในการเสนอแผนโครงการทำงบประมาณก็ผ่านการอนุมัติตลอด

S__21520392 นอกจากนี้ยังมีโครงการคนดีศรีเชียงราย เพื่อเชิดชูคนดีทำงานให้ส่วนรวมอยู่เงียบ ๆ ในชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักโครงการสื่อภาคประชาชน หรือการระดมทุกเครือข่ายร่วมกันเสนอปัญหาของพื้นที่ สรุปได้เป็น 15 ประเด็น โดยทุกประเด็นมอบผู้รับผิดชอบและมีนักวิชาการแต่ละประเด็น รวมทั้งได้ผลักดันให้บรรจุในยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อแก้ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของผู้บริหารจังหวัด ใน5ปีเชียงรายเปลี่ยนผู้ว่าฯ9คน ปัญหาสำคัญไม่ได้รับการแก้ไข ถ้ามียุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งไม่ว่าผู้ว่าฯคนไหนมาก็ต้องเดินตามนั้น

ประธานศูนย์ฯเชียงรายกล่าวอีกว่า ทิศทางในอนาคต เครือข่ายภาคประชาสังคมมุ่งทำงานในประเด็นสุขภาพทำให้เชียงรายเป็นเมืองสมุนไพร ขยายเครือข่ายให้ลงสู่ระดับตำบล ที่มีอยู่ 1,700 กว่าตำบล รวมถึงขยายความร่วมมือไปสู่จังหวัดใกล้เคียง คือ พะเยา แพร่ น่าน

ส่วนกรณีปัญหาเสื้อสีหรือมีจุดยืนทางการเมืองต่างกันนั้น อาจารย์วรสฤษดิ์กล่าวยอมรับ แม้ปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ เพราะการเปลี่ยนความคิดของคนเป็นเรื่องยาก แต่ในการทำงานจะไม่เอาเร่่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้ทุกฝ่ายถือจุดร่วมเดียวกันคือ ทำเพื่อส่วนรวม ทำเพื่อบ้านเพื่อชึมชนของตนเองเป็นหลัก และในระดับแกนนำอย่างตนเองนั้นก็ประกาศชัดเจนว่า ไม่เข้าสู่การเมืองแน่ โปรโมทแทรกอีบุ๊ก