KKPชู HighYield มัดใจลูกค้ามั่งคั่ง

17 ธ.ค. 2560 | 02:35 น.
“KKP วางตำแหน่งชัดเจน ถ้าเป็นสินเชื่อให้มาที่ธนาคารเกียรตินาคินแต่ถ้าเป็นเรื่องของการลงทุนให้นึกถึงเกียรตินาคินภัทร ซึ่งการดูแลลูกค้ากลุ่มมั่งคั่ง(Wealth) เราจะไม่ใช้สิทธิประโยชน์ เช่นเข้า Lounge ที่ต่างๆ หรืออัพเกรดตั๋วเครื่องบินมาล่อตาล่อใจ แต่จะใช้เรื่องของผลตอบแทนที่ได้ดีกว่าตลาด สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย” อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)(KKP) ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ”

อภินันท์ กล่าวว่า KKP มีธุรกิจตลาดทุนซึ่งต่างจากธนาคารอื่น โดยเฉพาะความหลากหลายของโปรดักต์ รวมถึงบริการซื้อขายหน่วยลงทุนของบลจ.ถึง 17-18 แห่ง ซึ่งนอกเหนือจากบริษัทในเครือของธนาคารแล้ว ทั้งการให้บริการสินเชื่อเพื่อการลงทุนหรือ Invest Lombard Loan กรณีลูกค้ามีหลักทรัพย์กับธนาคารสามารถกู้ในวงเงินที่สูงด้วยอัตราดอกเบี้ยถูก หรือบริการกู้ยืมเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีจำนวน 10 โปรดักต์ที่ทุนภัทรให้บริการอยู่

[caption id="attachment_241644" align="aligncenter" width="503"]  อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)(KKP) อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)(KKP)[/caption]

“พนักงานมีความสามารถในการทำรายได้ต่อหุ้นต่อคน ต่อปีตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 1.4-1.5 ล้านบาทต่อคน ปัจจุบันมีพนักงาน 4,000 คน จากเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนเคยทำได้เพียง 7-8 แสนบาทต่อคนต่อปีเท่านั้น”

สำหรับสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจำนวน 4.3 แสนล้านบาท มีลูกค้าจำนวน 1หมื่นคน มีที่ปรึกษาการ เงินที่ดูแลส่วนนี้ 70 คน เฉลี่ยพนักงาน 1 คนต้องดูแลสินทรัพย์ 7,000ล้านบาท ด้วยขนาดของสินทรัพย์ทำให้สามารถใช้คนที่มีความรู้และได้รับการอบรมมาอย่างดีเพื่อดูแลเงินเหล่านี้

พนักงานกระจายดูแลโดยเงินลงทุนเกิน 1 หมื่นล้านบาท จะมีพนักงานดูแลประมาณ 6-7 คนหรือเงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท มีพนักงานดูแลประมาณ 1-2 คน โดยธนาคารมีฐานลูกค้า 5-6 แสนราย เงินลงทุน 30 ล้านบาท จะมีจำนวน 3-5 หมื่นคน แต่ในจำนวน 5-6 แสนคนนั้น เป็นลูกค้าจากภัทรประมาณ 1 หมื่นราย ซึ่งมีเงินกระจายในสินทรัพย์ทางการเงินหลากหลาย อาทิ อสังหาริมทรัพย์

อ๊ายยยขายของ-7-1 ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินนั้นจะมีเงินฝากเพียงส่วนน้อย เช่น บางรายมีเงินเหลือ 100 ล้านบาท แต่เป็นเงินฝากเพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือเป็นการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ อนุพันธ์ หุ้นกู้ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มนี้มีอำนาจซื้อสูง
แนวโน้มธุรกิจปีหน้าจะเป็นการลงทุนต่อยอด เพราะหลังการควบรวมกิจการ 3 ปีกลุ่มเริ่มธุรกิจด้านตลาดทุนซึ่งภัทรมีอยู่แล้ว แต่เพิ่งเริ่มลงทุนขยายงานในช่วงปีเศษที่ผ่านมาโดยเฉพาะ Wholesale และ Investbank

ขณะเดียวกัน Fintech Disruption ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น กลุ่มเกียรตินาคิน Priority ช่วงเริ่มต้นต้องจัดลำดับความสำคัญด้วยการแชร์เรื่องระบบงานภายในกลุ่มก่อน เมื่อมีความพร้อมมากขึ้นจะลงทุน R&D นอกจากนี้การรวมศูนย์ของระบบชำระเงินถือเป็นอานิสงส์ของกลุ่มเพื่อให้บริการลูกค้าแต่ไม่ได้มุ่งหารายได้

สุดท้ายแนวโน้มการทำธุรกิจปีหน้า อภินันท์ กล่าวว่ายังเน้นรายย่อยและเช่าซื้อทั้งรถยนต์เก่า-ใหม่ทั้งนี้สิ้นปีคาดว่าพอร์ตสินเชื่อรวมจะเติบโตได้ 5% ยอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 2.2 แสนล้านบาท จากปัจจุบัน 1.9 แสนล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,322 วันที่ 14 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9