ผุดมาร์เก็ตเพลสมือถือ-ไอที ‘ซุปเปอร์ทีสโตร์’พลิกโมเดลดึง 50 ร้านค้าขึ้นออนไลน์

09 ธ.ค. 2560 | 10:25 น.
ซุปเปอร์ทีสโตร์ พลิกโมเดลธุรกิจจากเว็บไซต์ค้าปลีกมือถือ-ไอที สู่ผู้ให้บริการ “อี-มาร์เก็ตเพลส” ระดมร้านค้ารายไอที-สมาร์ทโฟนย่อยบนห้างฟอร์จูน ราว 50 ราย ขนสินค้าขายผ่านแพลตฟอร์ม

ซุปเปอร์ทีสโตร์ พลิกโมเดลธุรกิจจากเว็บไซต์ค้าปลีกมือถือ-ไอที สู่ผู้ให้บริการ “อี-มาร์เก็ตเพลส” ระดมร้านค้ารายไอที-สมาร์ทโฟนย่อยบนห้างฟอร์จูน ราว 50 ราย ขนสินค้าขายผ่านแพลตฟอร์ม

นายจิน ซีน ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ทีสโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร้านค้าปลีกสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ไอทีผ่านออนไลน์ ผู้ได้รับรางวัล “ท็อป อีคอมเมิร์ซ ไอทีแอนด์อิเล็กทรอนิกส์” จากไพรซ์ซ่า เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าปี 2561 บริษัทได้วางแผนจากร้านค้าปลีกสมาร์ทโฟน และสินค้าไอทีออนไลน์ ไปสู่การให้บริการตลาดกลาง หรือมาร์เก็ตเพลส สมาร์ทโฟน และสินค้าไอที รวมถึงสินค้าอื่นๆ โดยมีแผนเปิดให้ร้านค้าต่างๆ สามารถนำสินค้าเข้ามาขายบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซของบริษัท ที่มีทั้งช่องทางเว็บไซต์ และโมบาย แอพพลิเคชัน รวมระบบชำระเงิน และการขนส่งสินค้า

TP12-3320-C โดยคาดว่าในเบื้องต้นจะมีร้านค้าฟอร์จูน เข้าร่วมขายสินค้าบนมาร์เก็ตเพลสดังกล่าวราว 50 ราย นอกจากนี้ยังมีแผนขยายการทำตลาดกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางเกาหลีผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ภายหลังจากปีนี้เริ่มทดลองนำเครื่องสำอางจากเกาหลีเข้ามาทำตลาด และได้รับการตอบรับจากลูกค้าใหม่ คือกลุ่มผู้หญิง เป็นอย่างดี โดยล่าสุดได้ลงทุน 4 ล้านบาท เพื่อสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่ รองรับกับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น

“เราเริ่มต้นทำตลาดสมาร์ทโฟนผ่านออนไลน์มา 8 ปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นนำเข้าสินค้าสมาร์ทโฟนจากเกาหลีเข้ามาขายในไทย และนำรูปแบบอี-คอมเมิร์ซจากเกาหลีเข้ามาใช้ในไทย และสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาเพื่อรองรับแนวโน้มการใช้งานสมาร์ทโฟนที่เติบโตเพิ่มขึ้น และมีการเปิดหน้าร้านขึ้นมาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ทำให้เรามีรายได้เติบโตขึ้นทุกปี ซึ่งขณะนี้มีรายได้ประมาณ 200 ล้านบาท โดยใช้พนักงานเพียง 10 คน โดยสัดส่วนรายได้ 70-80% มาจากช่องทางออนไลน์ ที่เหลือมาจากลูกค้าเข้ามาซื้อผ่านหน้าร้าน

วิทยุพลังงาน สำหรับจุดเด่นของซุปเปอร์ทีสโตร์ คือ ราคาสินค้าถูกกว่าท้องตลาด และบริการหลังการขาย อย่างไรก็ตามช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาผู้ค้ารายใหม่เข้ามาขายสมาร์โฟนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้ต้องปรับตัวขยายไลน์ขายสินค้าไอที ทั้งจอมอนิเตอร์ การ์ดจอ หน่วยประมวลผล ซึ่งยอดขายเติบโตค่อนข้างดี เนื่องจากแนวโน้มการอัพเกรด หรือ ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นมีการเติบโตขึ้น

นายจิน ซีน ลี กล่าวต่อไปอีกว่าตลาดอี-คอมเมิร์ซในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยในเกาหลีใต้ ตลาดค้าปลีกออนไลน์มีสัดส่วน 10% ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด ส่วนในไทยมีสัดส่วนเพียงแค่ 1% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด เป้าหมายระยะยาวของบริษัทคือผลักดันยอดขายให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว