DSI ชูจังหวัดนนทบุรี นำร่องแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

07 ธ.ค. 2560 | 04:41 น.
วันนี้ (7 ธ.ค.60) เวลา 09.00 น. พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพประชาชนด้านกฎหมายและการเข้าถึงความเป็นธรรม (ครั้งที่ 2) หัวข้อ “นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ The Choice เกมทางเลือก – ทางรอด สู่ชุมชนต้นแบบเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม B โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ โฮเต็ล นนทบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้แทนจากสถาบันการเงิน สมาคมทนายความ สถาบันการศึกษา หน่วยงานท้องถิ่น และตัวแทนจากชุมชนต่าง ๆ จำนวนมาก

S__47538301 พันตำรวจเอก ไพสิฐ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ด้วยมาตรการ ดังนี้ 1.ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย  2.การเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบและประชาชนทั่วไป โดยกระทรวงการคลังได้ออกสินเชื่อรายย่อยจังหวัด “พิโคไฟแนนซ์” วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท  3.การลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้  4.การเพิ่มศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบ โครงการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมให้ความรู้ทางการเงิน ให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอไม่ต้องเป็นหนี้ซ้ำ และ 5.การร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้ความสำคัญกับ “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ”เพราะเกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงยุติธรรม โดยปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ที่เกิดจากหลายสาเหตุที่มีความเชื่อมโยงกันจนเป็นความเหลื่อมล้ำของผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าในสังคม คือ “เจ้าหนี้” และผู้มีฐานะด้อยกว่าคือ “ลูกหนี้” ซึ่งอยู่ในภาวะจำยอมทำสัญญาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ กระทรวงยุติธรรมจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยมาตรการดังต่อไปนี้

1. ด้านกฎหมาย ได้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560
ให้มีบทลงโทษสำหรับผู้ปล่อยเงินกู้โดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี) ให้มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

2. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย หากเป็นกรณีเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล รายใหญ่ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปสืบสวนสอบสวน และประสานกับกรมสรรพากรเมื่อดำเนินมาตรการทางภาษี โปรโมทแทรกอีบุ๊ก