กพร.ลุยพื้นที่ EEC เร่งสำรวจความต้องการแรงงาน เน้นทักษะสูงรับ 4.0

07 ธ.ค. 2560 | 07:52 น.
กพร.สั่งลุยพื้นที่ 3 จังหวัด EEC เร่งสำรวจความต้องการแรงงาน เน้นฝึกทักษะสูง รับ 4.0 ป้อนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ย้ำ ยังต้องการแรงงานจำนวนมาก

[caption id="attachment_239723" align="aligncenter" width="503"] 1 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[/caption]

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ระยอง และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานฉะเชิงเทรา เร่งสำรวจความต้องการแรงงานในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เพื่อนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการ ตามนโยบายเร่งด่วนของ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ด้านการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ตามนโยบายของรัฐบาลก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

จากสถานการณ์การจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่ 4.0 ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มนำหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตในโรงงานต่างๆ ที่เป็นการผลิตแบบเดิมซ้ำๆ ซึ่งสามารถนำหุ่นยนต์หรือใช้เครื่องจักรมาทดแทนกำลังแรงงานคน ส่วนหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการทำงานหลายด้านยังต้องการกำลังแรงงานคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีทักษะสูง อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์

นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กพร.จึงเน้นการฝึกให้แก่คนทำงานที่ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงาน กลุ่มนักศึกษาระดับปวช. ปวส ปีสุดท้าย ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พนักงาน หัวหน้างาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพและสมรรถนะกำลังแรงงาน (Competency Workforce) ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ปรับเปลี่ยนทักษะฝีมือ (Re-Skill) พร้อมกับทักษะ STEM และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2 กพร. มีสถาบันพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy—MARA) ถึง 2 แห่งคือ ชลบุรีและระยอง ได้จัดหาครุภัณฑ์การฝึกที่ทันสมัย เช่น เครื่องจักรกลการผลิตและหุ่นยนต์ ชุดฝึกเครื่องมือวัดและหุ่นยนต์ ชุดฝึกระบบออโตเมชั่นชั้นสูง ชุดฝึกอบรมการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อใช้ฝึกทักษะฝีมือคนทำงานให้สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการพัฒนาทักษะชั้นสูงในหน่วยงานกพร.ทั้ง 3 จังหวัดดำเนินการปี 61 จำนวน 9,200 คน ดำเนินการโดยศูนย์ฝึกอบรมทักษะอุตสาหกรรมเหมราช ตั้งเป้าหมายพัฒนากำลังแรงงานกลุ่มยานยนต์กว่า 74,000 คน เพื่อให้การฝึกทักษะตรงกับความต้องการและป้อนกำลังแรงงานได้เพียงพอ หน่วยงานของกพร.ในพื้นที่จะเร่งสำรวจความต้องการทั้งปริมาณและทักษะของคนทำงานที่ต้องการ เพื่อนำมาจัดทำแผนการฝึก ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในมกราคม 61 นี้ อธิบดี กพร. กล่าว

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับภาคการศึกษาและภาคเอกชน ตั้งศูนย์ความร่วมมือฝึกอบรมทักษะอุตสาหกรรมเหมราช (ระยอง) เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมให้แก่แรงงานในสาขายานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์
ได้แก่ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันไทย-เยอรมัน และกลุ่มบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) และสถานประกอบกิจการในเขตนิคมอุตสาหกรรม 500 แห่ง

การฝึกทักษะให้กับกำลังแรงงานดังกล่าว กพร.มีเป้าหมายดำเนินการทั้งการพัฒนาทักษะให้กับกำลังแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการอยู่แล้ว และอีกส่วนคือการฝึกทักษะให้กับกลุ่ม นักเรียนนักศึกษา ปวช.ปวส.ปีสุดท้าย จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy--MARA) ใน 3 จังหวัด ได้มีการดำเนินการพัฒนาทักษะฝีมือให้กับแรงงานในพื้นที่เป็นจำนวน 429,532 คน

3 นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับภาคการศึกษาและภาคเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันไทย-เยอรมัน และกลุ่มบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) และสถานประกอบกิจการในเขตนิคมอุตสาหกรรม 500 แห่ง จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือฝึกอบรมทักษะอุตสาหกรรมเหมราช (ระยอง) เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมให้แก่แรงงานในสาขายานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับบุคลากรในสถานประกอบกิจการ ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งแรงงานได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือที่ได้มาตรฐาน ดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ไปแล้ว 104,549 คน เกินกว่าเป้าหมาย 100,000 คน และจัดตั้ง TVET AUTOMOTIVE HUB ณ MARA ชลบุรี โดยร่วมกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย และสถาบันยานยนต์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกับความต้องการแรงงาน

โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard โดยมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว ในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ รองรับการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New Engines of Growth) โดยเน้นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน ภาครัฐ เป็นเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน โดยในปี 61 กพร. มอบหมายให้ทั้ง 3 จังหวัดดำเนินการเฉพาะในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวม 9,200 คน e-book